การเร่งรัดลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี นอกจากก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน)เชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)แล้ว
ยังมีแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ของรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน 9สถานี โดยเฉพาะ 2ทำเลศักยภาพ ได้แก่สถานีฉะเชิงเทรา และสถานีพัทยา สร้างความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจอย่างมากให้กับพื้นที่
ที่ นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีชี วางแนวทางการพัฒนาและจะประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนจูงใจภาคเอกชน
ทั้งนี้สถานีจะเชิงเทรามี พื้นที่ 321 ไร่ มีแนวคิดการ พัฒนารวม 9 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 18,980 ล้านบาท อาทิ ระยะเร่งด่วน โครงการศูนย์สนับสนุนการเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง ระยะสั้น 5 ปี
โครงการศูนย์ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ร้านค้าชุมชน (OTOP) โครงการที่อยู่อาศัยขั้นดี อาคารสำนักงาน(home office) ระยะยาว 10 ปีโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โรงแรมย่านการค้า เป็นต้น
ขณะสถานีพัทยา พื้นที่ 280 ไร่ มีแนวคิดพัฒนารวม 7 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 46,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ระยะสั้น 1-5 ปีโครงการศูนย์ขนส่งต่อเนื่อง (ITF) รูปแบบ มิกซ์ยูส คอมเพล็กซ์ ระยะยาว 6-10 ปี โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยย่านพาณิชยกรรมใหม่ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า เป็นต้น
มองว่าจะมีเอกชนให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นพื้นที่รอบสถานีและเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่อีอีซีอีกทั้งยังได้รับสิทธิพิเศษในการส่งเสริมการลงทุนอีกด้วย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้เป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่ใครเป็นเจ้าภาพ ล่าสุด สกพอ. วางแผนดำเนินการเอง
โดยรวบรวมเจ้าของที่ดินมาร่วมโครงการ และดึงภาคเอกชนมาเป็นผู้ลงทุน ซึ่งการตอบรับค่อนข้างดี เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมา สกพอ.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นแนวทางการพัฒนา TOD
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนในพื้นที่ และชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง โดยกว่า 80% สนใจเข้าร่วมโครงการอย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติเดินหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน และลงมือก่อนสร้าง
คาดว่าจะส่งผลดีต่อราคาที่ดินโดยรอบโดยเฉพาะ รอบTOD สถานี ฉะเชิงเทรา และสถานีพัทยา ราคาที่ดินจะขยับสูงขึ้น 20-30% และหาก รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เกิดขึ้น และให้บริการราคาที่ดินจะขยับขึ้นอีกเป็น 100%
ส่งผลให้ ประชาชาเจ้าของที่ดิน ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นที่นา จะได้ประโยชน์ พร้อมที่จะนำที่ดินเข้าร่วมพัฒนา โดยไม่ต้องนำที่ดินขายต่อให้กับนายทุน
ส่วนขั้นตอนดำเนินงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเสนอ คณะกรรมการ กพอ. เพื่อเห็นชอบ (ร่าง) แผนผังการใช้ประโยชนที่ดิน บริเวณรอบสถานีเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ดังกล่าว และคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี ตามขั้นตอนต่อไป