วิจัยกรุงศรี เปิดเผยบทวิเคราะห์เรื่อง "กัญชง พืชเศรษฐกิจใหม่ โอกาสและความท้าทาย" โดยได้ ประมาณการมูลค่าอุตสาหกรรมกัญชงของไทย พิจารณาจากมูลค่าของอุตสาหกรรมปลายน้ำที่มีศักยภาพในการนำกัญชงไปใช้ เพื่อเป็นฐานในการประเมิน ร่วมกับสัดส่วนกัญชงที่คาดว่าจะถูกนำไปใช้ในแต่ละอุตสาหกรรม โดยประเมินผลได้ดังนี้
อุตสาหกรรมกัญชงไทยอยู่ตรงไหน
ไทยมีศักยภาพในการเพาะปลูกพิจารณาจาก
เกษตรกรและโรงงานแปรรูปเริ่มทยอยประกอบธุรกิจ กัญชงมีกฎหมายควบคุมธุรกิจที่ค่อนข้างเข้มงวด โดยเฉพาะเอกสารการขออนุญาตที่ค่อนข้างจำเพาะและรัดกุม อาทิ หนังสือตรวจสอบประวัติอาชญากรรม กรรมสิทธิ์ที่ดิน แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ปลูก แบบแปลนอาคารหรือโรงเรือน แผนการผลิต แผนการใช้ประโยชน์ มาตรการรักษาความปลอดภัย และวิธีการทำลายส่วนของกัญชงที่เหลือจากการใช้ประโยชน์
ด้วยเหตุนี้ การขออนุญาตนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมจะต้องทำควบคู่กันทั้งจากผู้ปลูกและผู้แปรรูป โดยเกษตรกรจะต้องมีความพร้อมตั้งแต่การระบุสายพันธุ์กัญชงรวมถึงแผนจำหน่ายให้ผู้ประกอบการรายใด ขณะที่ผู้ประกอบการจะต้องมีความพร้อมด้านการลงทุนเนื่องจากจะต้องระบุแผนการใช้ประโยชน์และวิธีการทำลายส่วนที่เหลือ สรุปได้ดังนี้
อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอางยังเผชิญข้อจำกัดด้านวัตถุดิบ การนำกัญชงไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องจำเป็นต้องอาศัยกฎหมายลูกในการรับรองเพื่อประกอบธุรกิจ โดยในปัจจุบัน มีเพียงอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอางที่มีราชกิจจานุเบกษารองรับ
อย่างไรก็ตาม การนำกัญชงมาใช้ในอุตสาหรรมดังกล่าวยังมีเงื่อนไขเฉพาะ เช่น อาหารและเครื่องดื่มให้ใช้ส่วนผสมจากกัญชงได้เพียงเมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง และโปรตีนจากเมล็ดกัญชง ส่วนเครื่องสำอางให้ใช้ส่วนผสมที่ได้จากน้ำมันและสารสกัดจากเมล็ดกัญชง โดยวัตถุดิบกัญชงจะต้องมาจากผู้ประกอบการในประเทศเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำเข้า ส่งผลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขั้นปลายยังคงต้องรอวัตถุดิบจากผู้ประกอบการโรงสกัด ซึ่งการผลิตออกมาเป็นเกรดมาตรฐาน (ตามมาตรฐานอาหารและยา) จำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาสายพันธุ์และผลิตพันธุ์น้ำมัน/สารสกัด โดยคาดว่าจะสามารถจำหน่ายเชิงอุตสาหกรรม/พาณิชย์ได้ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการสนใจเข้ามาประกอบธุรกิจกัญชงเป็นจำนวนมาก (ตารางที่ 2)
ความท้าทายในการประกอบธุรกิจกัญชงในไทย
-เงื่อนไข/มาตรฐานการผลิตที่เข้มงวด เช่น ปริมาณสาร THC ที่ไม่เกิน 0.001% ในอาหารหรือเครื่องดื่ม การติดฉลากสินค้า การโฆษณา และการตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบ
-ลิขสิทธิ์/สิทธิบัตรกัญชง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมกลางน้ำที่ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ได้มาตรฐานสูง
-ความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งบริษัทกัญชงหลายแห่งในต่างประเทศแม้จะมีอัตราการเติบโตของรายได้ที่สูงแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงโดยเฉพาะต้นทุนจาก โรงงานเครื่องจักรสกัด ค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนา รวมถึงสายพันธุ์กัญชงที่เหมาะสมต่อกระบวนการผลิต
-ความสามารถในการแข่งขัน ผู้ผลิตเข้ามาในตลาดมากขึ้น รวมถึงคู่แข่งจากต่างประเทศ
-การสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ทั้งด้านการรักษาความปลอดภัย หรือผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชง
-ข้อจำกัดของตลาดส่งออก แม้ว่าสหประชาชาติเริ่มผ่อนคลายในการนำสาร CBD มาใช้ แต่การใช้งานยังต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์ ทำให้หลายประเทศยังคงจัดให้กัญชงเป็นสารเสพติด ซึ่งเป็นข้อจำกัดในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย
ข้อจำกัดด้านกฎหมาย ได้แก่
(1) กัญชงที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมต้องได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำเข้ามาสกัด แต่สามารถส่งออกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศได้
(2) การขออนุญาตปลูกจะต้องมีผู้รับซื้อที่ชัดเจน ไม่อนุญาตให้ปลูกโดยที่ยังไม่มีแหล่งรับซื้อ ไม่มีแผนการผลิต หรือแผนการใช้ประโยชน์
(3) คุณภาพและมาตรฐานต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยเฉพาะสาร THC ที่ต้องไม่เกิน 0.2% ของน้ำหนักแห้ง หรือขึ้นอยู่กับประเภทผลิตภัณฑ์ที่นำกัญชงไปผสม
(4) กฎหมายรองรับในการนำกัญชงมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมีการประกาศกฎหมายอนุญาตให้ใช้เมล็ด น้ำมัน และสารสกัดจากเมล็ดกัญชงในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอางได้ ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ อยู่ระหว่างการอนุมัติหรือพิจารณาออกประกาศเพิ่มเติม
การต่อต้านของกระแสสังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบันการรับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง และคุณประโยชน์จากกัญชงยังไม่เป็นที่ทั่วถึงมากนัก เนื่องจากกฎหมายไทยจัดพืชกัญชงให้อยู่ในกลุ่มยาเสพติดมาเป็นเวลานาน
ที่มา:วิจัยกรุงศรี