คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามที่มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ โดยให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจของประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากที่ผ่านมาบ้าง แม้ว่าจะยังไม่มากนักก็ตาม ซึ่งการเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็มีเสียงคัดค้านออกมาบ้าง เพราะก่อนหน้านี้มีหลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการลดดอกเบี้ยลง
โดยเฉพาะในภาคธุรกิจต่างๆ รวมไปถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย เพื่อที่จะได้ลดแรงกดดันต่อการขอสินเชื่อธนาคารและช่วยให้ธนาคาร ซึ่งการประชุมกนง.ครั้งที่แล้วก็มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 1 ครั้ง
เพื่อเป็นการลดแรงกดดันจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะจากฝ่ายการเมือง แต่ก็อาจจะยังไม่มากพอจึงยังมีเสียงเรียกร้องให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก แต่การประชุมครั้งนี้กนง.เลือกที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ และต้องรอดูปีพ.ศ.2568 ว่าจะลดดอกเบี้ยลงหรือไม่
ต่อเรื่อง นี้ นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ “พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ” ที่ปรึกษาการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่าการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ของประเทศไทยไม่ได้เป็นการสวนทางหรือทำแตกต่างจากหลายประเทศ เพราะบางประเทศก็มีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้เช่นกัน
เช่น ญี่ปุ่นที่มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.25% และอินโดนีเซียที่มีการประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 6% ซึ่งมีการประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงเวลาใกล้เคียงกับประเทศไทย เพราะยังกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ค่อนข้างมีความเกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกามาก อาจจะมีประเทศใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลกอย่างสหรัฐอเมริกาที่ลดดอกเบี้ยลง
โดยล่าสุดทางที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐประกาศลดดอกเบี้ยลง 0.25% โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงมาสูที่ 4.25% - 4.50% ซึ่งการลดครั้งนี้ก็เป็นไปตามที่มีการคาดการรณ์ไว้เช่นกัน และเป็นการลดลงครั้งที่ 3 ต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดลงอีก 2 ครั้งในปีพ.ศ.2568 ซึ่งหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยก็ลดดอกเบี้ยไปแล้วเช่นกันในช่วงไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ตามที่สหรัฐอเมริกาลดดอกเบี้ยลงไปก่อนหน้านี้
การที่กนง.มีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25% ต่อปี เพราะยังมีความกังวลในเรื่องของเศรษฐกิจในปีพ.ศ.2568 ที่มีการคาดการณ์ว่าอาจจะยังไม่ดีเมื่อเทียบกับปีพ.ศ.2567 และอาจจะต้องการมีช่องว่างหรือจุดที่สามารถขยับในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยได้ในปีหน้า
การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนโยบายตอนนี้ก็อาจจะไม่มีผลอะไรมากนักสำหรับปีนี้ โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะเห็นผลชัดเจนที่สุดทั้งในกลุ่มของผู้ประกอบการที่ต้นทุนในการพัฒนาโครงการส่วนหนึ่งมาจากสินเชื่อธนาคารซึ่งดอกเบี้ยยิ่งต่ำยิ่งดีอยู่แล้ว รวมไปถึงในกลุ่มของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่
อย่างไรก็ตามการได้รับสินเชื่อธนาคารในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นผลดีแน่นอน และอาจจะช่วยให้การพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินมีความผ่อนคลายกว่าปัจจุบัน ซึ่งความเข้มงวดในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยปัจจัยหลักที่มีผลต่อการซื้อที่อยู่อาศัยมากกว่าเรื่องของดอกเบี้ย