1 สิงหาคม 2565 – นับตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้เริ่มทำงานอย่างต่อเนื่องภายใต้ 216 นโยบาย (ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก) โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ขึ้นสำหรับทุกคน นโยบายดังกล่าวครอบคลุม 9 ด้าน ได้แก่
ส่องนโยบายผู้ว่ากทม.ต่อภาคอสังหาฯไทย
ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก ให้ความเห็นว่า ด้วยประสบการณ์ของผู้ว่าฯ ในฐานะอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จึงเป็นที่คาดว่านโยบายมีแนวโน้มที่จะส่งผลในทางที่ดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะมาจากมุมมองของผู้ที่มีความรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาเมืองในกรุงเทพฯหลายนโยบายมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายขนส่งสาธารณะ ในขณะที่ลดค่าใช้จ่ายและแก้ไขปัญหาในระดับ "เส้นเลือดฝอย" ไปในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีนโยบายที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่เราเชื่อว่าจะส่งผลอย่างมากต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
นายรัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ หัวหน้าแผนกวิจัยและที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า “นโยบายหนึ่งที่จะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการพัฒนาเมืองหากมีการนำมาบังคับใช้ คือ นโยบายในการแก้ไขการวางผังเมืองและกฎหมายควบคุมอาคารให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ข้อบังคับหลายเรื่องค่อนข้างล้าสมัยแล้วและไม่ได้สอดคล้องกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาด้านการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ
เสนอคืนสตรีทฟู้ดและสร้างศูนย์อาหาร
หลายคนกล่าวว่ากรุงเทพฯ ได้สูญเสียเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์เรื่องร้านอาหารริมทางหรือสตรีทฟู้ดไปแล้ว เมื่อมีข้อกำหนดในการดูแลความสะอาดเรียบร้อยของทางเท้าโดยไม่ได้จัดหาพื้นที่ใหม่ให้พ่อค้าแม่ค้าที่ต้องย้ายออกจากพื้นที่เดิม นโยบายใหม่นี้ไม่เพียงมีเป้าหมายที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อจัดหาพื้นที่สำหรับหาบเร่แผงลอยที่เหมาะสมในเมืองเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการจัดถนนคนเดินในพื้นที่ที่มีผู้คนเดินเท้าหนาแน่นอีกด้วย
กรุงเทพฯ จะฟื้นคืนสตรีทฟู้ดและสร้างศูนย์อาหารในทำเลต่าง ๆ ซึ่งให้ความสะดวกต่อพนักงานในอาคารสำนักงานและผู้อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่ ส่งผลให้ทำเลนั้น ๆ มีความน่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้อสังหาริมทรัพย์โดยรอบและผู้ที่มาเยือน นอกจากนี้ หากจะเพิ่มเติมจากนโยบายของผู้ว่าฯ ชัชชาติ ซีบีอาร์อีเชื่อว่าการควบคุมดูแลเรื่องความสะอาดของพื้นที่และอาหารจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการส่งเสริมและยกระดับอาหารข้างทางสู่มาตรฐานสากล รวมถึงส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของชาวกรุงเทพฯ และผู้ที่มาเยือน
" อัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในกรุงเทพฯ ได้ส่งผลให้บัณฑิตจบใหม่จำนวนมากต้องนำรายได้ส่วนใหญ่ไปจ่ายค่าที่พักและค่าเดินทาง ทำให้มีเงินเหลือสำหรับการออมและการใช้จ่ายอื่น ๆ เพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ได้ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ"
แปลงอาคารเก่า สู่ ที่พักอาศัยชั่วคราว
หนึ่งในนโยบายของผู้ว่าฯ ชัชชาติ คือการสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ (Housing Incubator) ที่มีอายุ 18-25 ปีให้สามารถเช่าอาศัยได้ด้วยค่าเช่าที่ต่ำเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้สามารถประหยัดเงินได้มากขึ้นและตั้งตัวได้ แผนงานที่วางไว้คือการแปลงอาคารเก่าที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์แล้วหรืออาคารที่รอการพัฒนาในย่านใจกลางธุรกิจให้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้จะส่งผลโดยตรงต่อตลาดให้เช่าที่พักอาศัยทั่วกรุงเทพฯ ทำให้การแข่งขันเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีผลต่อราคาค่าเช่าที่พักอาศัยที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาจบใหม่
ยังมีอีกหลายนโยบายของผู้ว่าฯ ที่เราจะต้องรอดูว่าจะมีการดำเนินการตามแผนที่วางไว้หรือไม่ และนโยบายใดบ้างที่จะดำเนินการเป็นอันดับแรก ๆ แต่สิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่ คือ ความชัดเจนมากขึ้นของการจัดการงบประมาณและนโยบายรายเขตที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่รอการแก้ไขทั่วกรุงเทพฯ สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้คือส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน และหวังว่าสโลแกนของผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์จะเป็นไปตามที่ตั้งไว้ว่า ทำงาน ทำงาน ทำงาน