อุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งครอบคลุม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนโครง สร้างพื้นฐานรัฐ ภาคท่องเที่ยว ฟันเฟืองสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และตลอดระยะที่ผ่านมา ต่างได้รับผลกระทบ ครั้งรุนแรงจากสถานการณ์โควิด เศรษฐกิจชบเซา ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ราคานํ้ามัน ค่าขนส่ง อปรับตัวสูง และปัจจุบันยังยืนอยู่บนความท้าท้าย จากปัจจัยภายในและภายนอก ล่าสุดยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางการเมืองรวมถึงนโยบายที่ อาจซํ้าเติมธุรกิจ โดยเฉพาะค่าแรง 450 บาท หากรัฐบาลก้าวไกลนำมาใช้ประเมินว่า อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้งระบบจะได้รับผลกระทบตามมา
หากย้อนไปก่อนหน้านี้ กระทรวงแรงงาน ได้ปรับค่าแรงขึ้นครั้งล่าสุด ( วันที่ 1 ต.ค. 2565) อยู่ที่ 328-354 บาท โดยเฉลี่ยปรับขึ้นมา 5.02% จากการปรับขึ้นค่าแรงในรอบก่อน (ปี 2563 ) ที่มีอัตราค่าแรงขั้นตํ่าอยู่ที่ 313-336 บาท ซึ่งปัจจุบันมองว่าเป็นต้นทุนที่สูงอยู่แล้ว และประกอบกับแรงงานขาดแคลนหลังจากเกิดสถานการณ์โควิด แต่โครงการต้องแล้วเสร็จทันเวลา ทำให้ผู้ประกอบการต้องบวกเพิ่มค่าแรงเป็นเท่าตัวหรือจ้างแรงงานเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นกว่าปกติเพื่อเป็นแรงจูงใจ
นายโอฬาร จันทร์ภู่ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน สะท้อนว่า หากรัฐบาลใหม่นำนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นตํ่าเป็น450บาททันที่มองว่าจะสร้างผลกระทบให้กับอุตสาหกรรมก่อสร้างทั้งระบบ เพราะปัจจุบันได้รับผลกระทบจากต้นทุนวันสดุก่อสร้าง แรงงานขาด รวมถึงต้นทุนค่าขนส่ง ราคานํ้ามัน ที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ต้องปรับราคาบ้านสร้างใหม่ต้องปรับราคาขายเพิ่มขึ้น
สอดคล้องกับนายบดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ให้ความเห็นว่าหากรัฐบาลใหม่นำนโยบายปรับค่าแรงขั้นตํ่า 450 บาทมาใช้ อาจมีผลกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะโครงการก่อสร้าง และสัญญารับเหมาใหม่อย่างไรก็ตาม ยังต้องประเมินท่าทีว่า นโยบายดังกล่าวจะถูกผลักดันนำมาใช้จริงเป็นไปได้แค่ไหน
ทั้งนี้ตัวแปรอยู่ที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นหลัก เช่น ค่าแรงขึ้นมา 5% แต่ผู้รับเหมาที่อยากปิดงาน ก็อาจจะแบกไว้เอง 3% และผลักให้ดีเวลลอปเปอร์ 2% เช่นเดียวกันต้นทุนที่งอกเพิ่มในส่วนดีเวลลอปเปอร์ ส่วนใหญ่บริษัทต่างๆ อาจจะยอมแบกไว้เอง เพราะขณะนี้ กำลังซื้อ ยังน่าเป็นห่วง แต่อีกส่วนก็คงต้องจำใจผลักต่อให้ผู้บริโภค ในรูปแบบของราคาขายที่สูงขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ดี บริษัทจะพยายามควบคุมระยะเวลาก่อสร้างให้สั้นลง และบริหารต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างร่วมด้วย เพื่อให้ไม่กระทบต่อผู้บริโภคมากนัก หากนโยบายดังกล่าวมีการผลักดันใช้จริง
เช่นเดียวกับ แหล่งข่าวจากวงการรับเหมา เปิดเผยว่า กรณีรัฐบาลก้าวไกลมีนโยบายขึ้นค่าแรง 450 บาท และหากนำมาใช้ทันทีนั้น มองว่าเรื่องนี้ควรวางแผนเป็นกิจจะ ลักษณะเพราะต้องพิจารณาร่วมกับคณะกรรมการค่าแรง โดยมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนด้วย
“ไม่อยากให้ตัดสินใจผลีผลาม เพราะไม่อย่างนั้นจะเป็นผลระยะยาวในเชิงผู้ประกอบการที่ทำงานอยู่และในเชิงการลงทุน ที่มีนักลงทุนเข้ามาในประเทศ ส่วนค่าแรงที่เหมาะสมควรอยู่ที่เท่าไรนั้น เรื่องนี้ตอบยาก เพราะค่าแรงในปัจจุบันที่เราจ่ายบางส่วนถือว่าเกินค่าแรงขั้นตํ่าอยู่แล้ว ทั้งนี้ในการที่เราจะปรับอะไรก็ตาม ควรพิจารณาให้ดี ควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยมีการหารือร่วมกันให้มากขึ้น”
ขณะกรณีการลงนาม MOU จัดตั้งรัฐบาลร่วมกันทั้ง 8 พรรคจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไร ทางบริษัทมองว่าการลงนามในครั้งนี้เป็นเพียงหลักการ ซึ่งยังไม่ได้มีการเปิดเผยถึงรายละเอียด แต่ยังมั่นใจและเชื่อว่าจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เร็วขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจและสังคมเกิดการขับเคลื่อนและมีทางออกมากขึ้นในระยะยาว
“หากดูจากภาพรวมของตลาดหุ้นยังพบว่า นักลงทุนยังไม่ค่อยมีความมั่นใจ เนื่องจากพรรคการเมืองต่างๆยังมีความไม่ลงตัว อีกทั้งภาพยังไม่ชัดเจน ซึ่งอาจจะมีการรื้อระบบบางอย่าง ทำให้เกิดความผันผวนได้ ทั้งนี้คงต้องรอดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร”
ไม่ต่างจาก นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย สะท้อนว่าหากรัฐบาลใหม่ นำนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นตํ่า 450บาท จะส่งผลกระทบทันทีต้องต้นทุน ภาคบริการ ซึ่งมองว่าผู้ประกอบการยังไม่พร้อม โดยเฉพาะโรงแรมในกลุ่มเอสเอ็มอี
ข่าวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 20 ฉบับที่3891 วันที่28-31พฤษภาคม 2566