14 ธ.ค.2564 - ปัญหาหนักใจ "กู้ซื้อบ้าน" หรือ ขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไม่ผ่านสักที แก้ไขอย่างไรดี?
ล่าสุด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ บมจ.ศุภาลัย เผยแพร่บทความ เพื่อให้คำแนะนำกับผู้ซื้อบ้าน หลังส่วนใหญ่ พบยังเผชิญ กับปัญหา หนี้สินระดับครัวเรือน -หนี้ส่วนบุคคล เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้รถยนต์ ทำให้เป็นอุปสรรคในการขอสินเชื่อ
9 วิธี และ 9 วิธีการแก้ไข ให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ กู้ซื้อบ้านดังนี้...
- ปัญหาของการมีบัตรเครดิตหลายใบ เพราะจะส่งผลให้กำลังซื้อบ้านลดลง เนื่องจากธนาคารจะนำวงเงินจากบัตรเครดิตทุกใบมาคิดรวมเป็นภาระหนี้สิน ถึงแม้ว่าบัตรนั้นจะไม่ได้ใช้ก็ตาม ทางที่ดี ควรเก็บไว้แต่บัตรเครดิตที่จำเป็นๆ ใบไหนไม่ใช้ก็ควรปิด
- ปัญหาจากการผ่อนสินค้าผ่านบัตรเครดิตต่างๆถ้ายังมีรายการผ่อนสินค้าอยู่ ควรรีบผ่อนให้หมดแล้วปิดทันที เพราะถ้ายังติดผ่อนบัตรอยู่ ก็จะถูกนำมาคิดรวมเวลาพิจารณาสินเชื่อด้วยเช่นกัน
- ปัญหาไม่ตรวจเช็คเครดิตบูโรเมื่อเรายื่นกู้ทางธนาคารจะเช็คประวัติเครดิตบูโรทันที ซึ่งเครดิตบูโรจะเก็บรวบรวมข้อมูลการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตทั้งยอดคงค้าง และการผิดประวัติชำระหนี้ ทางที่ดีควรเช็คก่อนยื่นกู้
- ปัญหาติดผ่อนรถยนต์คันแรกส่วนใหญ่แล้ว ปัญหาของการกู้ไม่ผ่านคือ ผู้กู้มีภาระผ่อนรถยนต์คันแรกอยู่ ดังนั้นก่อนยื่นกู้ควร Pre-approve กับสถาบันการเงิน ว่าเรายังมีความสามารถในการชำหระหนี้ได้อีกหรือเปล่า ก่อนยื่นขอสินเชื่อบ้าน
- ปัญหาการค้ำประกัน การค้ำประกันจะถูกธนาคารนำมาคิดเป็นภาระหนี้ด้วย ทำให้ความสามารถในการกู้ลดลงนั่นเอง
- ปัญหาการไม่ออมเงิน การออมเงินเป็นการสร้างเครดิตที่ดีให้กับตัวเอง เพื่อที่ทางธนาคารจะมั่นใจได้ว่าเรามีวินัยทางการเงิน ดังนั้นในบัญชีควรจะมีเงินออมเป็นบัญชีฝากประจำประมาณ 1-2 ปี
- ปัญหาของผู้กู้ร่วม ถ้าคิดจะหาผู้กู้ร่วมควรจะหาผู้กู้ร่วมที่มีเครดิตดีๆ มีอาชีพมั่นคง เช่น ข้าราชการ , พนักงานรัฐวิสาหกิจ , แพทย์ , อัยการ ทำให้เรามีโอกาสได้รับสินเชื่อได้ง่ายมากขึ้น
- ปัญหาการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยไม่เหมาะกับกำลังซื้อ เลือกซื้อบ้านควรดูความสามารถในการชำระหนี้ด้วย ว่าเราสามารถผ่อนชำระได้แค่ไหน
- ปัญหาของระยะเวลาผ่อน ควรเลือกระยะเวลาในการผ่อนบ้านให้นานๆไว้ก่อน เช่น 25-30 ปี เพื่อไม่กระทบกับรายได้มากนัก เพราะหากเกิดปัญหาทางการเงิน เราก็ยังสามารถผ่อนชำระต่อเดือนได้อยู่ ถ้าหากมีรายได้เพิ่มขึ้น เราก็สามารถนำมาโปะเพิ่มได้เช่นกัน
ที่มา : https://bit.ly/3q9yOiU
www.home.co.th/finance/topic-13324