วันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2565) เวลา 13.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง วัดศรีอุทุมพร อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นเสด็จเข้าพลับพลาพิธี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธนวราชบพิตร ทรงคม ประทับพระราชอาสน์ ทรงศีล
โอกาสนี้ นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ กราบบังคมทูลรายงาน จากนั้นเสด็จออกจากพลับพลาพีธี เสด็จ ฯ ไปยังแท่นที่ประดิษฐานช่อฟ้า ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม ทรงปิดทอง ทรงผูกผ้าสีชมพู แล้วทรงคล้องพวงมาลัย ทรงถือสายสูต จากนั้นเสด็จเข้าอุโบสถ ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการท้ายที่นั่งบูขาพระประธานอุโบสถ ทอดพระเนตรประติมากรรมปูนปั้นฝาผนังอุโบสถ เสด็จออกจากอุโบสถเข้าพลับพลาพิธีทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก นายจิตตเกษมณ์ นีโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครสวรรค์ กราบบังคมทูลเปิกผู้มีอุปการคุณ เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก (จำนวน 25 ราย) เจ้าอาวาสวัดศรีอุทุมพร ถวายของที่ระลึก
เสด็จออกจากพลับพลาพีธี ไปยังพระมณฑป-หอไตร ทรงปลูกต้นจำปีสิรินธร (จำนวน 1 ต้น) ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการท้ายที่นั่งบูชาพระประธานพระมณฑป–หอไตร ทรงวางพวงมาลัยสักการะสรีระสังขารหลวงพ่อจ้อย (จนทสุวณโณ) จากนั้นเสด็จ ๆ ไปยังหอสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับผู้บริหารจังหวัดนครสรรค์ และคณะกรรมการวัด ฯ ทรงลงพระนามาภิไฮยในแผ่นศิลา เวลาประมาณ 14.30 น. ทรงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปยังภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิดิ์ พระบรมราชินีนาถ เลขที่ 57/12 ถนนโกสีย์ใต้ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
วัดศรีอุทุมพร ตั้งอยู่เลขที่ 89 หมู่ 9 บ้านวังเดื่อ ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4 มีที่ดินในการตั้งวัดเนื้อที่จำนวน 16 ไร่ ๒ งาน 93 ตารางวา พื้นที่ที่ตั้งวัดนั้นเป็นที่ราบลุ่ม สภาพแวดล้อมเป็นที่นาและมีหมู่บ้านล้อมรอบ วัดศรีอุทุมพร สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2485 โดยมีพระครูจ้อย จนฺทสุวณฺโณ.ดำเนินการและปกครองวัดมาตั้งแต่แรกเริ่มสร้างวัด ชาวบ้านมักจะเรียกว่า “ วัดวังเดื่อ ” ตามชื่อบ้านมาแต่เดิม เจ้าอาวาสมีนามว่า “ พระครูจ้อย จนฺทสุวณฺโณ” ได้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2485 จนถึง 2550 แล้วท่านก็ได้จากไปอย่างสงบในวันที่ 16 เมษายน 2550 สิริอายุได้ 94 ปี 8 วัน และทางศิษยานุศิษย์นำโดยพระใบฎีกาสมศักดิ์ รองเจ้าอาวาสในขณะนั้นได้จัดงานสวดอภิธรรมให้แก่ท่านอย่างสมเกียรติ ต่อมาปรากฏว่า"สังขาลของท่านไม่เน่าเปื่อย" ปัจจุบันทางวัดได้เก็บสรีระสังขารของหลวงพ่อจ้อย ไว้ในมณฑป สามารถมาสักการะกราบไหว้ได้ นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่ความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ด้วยงานปูนเปือยผสมเครื่องเบญจรงค์และกระเบื้อง มีความงดงามอ่อนช้อย สีสรรสวยงาม ทั้ง มณฑป อุโบสถลอยฟ้าเสาร้อยต้น ศาลาทรงไทย เป็นต้น.
ที่มา: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครสวรรค์