ค่าเงินบาทพลิกกลับมาทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 19 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.12 บาทต่อดอลลาร์

19 ก.ย. 2567 | 10:04 น.
อัพเดตล่าสุด :19 ก.ย. 2567 | 10:35 น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่า ทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 19 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.12 บาทต่อดอลลาร์ฯ บล.ฟินันเซียไซรัสคาดปลายปีการเคลื่อนไหวของเงินบาทอยู่ในกรอบ 33-34บาทต่อดอลลาร์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุ เงินบาทแข็งค่ากลับมาในช่วงบ่ายตามแรงขายเงินดอลลาร์ ที่กลับมาอีกรอบ  เหตุการลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเมื่อ 17-18 กันยายนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มของ cycle การลดดอกเบี้ย ย้ำแนวโน้มดอกเบี้ยของเฟดในระยะข้างหน้ายังเป็น "ขาลง"

ค่าเงินบาทพลิกกลับมาทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบกว่า 19 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.12 บาทต่อดอลลาร์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทอ่อนค่าช่วงสั้นๆในช่วงเช้าไปที่ 33.52 บาทต่อดอลลาร์ฯ ตามแรงซื้อคืนเงินดอลลาร์ฯ บางส่วน หลังเฟดลดดอกเบี้ยตามคาด แต่อย่างไรก็ดี เงินบาทแข็งค่ากลับมาในช่วงบ่ายตามแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ที่กลับมาอีกรอบ

เพราะที่จริงแล้วการลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเมื่อ 17-18 กันยายนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มของ cycle การลดดอกเบี้ย และแนวโน้มดอกเบี้ยของเฟดในระยะข้างหน้ายังเป็นขาลง นอกจากนี้ การแข็งค่ากลับมาของเงินบาทในช่วงบ่ายก็สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก และสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน 

 

“เงินดอลลาร์น่าจะมีแรงซัพพอร์ตน้อยลงในระยะข้างหน้า เพราะcycleขาลงของดอกเบี้ยเฟด เพิ่มจะเริ่มและมีโอกาสที่เฟดจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องปีนี้และปีหน้าด้วย ซึ่งหากเงินดออลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าทำให้ในระยะใกล้ ถ้าโมเมนตัมของเงินบาทแข็งค่าต่อไปทดสอบระดับ 33.00บาท/ดอลลาร์ หลังจากที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่ามาแล้ว 3.1% ปัจจัยหลักมาจากการเปลี่ยนมุมมองคาดการณ์การลดดอกเบี้ยของเฟด โดยจะเห็นครึ่งหลังของปีนี้ตั้งแต่เดือนก.ค.จนถึงปัจจุบันเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าต่อเนื่อง หลังจากที่ช่วงครึ่งแรกเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทมาพร้อมกับหลายเรื่อง เช่น เฟดเปลี่ยนทิศปรับลดดอกเบี้ย และนำมาสู่การปรับลดดอกเบี้ยเป็นทางการเมื่อคืนวันที่ 18ก.ย. ประกอบกับมีอินโฟลว์กลับเข้ามาบ้างในตลาดบอนด์กว่า 2.500ล้านบาท ณวันที่ 19ก.ย. จากครึ่งปีที่เป็น Outflowสะสมประมาณ 65,000ล้าน และเป็นการไหลออกจากตลาดหุ้นอีก 1.44แสนล้านล้าน ซึ่งครึ่งหลังของปีเริ่มมีอินโฟล์เข้ามาตลาดหุ้นบ้าง ทำให้ยอดสะสมขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติจึงน้อยลงมา เช่นเดียวกับตลาดบอนด์ไทย”นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยกล่าว

พร้อมเปิดเผยถึง  แนวโน้มเงินทุนไหลเข้า(อินโฟลว์)ในตลาดพันธบัตร(บอนด์) เริ่มสลับเข้ามาบ้าง ซึ่งจะเห็นอินโฟลว์ 2,560 ล้านบาท (ณ วันที่ 19ก.ย.67) หลังจากครึ่งแรกของปีนี้เป็นขาออก 65,193 ล้านบาทและทั้งปีก่อนไหลออกกว่า 1.44 แสนล้านบาท เช่นเดียวกันตลาดหุ้นที่ฟันด์โฟลว์ไหลออกลดลง 96,350 ล้านบาท จากครึ่งแรกของปีที่ไหลออกกว่า 1.17 แสนล้านบาทและทั้งปีก่อนไหลออกกว่า 1.92 แสนล้านบาท หากไม่มีอะไรมาสะดุดเศรษฐกิจไทยซึ่งอยู่ในจังหวะฟื้นตัว คิดว่า ยังเห็นฟันด์โฟลว์ยังไหลเข้ามาบ้าง

ขณะที่บอนด์ยีลด์ของสหรัฐปรับลดตามการคาดการณ์แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด โดยหลังจากเฟดปรับลดดอกเบี้ยในอัตรา 0.50% ในส่วนของบอนด์ยิวสหรับปรับลดมากกว่า 0.50%เช่น บอนด์ยิลสหรัฐอายุ 2ปี (ณ คืนวันที่ 18ก.ย.)อยู่ที่ 3.61% โดยลดลง 0.63% จากระดับสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 4.25% ส่วนบอนด์ยีลด์ของไทย อายุ 2ปี ลดลง 0.20% มาอยู่ที่ 2.14% จากสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 2.34 %

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้าส่วนงานกลยุทธ์การลงทุนต่างประเทศ บล.ฟินันเซียไซรัส จำกัด(มหาชน)เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ช่วงที่เหลือของปียังมีความเสี่ยงของผู้นำเข้า และส่งออกไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายของเฟด หากเฟดลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในระยะยาว

มีโอกาสที่จะเห็นเงินดอลลาร์ “อ่อนค่า” หรือถ้าผลจากเฟดลดดอกเบี้ยนโยบายส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐ กับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นมา และจบการเลือกตั้งในสหรัฐ ถ้าพรรคเดโมแครต ( นางคามาลา แฮร์ริส)จะชนะการเลือกตั้งโอกาสสูงมากที่เงินดอลลาร์จะอ่อนค่าต่อจากนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐ และเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และประเด็นสุดท้าย คือ ราคาทองคำ ถ้าระยะสั้นราคาทองคำจะแกว่งตัวในกรอบแคบ แต่ถ้าทองคำทำนิวไฮต่อเนื่องจะเป็นอีกปัจจัยกดดันให้เงินบาท “แข็งค่า” เพราะไทยมีการส่งออกทองคำ

โดยภาพรวมปลายปีมองกรอบเงินบาท 33-34บาทต่อดอลลาร์ เฉลี่ยที่ 33.40บาทต่อดอลลาร์ ส่วนโอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่าไปที่ระดับ 34บาทต่อดอลลาร์ ได้อย่างไรนั้น ดาวน์ไซซ์หลัก ได้แก่ 1.เศรษฐกิจไทยแย่ และ 2.กรณีพรรครีพับลิกัน (โดนัลด์ ทรัมป์) ชนะการเลือกตั้ง เงินดอลลาร์แข็งค่าและ ราคาทองคำย่อตัวลง