ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) ในภาพรวมของไตรมาส 2 ปี 2564 มีค่าดัชนีเท่ากับ 46.4 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) แต่ค่าดัชนีไตรมาสนี้ยังต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 ซึ่งมีค่าเช่นนี้ ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 รวมเป็นระยะเวลาติดต่อกันมาถึง 9 ไตรมาสแล้ว
ทั้งนี้ ภาวะค่าดัชนีไตรมาสนี้ยังต่ากว่าระดับ 50.0 เริ่มต้นจากการบังคับใช้มาตรการควบคุม LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทยในไตรมาส 2 ปี 2562 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ท าให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ เริ่มชะลอตัวลง และในปี 2563 ประเทศไทยต้องประสบกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งเป็นอีก ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ทั้งนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบัน ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้จนมาถึงไตรมาส 2 ปี 2564 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ไทยให้มีการฟื้นตัวช้ากว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และมีผลทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยมีความกังวลต่อผลกระทบของสถานการณ์ดังกล่าวทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการฯ ตามประเภทบริษัท พบว่า ความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันของ ผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies ในไตรมาส 2 ปี 2564 มีค่าดัชนีเท่ากับ 51.1 ซึ่งสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 และสูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีเพียง 49.4 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการกลุ่ม ListedCompanies มีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในภาวะปัจจุบัน ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย การลงทุนใหม่ๆ และการเปิดตัวโครงการใหม่หรือเฟสใหม่ โดยเฉพาะที่เป็นโครงการบ้านจัดสรรเพื่อทดแทนหน่วยที่ได้ขายไปและทดแทนโครงการอาคารชุดที่เปิดตัวลดลง
ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies ในไตรมาส 2 ปี 2564 มีค่าดัชนีเท่ากับ 39.3 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่41.7และค่าดัชนียังต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies ไม่มีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจในภาวะปัจจุบันในทุก ๆ ปัจจัย
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ใน ภาพรวมอีก 6 เดือนข้างหน้า(Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 50.5 ลดลงอย่างชัดเจนจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.8 แม้ว่าค่าดัชนียังสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0แต่มีการลดลงอย่างมากในทุกปัจจัย
สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นในต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอีก 6 เดือนข้างหน้าในเชิงบวกเล็กน้อย อาจเป็นเหตุผลจากการที่รัฐบาลได้ประกาศแผนการเปิดประเทศภายใน 120วันหรือประมาณเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งหากสามารถทำได้ตามแผนดังกล่าวก็จะทำให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้ แต่ก็ยังมีความกังวลเรื่องของควบคุมการระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่สามารถควบคุม สถานการณ์ได้ในปัจจุบัน
เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ประกอบการฯ ตามประเภทบริษัท พบว่า กลุ่ม Listed Companies มีค่าดัชนีความ เชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 55.7 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 63.6 แม้ว่าก็ยังสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 แต่จะเห็นได้ว่ามีการลดลงอย่างมากในทุกปัจจัย
ขณะที่ผู้ประกอบการฯ กลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 42.7 ลดลงจากไตรมาสก่อน หน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.5โดยมีการลดลงอย่างมากในทุกปัจจัย และจะเห็นได้อย่างชัดว่าผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies ขาดความเชื่อมั่นในธุรกิจในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้าในระดับที่มากกว่า ผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเสียเปรียบในด้านเงินลงทุนพัฒนา โครงการใหม่หรือเฟสใหม่และความเชื่อมั่นของผู้ซื้อที่อยู่ต่อชื่อเสียงและแบรนด์ในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19