"แสนสิริ" จุดพลุ ขานรับนโยบายรัฐบาล ขยายอายุ เกษียณ จาก 60 เป็น 65 ปี แบบสมัครใจ

20 พ.ย. 2567 | 08:12 น.
อัปเดตล่าสุด :20 พ.ย. 2567 | 09:45 น.

"แสนสิริ" จุดพลุ  ขานรับนโยบายรัฐ  เตรียมพร้อมสู่ความยั่งยืน นำร่องนโยบายใหม่ “ขยายอายุเกษียณ จาก 60 ปี เป็น 65 ปีแบบสมัครใจ” ตอกย้ำการดูแลพนักงานที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญขององค์กรในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง

 

บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)หรือSIRI  เตรียมพร้อมสู่ความยั่งยืนและเคียงข้างพนักงานในทุกการเปลี่ยนแปลงนำร่องนโยบายใหม่ “ขยายอายุเกษียณ จาก 60 ปี เป็น 65 ปี แบบสมัครใจ”นับเป็นองค์กรแรกในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่เดินหน้าส่งเสริมและเปิดโอกาสการเติบโตที่มั่นคงให้กับพนักงาน

แสนสิริจุดพลุ ขยายอายุการทำงานพนักงานแบบสมัครใจ

ที่ยังสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตอกย้ำการดูแลพนักงานที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญขององค์กรในทุกมิติอย่างต่อเนื่องและพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างในทุกการเปลี่ยนแปลง มุ่งสู่การเป็น ‘บ้านที่ดีที่สุด’ที่จะดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคนอย่างจริงจัง

 

 

 

นอกจากนี้ยังสอดรับกับสภาพสังคมสูงวัย และตลาดแรงงานที่มีแน้วโน้มขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะซึ่งคาดว่าการขยายอายุเกษียณจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยได้และที่สำคัญยังสอดคล้องกับการผลักดันของรัฐบาล

พนักงานของแสนสิริ

ในการเพิ่มจำนวนคนงานสูงอายุ เพื่อรักษาแรงงานให้เพียงพอท่ามกลางจำนวนประชากรที่ลดลง รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาของประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่โครงสร้างประชากรใหม่

ด้วยอัตราผู้สูงวัยในประเทศไทยสูงถึง 20% จากจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดการณ์ว่าประเทศไทยมีแนวโน้มจะขยับเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super Aged Society) โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ภายในปี 2576 โดยแนวโน้มนี้กำลังเป็น

ประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญเพราะจะนำมาซึ่งความท้าทายและผลกระทบในหลายมิติให้กับประเทศ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สวัสดิการด้านสุขภาพ และปัญหาสังคม ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเริ่มปรับอายุเกษียณ อาทิ ฝรั่งเศสสหราชอาณาจักร นอร์เวย์ และเอเชีย อย่างญี่ปุ่น สิงคโปร์ และล่าสุดคือจีน

นโยบาย “ขยายอายุเกษียณ จากอายุ 60 ปี เป็น 65 ปี แบบสมัครใจ” ของแสนสิริ ถือเป็นการเปิดโอกาสการเติบโตที่มั่นคงและสนับสนุนพนักงานที่ยังสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่ เพื่อสร้างความมั่นคงในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไปอีกระดับซึ่งนโยบายดังกล่าว นับเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันของพนักงานต่างเจนเนอเรชั่น (Generation)

ที่สามารถยกระดับศักยภาพและทักษะของพนักงานในทุกช่วงวัยผ่านการเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกันตอกย้ำการเปิดกว้างทางความคิดและความหลากหลายทางเจนเนอเรชั่นภายในองค์กรได้เป็นอย่างดีและยังสามารถสร้างความยั่งยืนเพื่อร่วมรับมือกับประเทศที่กำลังเข้าสู่โครงสร้างประชากรใหม่พร้อมขับเคลื่อนองค์กร

เพื่อความเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ และตอนนี้แสนสิริพร้อมแล้วที่จะก้าวข้ามทุกความท้าทาย เพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับพนักงาน องค์กรและสังคมไปพร้อมๆกัน ตลอดเวลากว่า 40 ปี แสนสิริ ให้ความสำคัญในการดูแลพนักงาน อันเป็นภาคส่วนสำคัญของ 4 เสาสังคม(ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้นและสังคม) เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับพนักงานในทุกมิติ

ไม่ว่าจะเป็น การนำเสนอเงินเดือนและสวัสดิการพื้นฐานที่แข่งขันได้ รวมถึงสวัสดิการพิเศษ ที่เหมาะสมกับพนักงานในแต่ละกลุ่ม อาทิ ร่วมส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้กับบุตรพนักงานและช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้กับผู้ปกครอง ที่มีบุตรตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นปริญญาตรี และตั้งงบประมาณไว้สูงสุดปีละ 10 ล้านบาท

รวมถึงมีโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับพนักงานผ่านเงินกู้ไม่มีดอกเบี้ยเพื่อให้พนักงานได้หลุดพ้นจากการเป็นหนี้นอกระบบ สุดท้ายนี้ แสนสิริ ยังคงเดินหน้าสร้างสรรค์สิ่งที่ดีที่สุดให้กับพนักงานที่เป็น “คนสำคัญที่สุด”เพื่อเป็นต้นแบบองค์กรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตอย่างแท้จริง

โดยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ระบุว่าภาวะสังคมสูงวัยนั้นไม่ใช่เพียงแค่การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยเพียงเท่านั้นแต่เป็นการที่ประชากรวัยทำงานของสังคมมีจำนวนลดลงและสำหรับประเทศไทยนั้นผ่านช่วงเวลาที่มีประชากรวัยทำงานในจุดพีคไปแล้วและกำลังอยู่ในสภาวะที่ลดลงในทุกๆ ปี

นั่นหมายความว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะไม่สามารถเร่งตัวขึ้นได้หากไม่มีการลงทุนในการสร้าง Productivityของเครื่องจักรเศรษฐกิจใหม่ การที่ประชากรวัยทำงานลดลง ประชากรวัยเกษียณเพิ่มขึ้นนั่นหมายถึงประชากรที่ทำงานเสียภาษีมีจำนวนลดลง ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product:GDP) ลดลงด้วยเช่นกัน นอกเหนือไปจากการเก็บรายได้ที่น้อยลงของประเทศยังมีประเด็นของรายจ่ายที่มากขึ้นของประชาชนและรัฐบาล จากการที่ 74%ของสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรไทยนั้นมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs)

ซึ่งด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่พัฒนาทำให้ประชากรมีอายุขัยยาวนานขึ้น แต่ไม่สามารถที่จะมีผลิตภาพในการทำงาน (Productivity) ในการทำงานได้เท่าคนสุขภาพทั่วไป ดังนั้นโจทย์ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกในปัจจุบันคือการทำให้ประชากรที่สูงอายุสามารถยืดระยะเวลาที่อยู่ในตลาดแรงงานและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากการมีสุขภาพที่ดี