คำชี้ขาดของศาลปกครองกลางวันที่30 มีนาคม 2566ในคดีที่ดินเขากระโดงที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พร้อมทั้งสั่งกรมที่ดินตั้งคณะกรรมการตามมาตรา61แห่งประมวลกฎหมายที่ดินตรวจสอบเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ออกโดยมิชอบ ทับที่ดินรฟท. 5,083ไร่ภายใน15วันนับจากศาลพิพากษาถึงที่สุด
สิ้นคำสั่งศาลฯประเมินได้ว่ามหากาพย์ ข้อพิพาท นี้ ถึงคราต้องปิดฉากลง เพราะศาลพิเคราะห์ วางกรอบแน่นหนาว่า ที่ผ่านมากรมที่ดินเคยตั้งคณะกรรมการตามมาตรา61 เพิกถอนโฉนดบางแปลง บนที่ดินดังกล่าวแล้วแสดง ว่าที่ดินทั้งผืนต้องเป็นที่รฟท.ไม่จำเป็นต้องรอชี้แนวเขต
อีกทั้ง หลักฐานคำพิพากษา ศาลฏีกาขณะฝั่งของกรมที่ดิน ดูมีแนวโน้ม ปฏิบัติตามคำสั่งศาล สะท้อนจากถ้อยแถลงที่ อธิบดีกรมที่ดินให้สัมภาษณ์หลังฟังคำพิพากษา ว่า ต้องเคารพศาล และมอบผู้ตรวจราชการกรมที่ดิน นั่งเป็นประธาน คณะกรรมการตามมาตรา61 ตรวจสอบเพิกถอนเอกสารสิทธิ์
อย่างไรก็ตามแม้กรมที่ดินสามารถอุทธรณ์ได้ แต่มองว่า ไม่ง่ายที่ศาลปกครองสูงสุดจะแปรเปลี่ยนไปในทางอื่น เช่นเดียวกับ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยที่ฟันธงว่า กรมที่ดินไม่น่ายื่นอุทธรณ์ แต่ เลือกที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลางทันทีเสียมากกว่า
ที่สำคัญศาลปกครองกลางได้ยึด หลักฐานคำพิพากษาตามคำพิพากษาฎีกา 2 ฉบับ และ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ศาลเคยชี้เอาไว้แล้ว รวมถึง หนังสือของกรมทางหลวงขอทำสัญญาเช่าที่ดินกับรฟท. เพื่อก่อสร้างทาง ตัดผ่านบริเวณเขากระโดง บุรีรัมย์ไปประโคนชัย ที่แนบไว้เมื่อครั้งคำพิพาษาศาลฎีกา รวมถึงคำชี้ขาดว่าที่ดินสองแปลงของนักการเมืองดังออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินรฟท.
ย้อนมหากาพย์ ที่ดินเขากระโดง มาจนถึง คำสั่งศาลปกครองกลางการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ 5,083 ไร่ (30มีนาคม 2566 ) เริ่มมาจาก ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวง 8 พฤศจิกายน 2462 ได้ ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี
ให้กรมรถไฟหลวง ตรวจและวางแนวทางรถไฟ ตั้งแต่นครราชสีมา(ข้ามลำน้ำมูลราว ต.ท่าช้าง,อ.พิมาย) ไปยังบุรีรัมย์จนถึง อุบลราชธานี (อ.วารินชำราบ) ให้เสร็จภายใน 2 ปี โดยห้ามเจ้าของที่ดินที่ครอบครองที่ในเขตรถไฟก่อน 8 พฤศจิกายน 2462 ยก หรือซื้อขาย และเปลี่ยนกับผู้ใดผู้หนึ่ง ห้ามสร้างบ้าน ปลูกต้นไม้ หรือทำไร่ ก่อนได้รับอนุญาต
รฟท. มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ เขากระโดง และบ้านตะโก ทำทางรถไฟเพื่อเข้าแหล่งระเบิดและย่อยหิน ระยะทาง 8 กิโลเมตร และ 4 กิโลเมตร แรก มีเจ้าของที่ดิน 18 ราย อีก 4 กิโลเมตร จนถึงแหล่งหินไม่มีเจ้าของ
กระทั้งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2513 มีการพบข้อพิพาทระหว่าง นายชัย ชิดชอบ และราษฎร บุกรุกที่ดิน รฟท. ในพื้นที่เขากระโดง ผลการเจรจา นายชัยยอมรับว่า ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. และทำหนังสือขออาศัย รฟท. ยินยอม ต่อมา วันที่ 26 ตุลาคม 2515 ได้มีการนำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดเลขที่ 3466 และขายให้ ละออง ชิดชอบ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2535 ก่อนจะมีการนำไปขายต่อให้ บ.ศิลาชัย บุรีรัมย์
ปัจจุบันเป็นขุมทรัพย์สำคัญของนักการเมืองดัง และขยายพื้นที่ครอบครอง เพิ่มอีก12แปลง ตามที่พรรคประชาชาติ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองชื่อดัง ตรวจพบ มหากาพย์ที่ดินเขากระโดงอาจจะจบแต่ การยื่นฟ้องระหว่าง นักการเมืองดัง กับกรมที่ดิน น่าจะยังไม่จบ!!!