จากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติหรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งกินเวลาไปจนถึงปี 2573 ทำให้องค์กรทั่วโลกตื่นตัวปฏิบัติตาม รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทยอย่าง “ไทยประกันชีวิต” ที่มองเห็นถึงความสำคัญ และตระหนักถึงการเดินหน้าสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืนที่เคียงข้างสังคมไทย โดยกำหนด Business Purpose มุ่งสู่การเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต การประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล หรือ Life Solutions Provider เพื่อสร้างความมั่นคงในทุกช่วงของชีวิต (Life Stage) ทุกจังหวะชีวิต (Life Event) และทุกการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของคนไทย
-เส้นทางสู่ความยั่งยืนของ “ไทยประกันชีวิต” ที่เป็นมากกว่า “บริษัทประกัน”
หากย้อนกลับไปมองเส้นทางที่ผ่านมา “ไทยประกันชีวิต” ได้ผ่านเส้นทางแห่งความท้าทายและวิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมากมาย สามารถแบ่งออกเป็นยุคหลัก ๆ คือ
ระหว่างทางแห่งการเดินหน้าสร้างการเติบโตทางธุรกิจ ไทยประกันชีวิตยังได้ตระหนักถึงคุณค่าของผู้มีส่วนในห่วงโซ่ของธุรกิจ โดยดำเนินธุรกิจบนการตระหนักถึงธรรมาภิบาล (Governance) สิ่งแวดล้อม (Environmental) และสังคม (Social) หรือ ESG พิสูจน์ได้จากนโยบายด้านความยั่งยืน ที่ไทยประกันชีวิตได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องเห็นได้ในหลากหลายมิติ
ด้านธรรมาภิบาล (Governance)
ไทยประกันชีวิตดำเนินธุรกิจด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) มีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และปลูกฝังให้บุคลากรมีจรรยาบรรณทางธุรกิจ (Code of Conduct) อาทิ การต่อต้านทุจริต การปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องสังคมและเศรษฐกิจ ฯลฯ ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าอย่างรับผิดชอบ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการของไทยประกันชีวิตเป็นไปอย่างครบถ้วน โปร่งใส รวมถึงมีการรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่รัดกุม อันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานของไทยประกันชีวิตอย่างถูกต้อง เหมาะสมและยั่งยืน รวมถึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่ยอมรับของสังคม
ด้านสังคม (Social)
ไทยประกันชีวิตให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักมนุษยนิยม ถือว่าบุคลากรเป็นทรัพย์สิน (Asset) และเป็นทุน (Capital) ที่สำคัญที่สุด มุ่งมั่นเสริมสร้างบุคลากรให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ที่พร้อมอยู่เคียงข้างลูกค้าและสังคม บริหารจัดการบุคลากรโดยเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค ความปลอดภัย และได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม โดยสอดคล้องกับระเบียบของไทยประกันชีวิตและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่เชื่อมั่นว่าความร่วมมือ ร่วมใจ ความผูกพันเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จร่วมกัน
นอกจากนี้ ไทยประกันชีวิตยังให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้า ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองทุกความต้องการ และสร้างโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการประกันชีวิตได้ง่ายขึ้น สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยวางแนวทางขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลในลักษณะ Data Driven Company นำเทคโนโลยีด้านต่างๆ เข้ามาสนับสนุนการทำงาน เพื่อให้องค์กรเกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด (Innovation for Customer) และสร้างสรรค์นวัตกรรมในการบริหารองค์กร (Innovation for Organization)
ไม่เพียงเท่านั้น ไทยประกันชีวิตยังมุ่งบริหารจัดการชุมชนและสังคมให้เกิดความยั่งยืน ผ่านการยกระดับคุณภาพชีวิต และการเสริมสร้างความรู้ด้านการประกันภัย อาทิ ริเริ่มโครงการไทยประกันชีวิตเสริมโอกาส สุขยั่งยืน ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมศักยภาพรอบด้านให้กับวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ
ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)
ไทยประกันชีวิต ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม เน้นการบริหารความเสี่ยงและผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเกิดความต่อเนื่อง ไม่ส่งผลกระทบต่อ Stakeholders ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง การจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และแผนการบริหารจัดการในภาวะภัยพิบัติ รวมถึงการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านการริเริ่มโครงการต่างๆ ที่ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจของไทยประกันชีวิต อาทิ การนำระบบดิจิทัลมาทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากร การลดการใช้พลังงาน หรือการลดปัญหาขยะ
ขณะเดียวกัน “ไทยประกันชีวิต” เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกที่ได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยอ้างอิงจากแผนแม่บทเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ตามแนวทางของ UN Global Compact ซึ่งประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
1. การยึดมั่นคำสัญญา (Promise) ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน (Stakeholders) โดยเฉพาะลูกค้า ด้วยการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) พร้อมทั้งบริหารจัดการบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ
2. การคุ้มครองป้องกัน (Protect) เป็นยุทธศาสตร์ที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความรับผิดชอบ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แบบเฉพาะบุคคล (Personalize) ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม การบริหารความยั่งยืนของลูกค้า รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรับผิดชอบ
3. การสร้างความรุ่งเรืองเฟื่องฟู (Prosper) มุ่งสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมและสภาพแวดล้อม ทั้งการบริหารจัดการชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
-ชวน “คนไทย” ก้าวสู่ความยั่งยืนไปพร้อมกันกับ “ไทยประกันชีวิต”
ทั้งนี้ ในปี 2565 “ไทยประกันชีวิต” เตรียมเสริมศักยภาพองค์กรสู่ความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน ด้วยการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) โดยเปิดโอกาสให้คนไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทประกันชีวิตชั้นนำที่มีคุณภาพ จำนวนไม่เกิน 2,207,309,200 หุ้น คิดเป็นไม่เกินร้อยละ 19.3 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของไทยประกันชีวิตภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้
การระดมทุนในครั้งนี้ ไทยประกันชีวิตจะนำเงินไปใช้เพื่อการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) การทำการตลาด ผ่านนวัตกรรม และโซลูชันส์ที่จะดูแลคนไทยได้ทุกวัย และแบบครบวงจร ควบคู่เพื่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของช่องทางจัดจำหน่ายผ่านทางพันธมิตรเพื่อขยายช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเงินทุน และสำหรับเงินทุนหมุนเวียนวัตถุประสงค์อื่นๆ รองรับวิสัยทัศน์การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน
ทั้งนี้ “ไทยประกันชีวิต” ยังยืนยันในเจตนารมย์อันแน่วแน่ของไทยประกันชีวิตในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมโดยตลอดมาและในอนาคตข้างหน้า เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในสังคมให้สังคมเกิดความเข้มแข็ง และก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป เพราะไทยประกันชีวิตเชื่อมั่นว่า “ถ้าสังคมอยู่ได้ ไทยประกันชีวิตก็อยู่ได้เช่นเดียวกัน”
Disclaimer: เอกสารฉบับนี้มิใช่การเสนอขายหลักทรัพย์ การเสนอขายหลักทรัพย์จะกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และแบบแสดงรายการข้อมูลฯ และหนังสือชี้ชวนมีผลใช้บังคับแล้ว ข้อมูลนี้ถูกเผยแพร่ให้แก่ผู้ลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน