จากเวทีเสวนาพิเศษ ที่เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จัดขึ้นในงาน Sustainability Expo 2022 หัวข้อ “ปรับอนาคตเมือง เปลี่ยนอนาคตเรา” และ “A Place for All – One Bangkok’s Sustainable Public Realm” นายวรวรรต ศรีสอ้าน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้พัฒนาและบริหารโครงการ วัน แบงค็อก กล่าวว่า เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุกโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายของกรุงเทพมหานคร ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ โครงการหนึ่งๆ มีอายุใช้งานอย่างน้อย 30 ปี เพราะฉะนั้นการวางแผนและออกแบบการใช้ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ต้องพิจารณาให้รอบด้าน มองถึงอนาคตของการพัฒนาเมืองและการใช้ชีวิตของผู้คนจริง ๆ
ปัญหาสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองในกรุงเทพฯ คือ พื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวที่มีเพียง 3.5 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน ขณะที่ทางสาธารณะ (Rights-of- way) มีจำกัดเพียง 7% ของพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพฯ เมื่อเทียบกับระดับมาตรฐานที่ 20 – 25% ในขณะที่มหานครนิวยอร์คและโตเกียว ซึ่งมีประชากรหนาแน่นมากแต่ยังมีทางสาธารณะถึง 28 % และ 20% ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสภาพแวดล้อมของพื้นที่สาธารณะในเมืองปัจจุบันที่ไม่เอื้อต่อการเดินเท้ามากนัก ซึ่งหากพื้นที่ในชุมชนเมืองเหล่านี้ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้เอื้อต่อการเดินเท้าอย่างสะดวกสบาย ปลอดภัย อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี จะสามารถดึงดูดให้ผู้คนหันมาสัญจรด้วยการเดินเท้ามากขึ้น นอกจากจะส่งเสริมสุขภาพแล้ว ยังเป็นการลดจำนวนยานพาหนะ และมลภาวะในเมืองได้อีกด้วย
โครงการอสังหาริมทรัพย์แบบมิกซ์ยูส ที่บริหารจัดการโดยเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ไม่ว่าจะเป็น ปาร์คเวนเจอร์ อีโคเพล็กซ์, สามย่านมิตรทาวน์, เอฟวายไอ เซ็นเตอร์, เดอะ ปาร์ค และ วัน แบงค็อก เน้นสร้าง “พื้นที่สาธารณะที่มีคุณค่า” ประกอบด้วยการเพิ่มพื้นที่เปิดโล่ง การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การปรับปรุงทัศนียภาพของทางสาธารณะ และการเพิ่มทางเดินเท้า ซึ่งส่งเสริมการเติบโตทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวเพื่อสาธารณะที่มีคุณภาพใจกลางเมืองท่ามกลางสวนสาธารณะขนาดใหญ่อย่าง สวนลุมพินี และสวนเบญจกิตติ
ยกตัวอย่าง วัน แบงค็อก โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ครบวงจรและใหญ่ที่สุดใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นตาม 3 วิสัยทัศน์หลัก ได้แก่
โครงการ วัน แบงค็อก มีโครงข่ายทางเดินเท้าที่เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมสาธารณะ และเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน อีกทั้งมีทางเข้าออกหลายจุดจากทั้งถนนวิทยุ และถนนพระรามสี่ เพื่อเปิดให้ผู้คนเข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะได้ นอกจากนี้ พื้นที่ส่วนหน้าของโครงการ ตลอดแนวถนนพระรามสี่ และถนนวิทยุ มีความลึกจากด้านหน้าถนนเข้ามา 35-45 เมตร เพื่อสร้างเป็นสวนสาธารณะสีเขียวขนาดใหญ่ (Linear Park) อีกทั้งยังมีต้นไม้ร่มรื่นที่ช่วยกรองฝุ่น ให้ร่มเงา ลดอุณหภูมิ และสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม ที่สำคัญ ยังเป็นพื้นที่ชลอน้ำ ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมภายในโครงการและชุมชนโดยรอบในช่วงฤดูฝนอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับงานศิลปะและวัฒนธรรมอย่างมาก โดยมีการวางแผนและออกแบบให้มีงานศิลปะสาธารณะ และโปรแกรมทางศิลปะต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะทั่วโครงการ ด้วยความมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม การเปิดโอกาสในการใช้งานศิลปะสาธารณะเป็นกระบอกเสียงเพื่อสื่อสารแนวคิดสำคัญที่ศิลปินมีต่อสังคม ด้านวัฒนธรรม การสะท้อนอัตลักษณ์และเรื่องราวของพื้นที่ และด้านเศรษฐกิจ การมีส่วนในการพัฒนาศิลปิน ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และการเป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยว