"รับเหมากลาง-เล็ก รับอานิสงส์ สัญญาช่วง “ซับคอนแทรค" บิ๊กโปรเจ็กต์รัฐ" นอกจากกลุ่มผู้รับเหมาขนาดใหญ่ที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการชนะประมูลโครงการจากภาครัฐกลุ่มผู้รับเหมาขนาดกลาง-เล็กก็น่าจับตาเนื่องจากรอรับงาน ซับคอนแทรค(Subcontract) หรือสัญญาช่วง จากกลุ่มรับเหมายักษ์ใหญ่
ล่าสุด "ชวลิต ถนอมถิ่น" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ RT คาดว่ามีโอกาสสูงที่จะได้รับงาน Subcontract งานรถไฟทางคู่สายเหนือใหม่ "เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" จากทั้งกลุ่มผู้รับเหมาใหญ่ โดยเฉพาะงานขุดเจาะอุโมงค์หิน ที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถจากบริษัทที่มีประสบการณ์และความชำนาญพิเศษ ทำให้มีผู้รับเหมาจำนวนน้อยรายที่ดำเนินธุรกิจได้แบบ RT ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปรายละเอียดงานและมูลค่ารวมประมาณเดือน กุมภาพันธ์ นี้
ทั้งนี้ มั่นใจว่าศักยภาพของบริษัทสามารถรับงานใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) ประมาณ 6 พันล้านบาท โดยนอกจากงานอุโมงค์รถไฟข้างต้นแล้ว ปัจจุบันมีงานที่เข้าประมูลได้แล้วรอเซ็นสัญญาอีกจำนวน 4 โครงการ มูลค่ารวม 2,026 ล้านบาท ประกอบไปด้วย งานประเภทอุโมงค์ดินอ่อน, งานประเภทอุโมงค์ส่งน้ำ, งานวางท่อเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าลงใต้ดิน และ งานป้องกันความลาดชัน( Slope Protection) ซึ่งบางส่วนเป็นงาน Subcontract
อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนที่จะเข้าประมูลงานเองเพิ่มเติม เช่น งานประเภทอุโมงค์, งานประเภทเขื่อนและระบบชลประทาน และ งานท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน RT ถือเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิศวกรรมโยธาและธรณีเทคนิค ทำให้สามารถเข้ารับงานได้หลากหลาย โดยที่ผ่านมามีพันธมิตรใน 3 ส่วน คือ
ทั้งนี้ มั่นใจว่าศักยภาพของบริษัทสามารถรับงานใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) ประมาณ 6 พันล้านบาท โดยนอกจากงานอุโมงค์รถไฟข้างต้นแล้ว ปัจจุบันมีงานที่เข้าประมูลได้แล้วรอเซ็นสัญญาอีกจำนวน 4 โครงการ มูลค่ารวม 2,026 ล้านบาท ประกอบไปด้วย งานประเภทอุโมงค์ดินอ่อน, งานประเภทอุโมงค์ส่งน้ำ, งานวางท่อเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าลงใต้ดิน และ งานป้องกันความลาดชัน( Slope Protection) ซึ่งบางส่วนเป็นงาน Subcontract
อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนที่จะเข้าประมูลงานเองเพิ่มเติม เช่น งานประเภทอุโมงค์, งานประเภทเขื่อนและระบบชลประทาน และ งานท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน RT ถือเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิศวกรรมโยธาและธรณีเทคนิค ทำให้สามารถเข้ารับงานได้หลากหลาย
โดยที่ผ่านมามีพันธมิตรใน 3 ส่วน คือ
1. ภาครัฐ ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย, กรมชลประทาน, กรุงเทพมหานคร (The Bangkok Metropolitan Administration : BMA), การประปานครหลวง, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการไฟฟ้านครหลวง ฯลฯ
2. ภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัทอิตาเลียนไทยดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือITD, บมจ.ช.การช่าง หรือCK , บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น หรือSTEC, บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการหรือNWR และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด(หจก.)สามประสิทธิ์ ฯลฯ
3. พันธมิตรจากต่างประเทศเช่นเกาหลีใต้เมียนมา กัมพูชา และ สปป.ลาว
ขณะที่ธุรกิจของบริษัทมักไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายภาครัฐ เพราะส่วนใหญ่เป็นงาน ซับคอนแทรค(Subcontract) จากบริษัทใหญ่ ซึ่งมีสัญญาการรับงานและระยะเวลาการก่อสร้างที่ชัดเจน ส่วนสถานการณ์โควิดที่ยังระบาดอยู่ ก็มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้มีการระบาดเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้า
ฟาก "ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์" ประธานกรรมการ บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ CIVIL มองว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยแม้จะอยู่ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 แต่ยังมีสัญญาณเติบโตอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการลงทุนของภาครัฐฯ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, การขยายเมือง และโครงข่ายด้านคมนาคม ปัจจุบันก่อให้เกิดการสร้างงานราว 8 แสนล้านบาท และคาดว่าในปี 65 จะเติบโตอีกกว่า 6 - 7% หรือมีมูลค่างานกว่า 8.5 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ปี 2565 บริษัทฯ ประเมินว่ายังมีโอกาสในการเข้าไปประมูลงานภาครัฐในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนรัฐ(PPP)และ ซับคอนแทรค(Subcontract) โดยเฉพาะงานในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะเริ่มลงมือก่อสร้าง และยังมีนโยบายขยายเมืองที่ต้องควบคู่ไปกับโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ มูลค่า 1 แสน ล้านบาท, รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย มูลค่า 2.6 หมื่นล้านบาท และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราช สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งปัจจุบันปรับเป็นงานภาครัฐ 95% และเอกชน 5%
"นโยบายของรัฐที่ยังคงขยายเมืองเศรษฐกิจพิเศษ เป็นโอกาสที่จะทำให้ภาคก่อสร้างเข้าไปรับงานเหล่านี้ และยังมีโอกาสจากโครงการด้านสาธารณสุขที่คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งการก่อสร้างโรงพยาบาล รวมทั้งศูนย์สุขภาพและระบบดูแลผู้สูงอายุ"
เช่นเดียวกับ "ณรงค์ ทัศนนิพันธ์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีฟโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ SEAFCO ประเมินว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมปี 65 จะฟื้นตัวชัดเจนหลังผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วเมื่อปีก่อน โดยตั้งเป้าประมูลงานเพิ่ม 1,500 ล้านบาท ซึ่งมาจากภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะงานรับเหมาช่วงงานเสาเข็มจากผู้รับเหมาขนาดใหญ่
นอกจากนี้ ปัจจุบันเตรียมเซ็นสัญญางานใหม่ อาทิ งานทางพิเศษ (ทางด่วน) และงานอาคาร อีกราว 300-400 ล้านบาท เพื่อเติม Backlog ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ 1,300 ล้านบาท ทั้งนี้ SEAFCO รับงานอยู่จำนวน 10 โครงการ คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตเครื่องจักรประมาณ 50%
ไม่ว่ากลุ่มยักษ์รับเหมาจะคว้างานมากเท่าใด รับเหมารายกลาง-รายเล็กมักได้อานิสงก์เสมอ!!!