เป็นที่ทราบกันดีว่า กลไกการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) เป็นมาตรการของสหภาพยุโรป ในระยะแรก เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 จะเป็นระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเป็นเพียงช่วงทดลองเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ปรับตัว รวมถึง EU ด้วยสำหรับใช้ช่วงระยะเปลี่ยนผ่านนี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงมาตรการต่อไป
โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือผู้นำเข้าสินค้าที่ต้องรายงานปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่ม ในระยะแรก มีจำนวน 6 กลุ่ม ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ พลังงานไฟฟ้า ปุ๋ย อลูมิเนียม และเคมีภัณฑ์ (ไฮโดรเจน) โดยที่ยังไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมคาร์บอน หรือ หรือ CBAM Certificates
ดังนั้น ภายใต้มาตรการ CBAM ผู้ประกอบการและผู้นำเข้าสินค้าจากนอกอาณาเขต EU จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของการนำเข้าสินค้า ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ก่อนการนำเข้าสินค้าข้ามพรมแดน EU ผู้ประกอบการโรงงานที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศนอกอาณาเขต EU จะต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการ EU เพื่อขอลงทะเบียนในระบบ CBAM (CBAM Registry) จากนั้นคณะกรรมาธิการจะนำข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการและโรงงานไปใส่ในระบบลงทะเบียนและแจ้งให้ผู้ประกอบการทราบ โดยบัญชีของผู้ประกอบการจะมีอายุการใช้งาน 5 ปี นับจากวันที่ได้รับแจ้ง
2. เมื่อได้รับบัญชีในระบบลงทะเบียน CBAM แล้ว ผู้ประกอบการจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าสินค้า หรือแต่งตั้งบุคคลที่จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าในเขตศุลกากรของ EU ต่อผู้มีอำนาจตรวจสอบในประเทศที่ประสงค์จะนำเข้าสินค้านั้น ๆ ผ่านทางระบบลงทะเบียน ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ในกรณีที่ไม่สามารถหาคนมาทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าได้ ผู้ประกอบการอาจแต่งตั้งตัวแทนออกของที่ได้ลงทะเบียนกับกรมศุลกากรเพื่อทำหน้าที่แทนผู้นำเข้าสินค้า หรือที่เรียกว่า Indirect Customs Representative
3. เมื่อข้อมูลข้างต้นได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการ EU และผู้มีอำนาจตรวจสอบของประเทศที่นำเข้าสินค้าและประเทศอื่น ๆ แล้ว ผู้นำเข้าสินค้าจะได้รับสถานะเป็นผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาต หรือที่เรียกว่า Authorized CBAM Declarant (สำหรับในระยะเปลี่ยนผ่าน เรียกว่า Reporting Declarant) และได้รับเลขที่บัญชี CBAM ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงระบบลงทะเบียนได้
ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะที่มีการส่งออกใน 6 กลุ่มสินค้าเป้าหมายไปยังสหภาพยุโรป ต้องทำความเข้าใจ เตรียมความพร้อม และดำเนินการ ดังนี้
Embedded Emissions จะคิดจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า ทั้งทางตรงกับทางอ้อมจากกระบวนการผลิตของสินค้า โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) แต่ทั้งนี้จะยกเว้นผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าที่ส่งขาย EU จะคิดเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Direct Emissions) ซึ่งมีวิธีการคิด ดังนี้
CBAM Embedded Emissions = Direct Emissions + Indirect Emissions (Electricity) + Indirect Emissions (Precursors)*
* ทั้งนี้ระเบียบ CBAM จะกำหนดไว้ว่าผลิตภัณฑ์ใดต้องพิจารณา GHG จากวัตถุดิบตั้งต้นบ้าง (Precursors)
1. Direct Emissions คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงในกระบวนการผลิต เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การทำปฏิกิริยาในกระบวนการผลิต การกำจัดก๊าซเหลือทิ้ง เป็นต้น
2. Indirect Emissions (Electricity) คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตสินค้า
3. Indirect Emissions (Precursors) คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่เกิดจากการผลิตวัตถุดิบตั้งต้น ที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้า
ทั้งนี้ การรายงานค่า Embedded Emissions ในช่วงเปลี่ยนผ่านทั้ง 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จะต้องรายงานค่า Embedded ตามหลักการข้างต้น สำหรับหลังช่วงเปลี่ยนผ่าน สินค้ากลุ่มเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน ให้คำนวณเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบทางตรง (Direct Emissions) ส่วนสินค้ากลุ่มอื่นๆ ให้คำนวณทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม (Indirect Emissions)
โดยค่า Embedded Emission จะพิจารณาก๊าซเรือนกระจก 3 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และ เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ทั้งนี้ แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีชนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ต้องพิจารณาไม่เหมือนกัน เช่น
สุดท้ายนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ โดยสามารถเริ่มจากการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสินค้าของตน ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการส่งออกสินค้ารู้วิธีการคำนวณหาค่า Embedded Emissions แล้วก็จะเป็นการง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำส่งให้ผู้นำเข้าสินค้านำไปส่งมอบรายงานข้อมูลดังกล่าว หรือเรียกว่า CBAM Report แก่ผู้มีอำนาจตรวจสอบผ่านระบบ CBAM Registry ต่อไป ตลอดจนผู้ประกอบการไทยสามารถนำมาต่อยอดในการวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า สร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถปรับตัวให้ทันกับกฎระเบียบต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ที่มาข้อมูล :
1. Ref. Ares(2023)4079551 - 13/06/202 COMMISSION IMPLEMENTING REGULATION (EU) …/...
2. Ref. Ares(2023)4079551 - 13/06/2023 ANNEXES, Commission Implementing Regulation (EU) …/..
3. Ref. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
4. Ref. https://www.eeas.europa.eu/sites/default/files/documents/2023/Carbon%20Border%20Adjustment%20Mechanism.pdf