นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยถึงแนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (Ft) งวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม2566 ว่า มี 3 ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา ซึ่งจะผลต่อค่าไฟในงวดดังกล่าว ประกอบด้วย
ทั้งนี้ จะสรุปอัตราค่าเอฟทีได้ประมาณเดือนมีนาคมนี้ เพื่อประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน และเริ่มใช้เดือนพฤษภาคม เนื่องจากต้องพิจารณาต้นทุนเชื้อเพลิงและปัจจัยผลกระทบให้รอบด้านเพื่อให้การพยากรณ์ใกล้เคียงมากที่สุด
"แม้แนวโน้มราคาแอลเอ็นจีสปอต และค่าเงิน จะส่งผลดีต่อค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค. 66 แต่ กกพ.ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าแนวโน้มจะลดลงหรือไม่ เพราะปัจจัยที่สำคัญกว่าคือ ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ยังไม่กลับมาปกติ แม้แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นแต่ก็มีความไม่แน่นอนสูงเช่นกัน ขณะเดียวกันปริมาณการใช้ไฟของไทยในขณะนี้แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ความต้องการเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากจะพิจารณาแนวโน้มค่าได้ใกล้เคียงที่สุดจึงอยู่ที่เดือนมีนาคมนี้"
อย่างไรก็ตามราคาเอฟทีงวดปัจจุบัน(มกราคม-เมษายน2566) เมื่อบวกกับค่าไฟฐานจะอยู่ที่ 5.2 บาทต่อหน่วย แต่รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาค่าไฟครัวเรือนไว้ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟกลุ่มอื่น อาทิ ภาคเอกชนขยับไปอยู่ที่ 5.69 บาทต่อหน่วยก่อนจะลดลงเหลือ 5.33 บาทต่อหน่วย
ดังนั้นหากต้นทุนเชื้อเพลิงลดลง โดยเฉพาะ 3 ปัจจัยข้างต้นดังกล่าว และรัฐบาลไม่มีนโยบายแยก 2 ราคาและกำหนดค่าไฟราคาเดียว โดยคาดว่า "ค่าไฟ" งวดหน้า คือ พ.ค.-ส.ค. 66 จะถูกกว่า 5.2 บาทต่อหน่วย แต่หากต้นทุนไม่เปลี่ยนแปลงก็สามารถตรึงไว้ที่ 5.2 บาทต่อหน่วยได้ และหากต้นทุนเพิ่มค่าไฟจะสูงกว่า 5.2 บาทต่อหน่วย
นอกจากนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะมีนโยบายอย่างไร ที่ผ่านมาการทำ 2 ราคาใช้วิธีนำก๊าซฯในอ่าวไทยมาให้ประชาชนใช้ก่อน และเอกชนจ่ายแพงกว่า แต่งวดใหม่นี้ต้องดูว่าจะใช้แนวทางไหน จะให้เอกชนจ่ายแพงอีกหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันรัฐและเอกชนอยู่ระหว่างจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านพลังงาน (กรอ.พลังงาน) เพื่อพิจารณาโครงสร้างพลังงานร่วมกัน โดยเวลานี้ค่าไฟต้องการให้ยึดจากราคา 5.2 บาทต่อหน่วยเป็นหลัก