เนื่องจากประเทศไทยได้วางเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งนอกจากความร่วมมือจากภาคธุรกิจ และประชาชนแล้ว ส่วนราชการถือเป็นอีกส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน
ล่าสุด(7 ธันวาคม 2565) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เสนอจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรม Climate Change) ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065
โดยที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) ครั้งที่ 4/2565 มีพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ได้มีมติรับทราบ การจัดตั้งกรมดังกล่าว
กรม Climate Change หรือ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม” หรือ เป็นหน่วยงานในสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งกรมดังกล่าวขึ้นนั้น เพื่อแสดงให้นานาอารยประเทศได้เห็นถึงความตั้งใจ และความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป้าหมายดูแล ศึกษา และรับมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน และปกป้องสิ่งแวดล้อม
ภารกิจหลักและหน้าที่
ปัจจุบัน “กรม Climate Change” มีการจัดตั้งใน 26 ประเทศทั่วโลกแล้ว แบ่งเป็น
นอกจากนั้น กระทรวง ทส. ยังได้ผลักดันร่างกฎหมายเพื่อดูแลสภาพภูมิอากาศ เป็นฉบับแนกของประเทศไทย คือ (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเป็นการยกระดับจากภาคสมัครใจ (Voluntary) เป็นภาคบังคับ (Mandatory) และมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารคาร์บอนเครดิต กลไกการเงิน การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก คาดว่าจะสามารถนำกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาคณะรัฐมนตรี ภายในต้นปี 2566