โดยยึดหลักแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนผ่านแนวคิด SDG ในแบบฉบับของ โออาร์ ที่ร่วมสนับสนุนและสร้างโอกาสที่จะเติบโตเคียงข้างผู้คน ชุมชน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเติมเต็มโอกาสในมิติที่หลากหลาย ได้แก่ S-Small การสร้างโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก ,D-Diversified การสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ ผ่านแพลตฟอร์มในการกระจายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและครอบคลุมของโออาร์ และ G-Green การส่งเสริมธุรกิจทุกประเภทของให้เป็นธุรกิจสีเขียว สนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2573 และมุ่งสู่การบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ภายในปี 2593
โออาร์ ได้ดำเนินการต่อยอดโครงการ "แยก แลก ยิ้ม" ผ่านโครงการ "โออาร์ สานเส้นใย (พลาสติก) ห่มภัยหนาว" โดยถือเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะพลาสติก และยังเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการรับบริจาคขวดพลาสติกใส (PET) ที่ไม่ใช้แล้ว ผ่านสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึง สำนักงาน โออาร์ และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ แยก แลก ยิ้ม School Camp รวมทั้งหมด 26 แห่ง โดยนำขวดพลาสติกมาผ่านกระบวนการ Upcycling เป็นเส้นใยพลาสติกนำไปทอเป็นผืนผ้าห่ม และตัดเย็บโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวัดจากแดง กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่อไป เพื่อส่งต่อความอบอุ่นสู่ผู้ประสบภัยหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 16,000 ผืน จากการรับบริจาคขวดพลาสติกจำนวน 300,000 ขวด (ขวดพลาสติกใส (PET) ขนาด 600 ml 11 ขวด = ผ้าห่ม 1 ผืน)
สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวนั้น เป็นแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสร้างงาน สร้างรายได้ให้วิสาหกิจชุมชน รวมถึงสร้างความเข้าใจ และตระหนักรู้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จากการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี เปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน เป็นการสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจของ โออาร์ ถือเป็นสิ่งที่ โออาร์ ยืดถือเป็นแนวทางปฏิบัติมาโดยตลอด ครอบคลุมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนรอบพื้นที่ธุรกิจ การสร้างคุณค่าร่วมและกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจสู่สังคม และการดูแลสิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมถึงกระบวนการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมที่ โออาร์ มุ่งเน้นให้เกิดการร่วมมือกับทุกภาคส่วนและกลุ่มสังคม และชุมชน (Collaboration) ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหา หรือสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมพัฒนาสังคมอย่างไม่สิ้นสุด