การเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา หรือ Overlapping Claims Area – OCA เป็นประเด็นที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบัน แม้ว่าเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน และมีการเปลี่ยนผู้นำประเทศของไทยมาแล้วหลายราย
ต่อกรณีดังกล่าวล่าสุดนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุถึงความคืบหน้าในการหาข้อยุติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา หรือ OCA ว่า กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวนี้ เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาล
อย่างไรก็ดี เท่าที่ได้ดูข้อตกลงภายใต้ MOU 2544 เห็นว่าควรจะต้องมีการปรับแนวทางการเจรจากันใหม่
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า เรื่องการเร่งรัดเจรจาเพื่อให้ได้ข้อยุติในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา เป็นนโยบายรัฐบาลที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
และในวันที่ 28 กันยายน นายกรัฐมนตรีของไทยไทยและคณะได้เดินทางไปเยือนประเทศกัมพูชา อย่างเป็นทางการ เป็นประเทศแรกในอาเซียน เพื่อหารือกับสมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเห็นพ้องกันว่า เป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ แต่ยังไม่ได้มีการหยิบยกเรื่อง OCA มาคุยกันบนโต๊ะเจรจา
สำหรับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันที่ลงนามโดย ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยกับนาย ชก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ในปี 2544 หรือที่เรียกว่า MOU 2544 มีประเด็นที่ทำให้เกิดความล่าช้า และยากต่อการหาข้อยุติ เนื่องจาก มีการกำหนดให้พื้นที่ส่วนที่จะแบ่งเส้นเขตแดนทางทะเล และ พื้นที่ที่จะพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกัน ที่ จะต้องดำเนินการทำข้อตกลงไปด้วยกันไม่สามารถแบ่งแยกได้ (Indivisible package)
โดยพื้นที่ส่วนที่ตกลงแบ่งเส้นเขตทางทะเล ซึ่งมีประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตรนั้น ทางฝ่ายกัมพูชา ลากเส้นล้ำเข้ามาโดยไม่ได้อิงหลักสากลตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (UNCLOS) ที่ไทยเป็นภาคี ทำให้เมื่อตกลงในส่วนแรกไม่ได้ ก็จะไม่สามารถตกลงในส่วนของพื้นที่พัฒนาร่วมได้ ตามที่ระบุใน MOU
โดยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมีพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร แบ่งการเจรจา เป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนผู้ได้รับสัมปทานพื้นที่ทับซ้อนจากรัฐบาลไทยเมื่อปี 2511 แบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย
ประเด็นปัญหาของพื้นที่ OCA นั้น ผ่านการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีของไทยมาแล้วถึง 7 ราย ก่อนที่จะมาถึงรัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ประกอบด้วย
และล่าสุดนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย นายเศรษฐา ทวีสิน
โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศมาแล้ว 11 คน ซึ่งไทยและกัมพูชาได้ประชุมคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee—JTC) เพื่อหารือเรื่องเขตทับซ้อนไปเพียง 2 ครั้ง คณะอนุกรรมาธิการร่วมทางเทคนิคอีก 2 ครั้ง คณะกรรมการร่วมทางเทคนิคหารืออย่างไม่เป็นทางการ 4 ครั้ง ประชุมคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชาว่าด้วยการกำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมทางทะเล 1 ครั้ง และมีการประชุมคณะทำงานว่าด้วยระบอบพัฒนาร่วม 6 ครั้ง แต่ยังไม่มีความคืบหน้าที่เป็นชิ้นเป็นอัน