"เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี2565" ที่ดินรกร้างไม่ทำประโยชน์ กว่า6หมื่นไร่ในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เปลี่ยนสภาพ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยจุดประสงค์ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยเฉพาะที่ดินกลางใจเมืองแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เนื่องจากที่ดินมีราคาสูง ประกอบกับการระบาดโควิด-19 นักลงทุนต่างชะลอโครงการ และส่วนใหญ่มักเก็บที่ดินไว้รอจังหวะเปิดตัว ไม่เว้นนักลงทุนรายใหญ่ อย่าง กลุ่มทีซีซี เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี
“ฐานเศรษฐกิจ” สำรวจที่ดินบริเวณ เกษตร-นวมินทร์ (ประเสริฐมนูกิจ) สังเกตสองฝั่งของถนน พบที่ดินแปลงขนาดใหญ่ พลิกโฉมเป็นสวนมะม่วงยังไม่มีผลผลิตรวมกว่า300ไร่ บริเวณแยกเสนานิคมตรงข้ามกับ ย่านพาณิชยกรรรมขนาดย่อม “นวมินทร์ อเวนิว” ส่วนที่ดินอีกแปลง ซึ่งล้อมรั้วไว้ก่อนหน้านี้มีการตอกเสาเข็ม
เพื่อก่อสร้างฐานรากใต้ดินโดยป้ายโครงการระบุเป็นโครงการนวมินทร์เฟส 1ประกอบด้วย สำนักงาน โรงแรม236 ห้องและ ศูนย์แสดงสินค้าที่จอดรถ 2,249 คันพัฒนาในนาม บริษัท ทีซีซีเวิลด์จำกัด ในเครือ กลุ่มทีซีซี เมื่อ มองลอด แผ่นสังกะสีพบว่าบริเวณด้านใน ได้ลงไม้ผลอย่างมะม่วงไว้เช่นเดียวกัน
สอบถาม นายทองสุข ขวาไชย เจ้าหน้าที่ ประจำ บริษัท อินเตอร์บริดจ์(ประเทศไทย)จำกัด บริษัทพัฒนาบ้านน็อค ดาวน์ ซึ่งมีที่ดินตั้งอยู่ติดกัน ระบุว่าเป็นสวนมะม่วงของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดีปัจจุบันได้กว้านซื้อที่ดิน แถบดังกล่าวไว้หมดแล้ว โดยเฉพาะที่ดินหมู่บ้านเสนานิเวศน์เพิ่มเติมรอพัฒนา
โดยนายทองสุขกล่าวเพิ่มเติมว่ากรณีที่ เจ้าของแปลงข้างเคียงลงไม้ผลทางการเกษตรเพียงเพราะต้องการลดภาระภาษีที่ดินซึ่งเดิมที่ดินแปลงนี้มีแผนพัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้า เช่นเดียวกับบริษัทที่มีที่ดินสะสมรวมกันกว่า100ไร่ ต่อจากแปลงของ เจ้าสัวเจริญ ยาวไปจนสุดโรงเรียนสตรีวิทยาปัจจุบันที่ดินบางส่วนพัฒนาเป็นสวนกล้วยหอมและเปิดให้นักลงทุนเช่าที่ดินระยะยาว
แหล่งข่าวจากกลุ่มทีซีซีระบุว่า การมีที่ดินสะสมค่อนข้างมากต้องปรับแผนพัฒนารอจังหวะให้สถานการณ์ดีขึ้นอีกทั้งต้องการ รอรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วง แคลาย –บึงกุ่มพาดผ่าน รวมถึงโครงการทางพิเศษใหม่ (ทางด่วน) เปิดให้บริการ อีกทั้งรอผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ประกาศใช้ในราวปี2567ซึ่งจะสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้สูงขึ้น
ขณะราคาที่ดินติดถนน เกษตร-นวมินทร์ปัจจุบันราคา 3-4แสนบาทต่อตารางวาหากรถไฟฟ้าและทางด่วนมาคาดว่าจะทะลุไปเกือบ2เท่าตัวสำหรับแผนพัฒนา โครงการก่อนหน้านี้ เป็น รูปแบบมิกซ์ยูส มูลค่ากว่าแสนล้านบาทประกอบด้วย โรงแรม ศูนย์การประชุมระดับโลก ห้างสรรพสินค้า และที่อยู่อาศัย
ขณะทำเลทองอย่าง ถนนรัชดาภิเษก ติดสถานีศูนย์วัฒนธรรมรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ดิน บริษัทแหลมทองสหการจำกัดหรือกลุ่มแหลมทอง24ไร่ผู้บุกเบิก การนำที่ดินพัฒนาเชิงพาณิชย์ทำการเกษตรปลูกมะนาว4,000ต้นขณะราคาที่ดินปัจจุบัน พุ่งไปที่1.2-1.4ล้านบาทต่อตารางวา
เช่นเดียวกับที่ดินหัวมุมถนนพระราม9 ของบริษัทเช็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน)หรือCPNซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทแกรนด์คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน)หรือจี-แลนด์ ได้นำที่ดินรอพัฒนา 73ไร่เปิดฟาร์มสวนผักขนาดใหญ่กลางเมืองอีกรายที่สร้างความฮือฮาในปัจจุบัน เพราะสามารถลดผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีที่ดินได้อย่างมากทีเดียว
แหล่งข่าวจากกระทรวงมหาดไทย(มท.) กล่าวว่า การที่เจ้าของที่ดินนำที่ดิน กลางเมือง ใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม ไม่ผิดหลักการของภาษีที่ดิน แม้ท้องถิ่นจะจัดเก็บรายได้ได้น้อยแต่ถือว่า ทุกรายมีความตื่นตัวส่วนภาษีที่ดินอัตราใหม่ปี2565 ต้องยังคงใช้อัตราเดิม(ปี2563-2564)
ไม่สามารถปรับฐานการจัดเก็บตามโครงสร้างจริงได้เพราะสถานการณ์โควิดระบาดเศรษฐกิจซบเซา รัฐบาลจึงจำเป็นต้อง เรียกเก็บรายได้จากเจ้าของที่ดินให้น้อยที่สุดและในปีนี้ ยังลุ้นว่า จะลดภาษี90%ต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือประชาชน แต่ในทางกลับกันผลดีจะตกอยู่ที่แลนด์ลอร์ดใหญ่