เลือกตั้ง สว.2567 วันไหน หลัง กกต.ปิดรับสมัคร เช็กไทม์ไลน์มัดรวมไว้แล้ว

26 พ.ค. 2567 | 00:39 น.

เลือกตั้ง สว.2567 วันไหน ระดับอำเภอ – จังหวัด และ ระดับประเทศ หลัง กกต. ปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบไทม์ไลน์ทั้งหมดมัดรวมไว้แล้ว

เลือกตั้ง สว.2567 วันไหน กตต.หรือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ปิดรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีผู้มาสมัครทั้งสิ้นรวม 48,226 คน จากการตรวจสอบพบว่ามีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม มีเอกสารครบจึงรับสมัครไว้ก่อน จำนวน 48,117 คน 

ขณะที่ผู้สมัครที่ตรวจเบื้องต้น ณ ที่รับสมัครแล้วไม่มีคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม จึงไม่รับสมัครไว้ มีจำนวน 109 คน

 

เลือกตั้ง สว.2567 วันไหน

ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดวันเลือกและวันรับสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาช และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กำหนดวันเลือกตั้ง สว. 2567 ดังนี้

  • วันเลือกระดับอำเภอ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567
  • วันเลือกระดับจังหวัด วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567
  • วันเลือกระดับประเทศ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567

เลือกตั้ง สว.2567 วันไหน หลัง กกต.ปิดรับสมัคร เช็กไทม์ไลน์มัดรวมไว้แล้ว

 

เลือกตั้ง สว.2567 วันไหน บทบาทหน้าที่คณะกรรมการเลือก สว. แต่ละระดับ รายละเอียดดังนี้

คณะกรรมการการเลือก สว. แต่ละระดับมีหน้าที่ในการจัดสถานที่รับสมัคร สถานที่เลือก สว. ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ควบคุมการเลือก การนับคะแนน และการประกาศผล รวมทั้งบันทึกภาพและเสียงในการบวนการเลือก สว.

 

ระดับอำเภอ

  •  นายอำเภอ เป็นประธาน
  •  หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ 3 คน เป็นกรรมการ
  •    ผู้ทรงคุณวุฒิในเขตอำเภอ 2 คน เป็นกรรมการ
  •   เจ้าหน้าที่ สนง. กกต. จว. หรือข้าราชการประจำอำเภอ 1 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ    1.    ผู้อำนวยการเขต เป็นประธาน
  •     ข้าราชการ กทม. ในเขตนั้น 3 คน เป็นกรรมการ
  •   ผู้ทรงคุณวุฒิในเขต 2 คน เป็นกรรมการ
  •   เจ้าหน้าที่ สนง. กกต. หรือข้าราชการ กทม. 1 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ

ระดับจังหวัด

  •  ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน
  •  หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตจังหวัดนั้น 3 คน เป็นกรรมการ
  •  ผู้ทรงคุณวุฒิในเขตจังหวัด จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
  •    ผอ. เลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ    1.    ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน
  •  ข้าราชการ กทม. หรือบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขต กทม.  3 คน เป็นกรรมการ
  •  ผู้ทรงคุณวุฒิในเขต กทม. จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
  •   ผอ. เลือกตั้งประจำ กทม. เป็นกรรมการและเลขานุการ

ระดับประเทศ

  • ประธาน กกต. เป็นประธาน
  •   กกต. เป็นกรรมการ
  •   เลขาธิการ กกต. เป็นเลขานุการ.

ที่มา: กกต.