ประเด็นร้อน "มหากาพย์ฮุบบ้าน" เป็นคดีที่เพื่อนบ้านยึดบ้านร้างที่เจ้าของซื้อทิ้งไว้ โดยอ้างสิทธิ "ครอบครองปรปักษ์" ย่านรามอินทรา 58 เป็นประเด็นต่อเนื่องตั้งเเต่ปลายปี 2566 เเละกลับมาเป็นกระเเสอีกครั้งแม้ศาลจะยังไม่ตัดสินคดีนี้ แต่เพื่อนบ้านกลับมายึดบ้านรอบที่ 2 แถมฟ้องครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์ ถือเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ "อสังหาริมทรัพย์" ที่ทำให้เกิดข้อพิพาทอยู่เสมอ "ฐานเศรษฐกิจ" จึงขอสรุปข้อกฎหมายที่ว่าด้วยบ้านและที่ดินเพื่อจะไม่เป็นประโยชน์ "การครอบครองปกปักษ์คืออะไร" มีหลักเกณฑ์อย่างไร ไปทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการครอบครองลักษณะนี้กัน
หลักเกณฑ์การครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์เป็นหลักกฎหมายที่มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน ด้วยเจตนาจะทำให้การซื้อขายที่ไม่ถูกต้อง แต่เมื่อผู้ซื้อมีการครอบครองทรัพย์นั้น และปฏิบัติครบหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้วจะได้กรรมสิทธิไปโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีความบกพร่องเรื่องแบบพิธีในการซื้อขายก็ตาม
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การครอบครองปรปักษ์กลายเป็นกฎหมายส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ปล่อยให้รกร้าง ไม่อย่างนั้นผู้เข้าใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์จะได้กรรมสิทธิ์ไป
โดยสรุป ก็คือ การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิโดยการครอบครองซึ่งมีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ (เป็นสินทรัพย์ที่ไม่ติดอยู่กับที่ สามารถนำติดตัวไปไหนมาไหนได้)
หลักเกณฑ์การครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382
รู้ก่อนโดนฮุบบ้าน-ที่ดิน "การครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์"
ที่มาข้อมูล