หลังเปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ ช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต นอกจากมีคนใช้บริการมากขึ้นแล้ว ตลอดแนวยังพบว่ามีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นจำนวนมาก
ขณะราคาที่ดินขยับสูงต่อเนื่องหากย้อนไป ช่วงก่อนก่อสร้าง ราคาที่ดินติดถนนพหลโยธิน ช่วงตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าวไปถึงแยกรัชโยธิน ราคาอยู่ที่ 1แสนบาทต่อตารางวา เมื่อมีการก่อสร้าง รถไฟฟ้าราคาขยับ ตารางวาละ5-6แสนบาท
เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ที่ดินทำเลห้าแยกลาดพร้าว วิ่งไปแต่ะที่8-9 แสนบาทต่อตารางวา และขยับมาแตะที่1 ล้านบาท จนถึง 1.5 ล้าน บาทต่อตารางวา เพราะ บริเวณโดยรอบสถานีมีโครงการคอนโดมิเนียมก่อตัวเกิดขึ้นหลายแบรนด์หลายโครงการ
เปิดตัวประชันโฉม ทั้ง บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด AP บมจ.แสนสิริ เมเจอร์ พฤกษา โครงการคอนโดมิเนียมพัฒนา บนที่ดินของมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นอย่างไรก็ดี ที่ดินย่านดังกล่าวราคากระชากแรง
เกิดจากค่ายเอสซีแอสเสทซื้อที่ดิน ในราคาที่สูง บริเวณใกล้สถานีพหลโยธิน เยื้องห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว ส่งผลให้พื้นที่โดยรอบ ขยับตามประกอบกับ มีเซ็นทรัลลาดพร้าวห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ศูนย์กลางการนัดพล ช็อปปิ้งและเชื่อมต่อรถประจำทาง-รถไฟฟ้า ทำให้ที่นี่เป็นทำเลที่น่าจับตา
“ฐานเศรษฐกิจ”ลงพื้นที่สำรวจ โครงการคอนโดมิเนียมพบว่ามีทั้งเปิดขายตลอดแนว ซึ่งล้วนแต่เป็นโครงการสูงอาคารขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายเกาะกลุ่มกันมากที่สุดจะเป็นทำเลห้าแยกลาดพร้าวขณะบริเวณแยกรัชโยธิน
พบว่า มีการทุบตึกแถวเก่า ล้อมรั้วเตรียมพัฒนา ที่มีการบอกขาย9แสนบาทต่อตารางวา นอกจากนี้ยังมีการรื้อโรงค้าไม้เก่าและร้านขายวัสดุก่อสร้างเก่าบริเวณสถานีตำรวจพหลโยธิน รอพัฒนาและประกาศให้เช่า
จากการวิเคราะห์ของ นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ จำกัดบริษัท วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ ประเมินว่า ก่อนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวตอนเหนือช่วงห้าแยกลาดพร้าว – คูคต
เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ในปี 2563 ได้กระตุ้นให้เกิดการลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเส้นทางที่อยู่ในแผนการพัฒนามาหลายปีก่อนหน้านี้แล้ว
ก่อนที่เส้นทางรถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการนั้น มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายบ้าง เพียงแต่อยู่ในบางทำเลเท่านั้น เช่น ห้าแยกลาดพร้าว รัชโยธิน รอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สะพานใหม่ เป็นต้น
พอเริ่มเส้นทางรถไฟฟ้ามีการก่อสร้างแบบเป็นรูปธรรมมีผู้ประกอบการเข่ามาซื้อที่ดินเพื่อเปิดขายโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่รอบวงเวียนหลักสี่ เสนานิคม และเกือบตลอดเส้นทาง
ปี2561 เป็นปีที่มีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่มากที่สุด รวมแล้วเกือบ 7,000 หน่วยกระจายไปในหลายพื้นที่ของแนวเส้นทาง จากนั้นก็ลดลงมาตามภาวะเศรษฐกิจ โดยจำนวนคอนโดมิเนียมสะสมในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 32,186 หน่วย แต่ในทางกลับกัน ได้ขายไปค่อนข้างมากกว่า 90%
เพราะหลายโครงการเปิดขายมาหลายปี และเพิ่งจะสร้างเสร็จในช่วงนี้ โดยเป็นคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในช่วงปี2559 – 2561 มากถึง 54% คอนโดมิเนียมในพื้นที่นี้มีหลากหลายราคา เริ่มตั้งแต่ต่ำกว่า 70,000 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไปถึงมากกว่า 200,000 บาทต่อตารางเมตร
โดยพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าห้าแยกลาดพร้าว รัชโยธิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีราคาขายที่ค่อนข้างสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เพราะศักยภาพของพื้นที่ที่มีการพัฒนามาก่อนหน้านี้แล้ว มีกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อและเช่าชัดเจน จึงมีผลให้ราคาที่ดินค่อนข้างสูงกว่าทำเลหรือพื้นที่อื่นๆ
พื้นที่ตั้งแต่สถานีบางบัวเป็นต้นไปถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุหาที่ดินของภาคเอกชนเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้ยากมาก เนื่องจากมีทั้งหน่วยงานราชการ วัดขนาดใหญ่ สถาบันการศึกษา และค่ายทหาร อีกทั้งยังมีคนอยู่อาศัยในพื้นที่นี้ไม่มากนัก ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์
ไม่ว่าจะเป็นโครงการประเภทใดก็ตาม ข้อจำกัดในการพัฒนาคอ่นข้างสูงตามข้อกำหนดในผังเมืองกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ พื้นที่ตั้งแต่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุขึ้นไปยังไม่สามารถพัฒนาอาคารสูงได้เกิน 45 เมตร
ตามข้อกำหนดเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ สนามบินดอนเมือง ปี2540 โครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่ตั้งแต่พื้นที่รอบสถานีวัดพระศรีมหาธาตุขึ้นไปถึงสถานีคูคตจึงมีความสูงไม่มากโดยทั่วไปประมาณ 15 ชั้น
ช่วง 3 เดือนแรกของปี2565 มีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในพื้นที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวตอนเหนือ (ห้าแยกลาดพร้าว – คูคต) ประมาณ 2,500 หน่วย โดยเป็นคอนโดมิเนียมที่ปเดขายอยู่ในพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าสะพานใหม่ สายหยุดรวมไปถึงสถานีคูคต และมีโครงการที่เปิดขายใหม่ในเดือนเมษายนอีกประมาณ 2,500 หน่วย
แสดงให้เห็นว่า พื้นที่นี้เป็นที่สนใจของผู้ประกอบการ แม้ว่าจะไม่สามารถพัฒนาอาคารสูงได้ก็ตาม แต่ด้วยราคาที่ดินที่ไม่สูงมาก จึงมีผู้ประกอบการเข้ามาซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมราคาไม่แพงรองรับกำลังซื้อส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานคร และปทุมธานี