วสท.ร้องนายกฯ ขอ'ผ่อนปรนก่อสร้าง' ปิดจุดเสี่ยงอันตราย

29 มิ.ย. 2564 | 08:56 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มิ.ย. 2564 | 02:47 น.

ฟ้าผ่า ศบค. สั่งปิดแคมป์ก่อสร้าง วสท.ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ ขอผ่อนปรนมาตรการ เข้าปิดจุดเสี่ยง งานอันตราย อย่างต่ำ 15 วัน และเปิดก่อสร้างในไซต์ประจำจุด พร้อมเสนอมาตรการเข้มรองรับ

29 มิถุนายน 2564 - นาย ธเนศ  วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่าการปิดสถานที่ก่อสร้าง ตามประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  (ฉบับที่ 25) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564  ในราชกิจจานุเบกษา 

ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 มิถุนายน 2564 นั้น ประกาศให้ปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานทั้งภายในภายนอกสถานที่ก่อสร้าง รวมทั้งให้หยุดงานก่อสร้าง และห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นเวลา 1 เดือน ทำให้การก่อสร้างต้องหยุดลงทันที ส่งผลกระทบให้ธุรกิจก่อสร้างในประเทศไทยได้รับผลกระทบในวงกว้าง เนื่องจากในกรุงเทพมหานครมี Camp คนงานที่อยู่ใน Site ประมาณ  120  แห่ง Camp คนงานที่อยู่นอก Site  ประมาณ  480  แห่ง

วสท.ร้องนายกฯ ขอ\'ผ่อนปรนก่อสร้าง\' ปิดจุดเสี่ยงอันตราย

ทั้งนี้ ยังไม่รวมในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะงานที่ต้องทำต่อเนื่อง งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย รวมถึงเรื่องสัญญาก่อสร้าง สัญญาการว่าจ้างบริษัทรายย่อยที่จะมีผลตามมาอีกมาก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จึงมีข้อเสนอให้มีการผ่อนปรนให้สามารถทำงานได้ต่อไป 

รองศาสตราจารย์ สิริวัฒน์  ไชยชนะ อุปนายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า แนวทางป้องกันความเสียหายของงานก่อสร้างที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ งานก่อสร้างทุกชนิดทุกประเภท ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เป็นการทำงานที่มีกระบวนการ มีขั้นตอนการเริ่มต้น การดูแล การตรวจตรา เพื่อให้งานออกมา เสร็จสิ้นสมบูรณ์ มีความมั่นคงแข็งแรงให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคารนั้น ๆ แต่ละขั้นตอนมีหลักการปฏิบัติต้องดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่อง และถูกต้องตามหลักวิชาการ การหยุดการดำเนินการอย่างทันทีทันใด น่าจะส่งผลกระทบทางลบให้กับผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก

วสท.ร้องนายกฯ ขอ\'ผ่อนปรนก่อสร้าง\' ปิดจุดเสี่ยงอันตราย ที่เห็นอย่างชัดเจน ก็คือ เรื่องเสถียรภาพของโครงสร้างอาคารงานที่กำลังจะดำเนินการ เช่น งานที่ดำเนินการติดตั้งเหล็กเสริม คาน พื้น เรียบร้อยแล้ว มีแผนการตรวจสอบความถูกต้อง ความมั่นคง แข็งแรง ของไม้แบบ ค้ำยันต่าง ๆ  พร้อมที่จะกำหนดเทคอนกรีตได้แล้ว ถูกปล่อยทิ้งร้างไว้ไม่มีการทำต่อเนื่อง เหล็กเสริมที่เตรียมการไว้เกิดเป็นสนิม นั่งร้านค้ำยันที่ติดตั้งไว้ชั่วคราว ต้องมีการตรวจสอบตลอดเวลา อาจมีการเคลื่อนย้าย งานบางอย่างต้องทำต่อเนื่อง การขุดเจาะอุโมงค์ การดันท่อลอด การขุดชั้นใต้ดิน เหล่านี้เป็นต้น 

รวมทั้งงานทดสอบ เช่น กำลังดำเนินการทดสอบอยู่ จะต้องมีการตรวจวัดอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ มีผลกระทบโดยตรงกับการก่อสร้าง ยังไม่รวม Supplier ต่าง ๆ ที่เตรียมการส่งอุปกรณ์ติดตั้ง หยุดชะงักหมด รวมไปถึงการเข้าโครงการที่มีกำหนดการที่จะใช้อาคาร กลับต้องถูกเลื่อนออกไป และเมื่อครบกำหนดเปิดให้เข้าทำงานก่อสร้างได้ ก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องทันที จะต้องดำเนินการตรวจสอบ แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดจากการถูกปล่อยทิ้งไว้ อาจต้องมีการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนเอาของใหม่มาแทน นอกจากเสียเวลาเพิ่มแล้ว ค่าใช้จ่าย อาจจะมีเพิ่ม ไม่ทราบว่าความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่ที่ส่วนใด

วสท.ร้องนายกฯ ขอ\'ผ่อนปรนก่อสร้าง\' ปิดจุดเสี่ยงอันตราย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

นายเอนก ศิริพานิชกร ที่ปรึกษาคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า ในการที่จะก่อสร้างอาคาร ต้องมีการสร้างโครงสร้างชั่วคราว หรือ Temporary Structure ก่อน เช่น การตั้งนั่งร้าน ไม้แบบ ระบบป้องกันดินพัง สำหรับการขุดดินลึกเพื่อหล่อคอนกรีตฐานราก และห้องใต้ดิน ซึ่งจะต้องมีการรื้อถอนออกไปหลังจากการก่อสร้างโครงสร้างถาวรแล้วเสร็จ หากโครงสร้างอาคารถาวรยังไม่ได้สร้าง ก็จะเป็นปัญหาลำดับของการก่อสร้างผิดไป 

วสท.ร้องนายกฯ ขอ\'ผ่อนปรนก่อสร้าง\' ปิดจุดเสี่ยงอันตราย เช่น หากมีฝนตกลงมา และมีน้ำไปขัง หรือน้ำท่วมเข้าไปในสถานที่ก่อสร้างจะทำให้ดินทรุดพังลง และโครงสร้างพังเสียหายเครื่องจักรอุปกรณ์เกี่ยวกับงานก่อสร้าง เช่น เครน เป็นไปได้ที่เครนจะมีการแกว่งออกไปนอกสถานที่ก่อสร้างได้ อาจจะล้มลงทำให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากไม่ได้มีการทำงาน ในระหว่างหยุดงานก่อสร้างเป็นเวลานาน ปกติหากมีการสั่งงดการก่อสร้าง มักจะมีการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน เพื่อให้ผู้ดูแลงานสามารถวางแผนการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ 

หากมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแบบนี้แล้ว ขอเสนอให้ส่วนราชการต้องพิจารณาให้อำนาจท้องถิ่นไปตรวจสอบโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ไหนบ้าง ที่อาจจะมีปัญหาในระหว่าง 30 วันนั้น และให้รีบดำเนินการให้เสร็จในส่วนที่เป็นอันตราย คือต้องใช้เวลาในการดำเนินการ ควรมีเวลาสัก 15 วัน ในการดำเนินการ เพื่อทำให้ทุกอย่างปลอดภัย เช่น บริเวณใดที่ก่อสร้างยังไม่ครบขั้นตอน ก็ทำให้ครบ เพื่อทำให้มีโครงสร้างชั่วคราวคงเหลือน้อยที่สุด เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้พิจารณาเห็นถึงความไม่ปลอดภัยและผลเสียที่อาจเกิดต่อเนื่องตามมาในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นผลให้อุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติ ไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ในทันที แม้เมื่อถึงเวลาที่ภาครัฐอนุญาตให้ ทำการก่อสร้างต่อไปได้ เพราะประสบปัญหาที่ต้องมาแก้ไขในทางวิศวกรรมอย่างมาก 

จึงใคร่ขอเสนอแนวทางเพื่อขอท่านได้โปรดพิจารณาผ่อนปรน หรือบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ยังคงยึดมั่นและพร้อมปฏิบัติตามแนวทางเรื่องการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเป็นหลัก โดยแนวทางที่ขอเสนอท่านเพื่อพิจารณามีดังนี้

กรณี Camp ที่พักคนงานอยู่ในหน่วยงานก่อสร้าง

- ใช้หลักการ Bubble and Seal (ส่งอาหารและวัสดุที่จำเป็น จากภายนอก) 
- ให้ตรวจ Swab  คนทำงานในหน่วยงานทั้งหมด 100% โดยในช่วง 14 วัน ตรวจ 2 ครั้ง
- สนับสนุนให้มีการฉีดวัคซีน 

หมายเหตุ :     ได้รับแจ้งว่าคนงานบางกลุ่มมีกำหนดฉีดวัคซีนแล้ว แต่หลังมีข้อกำหนดให้ปิดการก่อสร้างเจ้าหน้าที่ภาครัฐไม่อนุญาตให้ออกไปฉีดวัคซีน

วสท.ร้องนายกฯ ขอ\'ผ่อนปรนก่อสร้าง\' ปิดจุดเสี่ยงอันตราย

กรณี Camp ที่พักคนงานอยู่ห่างจากหน่วยงานก่อสร้างที่ต้องมีการเดินทาง ไป - กลับ

- กำหนด Bubble and Seal และตรวจ Swab คนงานที่อยู่ในที่พัก และเมื่อคนงานใดได้นัดหมายให้ ฉีดวัคซีน อนุญาตให้ไปตามกำหนดนัดแล้วแยกออกจากบุคคลอื่น

- หากหน่วยงานก่อสร้างมีส่วนของงานที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในด้านวิศวกรรม เช่น การทำชั้นใต้ดินที่มีการขุดดินคงค้าง การทำฐานรากที่คงค้าง การทำท่อลอดใต้ดิน เป็นต้น           

- ขอให้คัดคนงานที่มีจำนวนเพียงพอกับส่วนงานนั้น ๆ เข้าไปดำเนินงานและจัดให้พักในหน่วยงาน     ไม่ต้องไป - กลับ และให้ Bubble and Seal หน่วยงาน (มีการจัดส่งอาหารและวัสดุจากภายนอก   เข้ายังหน่วยงาน)

สำหรับพนักงาน Site office และ safety officer ของหน่วยงาน 

-อนุญาตให้เข้าหน่วยงานเพื่อดูแลความปลอดภัยด้านวิศวกรรม

-ผู้ที่เข้าหน่วยงานต้องเป็นผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม

สำหรับงานก่อสร้างที่ไม่สามารถหยุดดำเนินการได้เพราะจะส่งผลเสียต่อเนื่องและเป็นอันตราย ทั้งต่อโครงการและสาธารณะนั้น ได้แก่   

1.ปั้นจั่นหอสูง  (Tower Crane) ที่กำลังติดตั้ง หรือที่ยังไม่ได้ยึดรั้งให้เกิดเสถียรภาพ

2.งานทำฐานราก งานทดสอบเสาเข็ม งานก่อสร้างชั้นใต้ดิน งานกำแพงกันดิน ที่ทำงานคงค้างไว้   และต้องทำต่อเนื่องจนถึงระดับผิวดินจึงจะมีความปลอดภัย

3.พื้นคอนกรีตอัดแรง (Post Tension) จะต้องดึงลวดอัดแรงเมื่อคอนกรีตได้กำลังตามที่กำหนดไว้ รวมถึงการดูแลการค้ำยันชั่วคราวเพื่อรองรับพื้น

4.งานนั่งร้านค้ำยันชั่วคราว (Temporary Shoring) ต้องจัดการเพิ่มความแข็งแรงและเสถียรภาพ

5.งานดันท่อลอด (Pipe jacking) งานประเภทนี้ไม่ควรให้มีการหยุดดำเนินการเพราะเมื่อหยุดการ    ดันท่อลอดเป็นระยะเวลานาน เมื่อกลับมาดำเนินงานต่อจะไม่สามารถดันท่อต่อไปได้ ต้องแก้ไขด้วยการเปิดดินจากด้านบนเป็นวงกว้าง เป็นผลกระทบต่อสาธารณชน ในบางพื้นที่อาจไม่สามารถดำเนินการได้

6.งานก่อสร้างเบ็ดเตล็ดที่ใช้คนทำงานไม่เกิน 15 คน เป็นส่วนงานที่ปริมาณคนไม่มาก สามารถดำเนินการ Bubble and Seal ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ยินดีจัดส่งบุคลากรเพื่อช่วยสนับสนุนเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานเขตกรณีต้องพิจารณาเกี่ยวกับงานใดที่ควรทำต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งนี้ยังคงให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคตามที่ภาครัฐได้กำหนดไว้

วสท.ร้องนายกฯ ขอ\'ผ่อนปรนก่อสร้าง\' ปิดจุดเสี่ยงอันตราย