"แพทองธาร"ลงพื้นที่น้ำท่วมเชียงราย ชง 9 มาตรการเร่งด่วนกู้วิกฤต

13 ก.ย. 2567 | 04:14 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ก.ย. 2567 | 07:04 น.

"แพทองธาร"ลงพื้นที่ติดตามน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย พร้อมประกาศแนวทาง 9 ข้อเร่งด่วนช่วยเหลือประชาชนประสบอุทกภัย

จากสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงรายตั้งแต่วันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา จวบจนถึงวันนี้ 13 กันยายน 2567 พบหลายจุดยังมีน้ำท่วมขังได้แก่ อำเภอ แม่สาย ,เชียงแสน ,เมืองเชียงราย ,แม่จัน ,ดอยหลวง , เวียงเชียงรุ้ง ,เวียงชัย  และข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในช่วงเช้าของวันนี้ ได้ออกประกาศเตือนพื้นที่แม่สาย ,เชียงแสน ,แม่จัน และ แม่ฟ้าหลวง ให้เฝ้าสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมขังอย่างใกล้ชิด นอกจากนั้นแล้วยังเตือนพื้นที่อำเภอเชียงแสน , เชียงของเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น

 

ล่าสุดในวันนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำพร้อมทั้งช่วยเหลือบรรเทาผู้ประสบอุทกภัย และร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังข้อมูลและให้ความช่วยเหลือประชาชน นอกจากนั้นแล้ว ยังได้ออกมาตรการ 9 ข้อเร่งด่วนเพื่อแก้ไขวิกฤตน้ำท่วมเหนือ


"แพทองธาร"ลงพื้นที่ติดตามน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย พร้อมประกาศแนวทาง 9 ข้อเร่งด่วนช่วยเหลือประชาชนประสบอุทกภัย

 

มาตรการเร่งด่วน 9 ข้อแก้ไขวิกฤตน้ำท่วมเหนือ  

1.กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้ดูแลเรื่องการอพยพประชาชน และสัตว์เลี้ยงให้มีความปลอดภัย ตลอดจนสนับสนุนด้านอาหาร  และน้ำดื่ม รวมถึงอาหารสัตว์ให้เพียงพอ

 

2.กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกระทรวงสาธารณสุข ดูแลเรื่องความเป็นอยู่ที่ศูนย์อพยพ และยารักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง โดยให้แบ่งมอบพื้นที่กำหนดภารกิจ และหน่วยปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ ให้ชัดเจน เช่น การดูแลด้านการดำรงชีพ การจัดตั้งศูนย์พักพิง การประกอบอาหาร ถุงยังชีพ การแพทย์ และการสาธารณสุข โดยให้มีการใช้ทรัพยากร และอุปกรณ์เครื่องมือของแต่ละหน่วยงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

3.กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม บูรณาการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการดูแลความปลอดภัยของทรัพย์สิน และบ้านเรือนของราษฎร

 

4.เมื่อน้ำลด ให้ทุกส่วนราชการตรวจสอบความเสียหายระบบสาธารณูปโภค ถนน สะพาน ระบบไฟฟ้า และประปา เพื่อสร้างความเข้าใจ รับฟังปัญหาความต้องการ และดำเนินการปรับปรุงให้เข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เช่น หน่วยทหารพัฒนา เพื่อช่วยเหลือประชาชน ร่วมกันทำความสะอาดบ้านเรือน ถนน และพื้นที่สาธารณะที่ถูกน้ำท่วม

 

5.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบ และเสริมความมั่นคงแข็งแรงเชิงโครงสร้างให้กับคันกั้นน้ำ และระบบระบายน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชน พื้นที่เขตเศรษฐกิจสำคัญ และเร่งรัดปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้โดยเร็ว

 

6.ให้กรมทรัพยากรธรณี เร่งรัดการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยสูงโดยด่วน เพื่อให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า และเตรียมการได้ทันเวลา
 


7.ส่วนราชการที่ทำหน้าที่คาดการณ์สภาพอากาศ รวมทั้ง GISTDA ติดตามปริมาณฝน และระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ แนวโน้ม และแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนในชุมชนและหมู่บ้าน ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย และช่องทางในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในการอพยพ 

 

8.ให้พิจารณาการใช้เงินจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป 

 

9.กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำในระยะยาวต่อไป

\"แพทองธาร\"ลงพื้นที่น้ำท่วมเชียงราย ชง 9 มาตรการเร่งด่วนกู้วิกฤต \"แพทองธาร\"ลงพื้นที่น้ำท่วมเชียงราย ชง 9 มาตรการเร่งด่วนกู้วิกฤต \"แพทองธาร\"ลงพื้นที่น้ำท่วมเชียงราย ชง 9 มาตรการเร่งด่วนกู้วิกฤต \"แพทองธาร\"ลงพื้นที่น้ำท่วมเชียงราย ชง 9 มาตรการเร่งด่วนกู้วิกฤต \"แพทองธาร\"ลงพื้นที่น้ำท่วมเชียงราย ชง 9 มาตรการเร่งด่วนกู้วิกฤต
 

"แพทองธาร"ลงพื้นที่ติดตามน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย