การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ -ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กำลังเริ่มต้นขึ้น และจะเชื่อม ต่อรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม -มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่จะเปิดใช้ในส่วนตะวันออกก่อน ต้นปี2570 รวมถึงเส้นทางสายอื่นๆในอนาคต อย่างไรก็ตาม ทำเลในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก มีโอกาสเติบโตสูงและเปิดโอกาสการพัฒนาได้เพิ่มขึ้นรองรับการเปิดให้บริการเดินรถ
ขณะเดียวกันหากรถไฟฟ้าสายสีส้ม จัดเก็บค่าโดยสาร20บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม เริ่มต้นทุกสีทุกสายเดือนกันยายน2568 ประเมินว่า จะเป็นแม่เหล็กดึง คนซื้อคอนโดมิเนียมเพิ่มมากขึ้น ยังไม่รวมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ กรณี เพิ่มสัดส่วนต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดเกิน49% ในอนาคตและมีผลต่อมูลค่าที่ดินเพิ่มสูงขึ้น
จากการวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของกรมธนารักษ์ ทั้งแนวโน้มราคาที่ดินที่คาดว่าว่าจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้รูปแบบการพัฒนาโครงการที่ อยู่อาศัยในทำเล รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก และทำเลใกล้เคียงในอนาคตเปลี่ยนแปลงไป
อย่างทำเลกรุงเทพฯชั้นนอก ฝั่งตะวันออกออกเฉียงเหนือ (ได้แก่ คันนายาว มีนบุรี คลองสามวา และหนองจอก) ที่ในปี 2566 (2023) หน่วยที่อยู่อาศัยแนวราบเปิดขาย ใหม่ส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยวคิดเป็นสัดส่วน 47% ของหน่วยที่อยู่อาศัยแนวราบเปิดขายใหม่โดยรวมในทำเลนี้ในอนาคต
อาจมีสัดส่วนการพัฒนาโครงการบ้านแฝดมากขึ้น อีกทั้ง หน่วยบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดเปิดขายใหม่ระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 33% ของหน่วยบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดเปิดขายใหม่โดยรวมในทำเลนี้ในอนาคตอาจมีสัดส่วน การพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดระดับราคามากกว่า 5 ล้านบาทมากขึ้น
สำหรับในส่วนของการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในทำเลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกในปี 2566 ทั้งหมด100% เป็นการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ก็อาจมีสัดส่วนการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมระดับราคามากกว่า 3 ล้านบาท เพิ่มเติมในอนาคต ไปตามแรงกดดันด้านราคาที่ดิน
การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ในทำเลรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก และทำเลใกล้เคียงยังต้อง เป็นไปอย่างระมัดระวัง โดยต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบด้าน รวมถึงต้องให้ความส าคัญกับ ความยืดหยุ่นในการปรับกลยุทธ์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
โดยเฉพาะการพัฒนา โครงการระดับราคาปานกลางลงมา ที่ยังต้องพิจารณาหน่วยที่อยู่อาศัยเหลือขายสะสมที่ยังอยู่ในระดับสูง ท่ามกลางแนวโน้ม การฟื้นตัวช้าของกำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่าง และต้นทุนการพัฒนาโครงการที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นไปตาม ราคาที่ดิน หรือสำหรับในกรณีที่ผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรง รวมถึงเพื่อรักษารายได้ และอัตรากำไร ด้วยการหันไปพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลาง-บนในทำเลนี้ ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณา การแข่งขันกับโครงการระดับราคาปานกลาง-บนในทำเลอื่น ๆ
ซึ่งยังมีตัวเลือกตอบโจทย์ผู้ที่มีกำลังซื้ออยู่มากประกอบกันอีกด้วย ในระยะข้างหน้า ยังต้องจับตาความเป็นไปได้ของปัจจัยหนุนอื่นๆ ทั้งมาตรการการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสายซึ่งครอบคลุมรถไฟฟ้าสายสีส้มด้วย จะช่วยกระตุ้นการใช้บริการ และจูงใจให้ซื้อที่อยู่อาศัย ในทำเลนี้ ได้ รวมถึงมาตรการขยายเพดานการซื้อคอนโดมิเนียมของชาวต่างชาติให้ได้มากกว่า 49% ที่จะหนุนให้การซื้อคอนโดมิเนียม จากชาวต่างชาติในทำเลนี้มีความคึกคัก และเป็นไปอย่างถูกกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะจากชาวจีน ที่นิยมซื้อคอนโดมิเนียมใน เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกอยู่แล้ว
อีกทั้ง ยังต้องติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการก่อสร้าง และการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกซึ่งจะหนุนให้มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกมากขึ้นตามไปด้วย จากการเชื่อมต่อการเดินทางไปยัง สถานที่สำคัญ ได้ครอบคลุมมากขึ้น
โดย BEM คาดการณ์ว่า ภายหลังจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก และส่วนตะวันตกตลอดเส้นทาง ตามแผนในปี 2573 (2030) จะมีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 400,000 คน-เที่ยว/วัน รวมถึง ยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ) และสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ที่จะมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออกซึ่งจะยิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางมากขึ้นในอนาคต