658 ผู้ลี้ภัย ทยอยกลับเมียนมา หลังเหตุการณ์สู้รบสงบลง

24 เม.ย. 2567 | 08:13 น.
อัปเดตล่าสุด :24 เม.ย. 2567 | 08:48 น.

ผู้หนีภัยจากการสู้รบ 658 คน ทยอยเดินทางกลับเมืองเมียวดี สหภาพเมียนมาแล้ว หลังเหตุการณ์สงบ ขณะ"หม่องชิตู่"กลับลำ ให้ทหารคุ้มกันทหารเมียนมาชิงคืนค่ายผาซอง เปลี่ยนธงชาติกะเหรี่ยงเป็นเมียนมาแทน

วันที่ 24 เมษายน 2567 บริเวณริมแม่น้ำเมยชายแดนไทย-เมียนมา  ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา บริเวณท่าทรายรุจิรา ตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก  จากยอดผู้หนีภัยจากการสู้รบเดิม 658 คน  ได้เดินทางกลับประเทศที่จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา ด้วยความสมัครใจทั้งหมด 658 คน

658 ผู้ลี้ภัยทยอยกลับเมียนมา หลังเหตุการณ์สู้รบสงบลง

หลังเหตุการณ์สู้รบระหว่างกองกำลังกระเหรี่ยงและทหารเมียนมาสงบลง โดยเจ้าหน้าที่ หน่วยทหารหน่วยเฉพาะกิจราชมนู เจ้าหน้าที่ตำรวจ สาธารณสุข ฝ่ายปกครอง ร่วมกันอำนวยความสะดวก

 

สำหรับยอดผู้ลี้ภัย ในพื้นที่ อ.แม่สอด และ อ.อุ้มผาง รายละเอียด ดังนี้ 1. อ.แม่สอด พื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง ดังนี้1.1 พื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว ท่าทรายรุจิรา ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด เหลือเพียง 735 คน โดยการสมัครใจกลับ ส่วนการช่วยเหลือของส่วนราชการ และองค์กรเอกชน เช่นศูนย์วิจัยมาลาเรียโซโกล (SMRU) อ.แม่สอดนำผู้ลี้ภัยเข้ารับการรักษา (คลอดบุตร) จำนวน 1 คน (ญ.) พร้อมผู้ติดตาม (ครอบครัว) จำนวน 2 คน (ชาย 1, เด็ก 1) ณ ศูนย์วิจัยมาลาเรียโซโกล (SMRU) อ.แม่สอด 

ผู้หนีภัยจากการสู้รบ เดินทางกลับเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา

ส่วน อ.อุ้มผาง มีพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง ดังนี้2.1 พื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว บ้านหนองหลวง ต.หนองหลวง อ.อุ้มผาง ยังมียอดเดิม 77 คน รวมผู้ลี้ภัยที่เหลือทั้งหมด 735 คน ส่วน กลุ่มเปราะบาง และผู้ป่วยผู้หญิงตั้งครรภ์ 1 คน (อายุครรภ์ 4 เดือน) ผู้พิการ จำนวน 2 คน (ชาย1 คน ช่วยเหลือตัวเองได้, ด.ช. 1 คน ช่วยเหลือตัวเองได้เล็กน้อย


 

อีกด้านหนึ่งทหารเมียนมา กองทหารราบเบาที่ 275 ค่ายผาซอง เมียวดี ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งกระจายกำลังอยู่ในบริเวณพื้นที่สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา แห่งที่ 2 (ฝั่งเมียนมา) ประมาณ 60 นาย ได้เคลื่อนย้ายกลับไปยังที่ตั้งหน่วยกองพันทหารราบเบาที่ 275 ค่ายผาซอง

ทหาร KNA เปลี่ยนธงชาติ เป็นของทหารเมียนมา  ทหาร KNA เปลี่ยนธงชาติ เป็นของทหารเมียนมา (ขอบคุณภาพ จากสำนักข่าวรอยเตอร์)

โดยมีกองทัพกะเหรี่ยงแห่งชาติ (KNA) หรือกำลังพิทักษ์ชายแดนฯเดิม(BGF)  ภายใต้การนำของ พ.อ.ซอชิดตู่ ที่รับผิดชอบเมืองเมียวดี  ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยขณะเคลื่อนย้าย อันดับแรกที่เข้าในค่ายทหารเมียนมาคือ รีบเปลี่ยนธงชาติจากธงของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ( KNU) เป็นของทหารเมียนมาทันที

 

จากนั้นมีการเตรียมพร้อมเรื่องอาคาร และสถานที่ ทั้งนี้ได้จัดเตรียมอาคารสถานที่เพื่อรองรับกำลังพลที่จะเข้ามาสมทบ จากนั้นมีการเตรียมพร้อมเรื่องอาคาร และสถานที่ ทั้งนี้ได้จัดเตรียมอาคารสถานที่เพื่อรองรับกำลังพลที่จะเข้ามาสมทบ 

ขณะฝ่ายความมั่นคงไทยคาดการณ์ว่า ทั้ง 2 กลุ่มคือ ทหารเมียนมาและ KNA น่าจะบรรลุข้อตกลง ในการลดความเสียหายให้กับประชาชน และสร้างพื้นที่ปลอดภัยในตัวจังหวัดเมียวดี และพื้นที่ส่วยโก๊กโก่