“เลย”เลียนสยามสแควร์โมเดล เร่งสายไฟลงดิน ดันท่องเที่ยว “เชียงคาน”ยั่งยืน

14 พ.ย. 2565 | 04:38 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ย. 2565 | 12:14 น.

โครงการจุฬาฯ Smart Street Low Carbon ย่านสยามสแควร์ ตอบโจทย์พัฒนา “เชียงคาน” ของจังหวัดเลย สู่แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน สร้างทัศนียภาพเมืองให้มีความสมบูรณ์สวยงาม ระบุใช้หม้อแปลงใต้น้ำ ป้องกันอัคคีภัย ช่วยอนุรักษ์บ้านเรือนเก่าแก่กว่า 100 ปี ดึงนักท่องเที่ยว

นายคมกฤษ ศิริยุทธแสนยากร โยธาธิการและผังเมือง จังหวัดเลย เผยว่า จากที่นายชัยธวัช เนียมศิริ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้มีนโยบายให้ปรับปรุงแผนพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย โดยมีจุดยืนเป็นเมืองการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นเมืองการเกษตรและอาหารปลอดภัย รับผิดต่อสังคม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำสายไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้าลงดินทั้งระบบ เพื่อสร้างความปลอดภัยด้านอัคคีภัยโดยเฉพาะในพื้นของอำเภอเชียงคาน

 

ทั้งนี้เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเมืองโบราณอันเก่าแก่อย่างอำเภอเชียงคาน ให้คงเอกลักษณ์ ป้องกันการเกิดอัคคีภัย ไฟไหม้บ้านเรือนของประชาชนที่อายุกว่า 100 ปี ควรมีการพัฒนาในทุกมิติ ให้มีความยั่งยืนควบคู่ไปพร้อมกัน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นโดยควรนำรูปแบบ โครงการ “จุฬา Smart Street Low Carbon” อังรีดูนังต์ หรือย่านสยามสแควร์ เป็นต้นแบบในการพัฒนา

นายชัยธวัช  เนียมศิริ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย

 

เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเมืองท่องเที่ยวที่เก่าแก่อย่างเชียงคานให้คงความสวยงาม โดยสร้างคุณค่าอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ ให้ดูเด่นสง่า โดยเก็บสายไฟฟ้าลงดิน และใช้หม้อแปลงใต้น้ำ เพื่อป้องกันอัคคีภัย ทำให้ไม่มีสายไฟ และหม้อแปลงไฟฟ้า บดบังหน้าบ้านเรือนพี่น้องประชาชน ช่วยสร้างทัศนียภาพใหม่ให้เชียงคานดึงดูดนักท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมที่สวยงามไปตลอด

 

นายคมกฤษ กล่าวอีกว่า ตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวสยามสแควร์ หลังจากมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้วยการนำสายไฟหม้อแปลงใต้น้ำลงดินทั้งระบบ ทำให้พื้นที่ธุรกิจการค้าดูสะอาดสวยงาม ปัจจุบันสยามสแควร์สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะจุดที่นำหม้อแปลงใต้น้ำลงดิน ริมถนนอังรีดูนังต์ กลายเป็นจุดเช็คอินแห่งใหม่ มีนักนักท่องเที่ยวให้ความสนใจอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ข้อมูลการลดเรือนกระจก ลดคาร์บอน และลดการใช้พลังงาน จากการใช้หม้อแปลงใต้น้ำอีกด้วย

 

“เลย”เลียนสยามสแควร์โมเดล เร่งสายไฟลงดิน ดันท่องเที่ยว “เชียงคาน”ยั่งยืน

 

“ในเรื่องนี้การไฟฟ้าภูมิภาคในพื้นที่จังหวัดเลย ควรนำมาเป็นต้นแบบ การนำสายลงดินทั้งระบบในพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างที่เชียงคาน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาของจังหวัดเลยสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

“เลย”เลียนสยามสแควร์โมเดล เร่งสายไฟลงดิน ดันท่องเที่ยว “เชียงคาน”ยั่งยืน

 

ปัจจุบันการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเลยได้ก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะที่อำเภอเชียงคาน ที่การท่องเที่ยวเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็มีสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งหากไม่มีการควบคุมดูแลอย่างเป็นระบบ จะส่งผลกระทบตามมาในระยะยาวได้ โดยทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวอาจเสื่อมโทรมเร็ว และอาจไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้

 

ทั้งนี้จากอำเภอเชียงคานมีวัฒนธรรมชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ มีสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ แต่เกรงวิถีชีวิตชุมชนจะเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามมา ทั้งการจัดการขยะมูลฝอย น้ำเสีย และอื่น ๆ หากดูแลไม่ทั่วถึง จะเป็นผลด้านลบต่อแหล่งท่องเที่ยวตามมาได้

 

“เลย”เลียนสยามสแควร์โมเดล เร่งสายไฟลงดิน ดันท่องเที่ยว “เชียงคาน”ยั่งยืน

“เชียงคาน เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ สปป.ลาว มีการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี มีความเป็นเอกลักษณ์ด้านวิถีชีวิตและภูมิปัญญา บ้านเรือนเก่าแก่มีอายุเป็นร้อยปี มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเชียงคานสร้างแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาตลอดทั้งปี และสร้างรายได้เข้าจังหวัดหลายร้อยล้านบาทต่อปี ดังนั้นต้องพัฒนาให้คงเอกลักษณ์ไว้อย่างสมบูรณ์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ พร้อมทั้งสร้างระบบความยั่งยืนด้านพลังงานควบคู่ไปพร้อมกัน”