25 พ.ย.2565 - จากกรณีคดีพิพาท 'คอนโด แอชตัน อโศก' ในการพิจารณาของศาลปกครอง 450/2560 ระหว่าง สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ กับ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ซึ่งเป็นการฟ้องร้องระหว่างสยามสมาคมฯ (ผู้ฟ้อง) กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ (ผู้ถูกฟ้อง) ฐาน ปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคาร โดยไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ขณะ ทางบริษัท อนันดา เอ็มเอ็ฟ เอเชีย อโศก จำกัด (บริษัทลูก บมจ.อนันดา) ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะ “ผู้ร้องสอด”
ทั้งนี้ วานนี้ 24 พ.ย. ศาลปกครองกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษา โดยมีคำตัดสินในลักษณะเดียวกับความเห็นของของตุลาการผู้แถลงคดีก่อนหน้านี้ ว่า ...
"เมื่อปรากฎข้อจริง ว่า โครงการก่อสร้างอาคารแอชตัน - อโศก ไม่เป็นไปตาม ออกตามความในพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในการก่อสร้างอาคารสูง หรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับระยะระหว่างอาคารกับถนน ทางเท้า หรือ ที่สาธารณะ
รวมทั้ง มีหนังสือร้องเรียนถึงปัญหาความเดือดร้อนจากการก่อสร้างโครงการที่ทำให้ตัวอาคารที่ทำการสยามสมาคมฯ รั้วคอนกรีต รวมทั้งเรือนคำเที่ยง ได้รับความเสียหาย ถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.2559
ขณะ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักโยธา กทม. และผู้อำนวยการเขตวัฒนา ละเลยต่อหน้าที่ ที่ต้องออกคำสั่งให้ บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จำกัด ต้องระงับการก่อสร้างหรือรื้อถอนอาคารโครงการดังกล่าว
แต่เนื่องจากปัจจุบันโครงการดังกล่าว ได้มีการโอนขายให้แก่ประชาชนไปแล้วจำนวน 668 ห้อง จากการก่อสร้างห้องพักอาศัยจำนวนทั้งสิ้น 783 ห้อง แล้ว
ศาลจึงพิพากษาให้ หน่วยงานราชการร่วมกับผู้พัฒนาโครงการ ตลอดจนการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟม.) ไปดำเนินการแก้ไข หรือ เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้ง อาคารพิพาท เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 "
อนันดา แจง คำพิพากษา คดี แอชตัน อโศก
ล่าสุด อนันดา ได้ทำหนังสือชี้แจงผ่านสื่อมวลชน โดยเน้นย้ำว่าคดีความยังไม่ถึงที่สุด และ จะเดินหน้าหารือกันเพื่อหาทางออก ใจความสำคัญ ดังนี้ ...
ว่า จากการที่ศาลได้พิจารณาว่า ตามสภาพที่ดินในความเป็นจริง ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งโครงการแอชตัน อโศก มีทางเข้าออก ขนาดความกว้าง 13 เมตร และที่ดินติดถนนสาธารณะ ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไป เชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่น ที่มีเขตทางกว้าง 30 เมตร ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดกฎกระทรวงฉบับที่ 33 ข้อ 2 วรรค 2 และสอดคล้องกับเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงแล้ว ประกอบกับมีผู้อยู่อาศัยในโครงการเป็นจำนวนมาก
โดยศาลจึงเห็นควรให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และ 3 และผู้ร้องสอดที่ 1 ปรึกษาหารือและแก้ไขให้มีทางเข้าออกเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 ข้อ 2 วรรค 2 ด้วยวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมาย ภายใน 180 วันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด "