Carbon Capture ดักจับ-กักเก็บคาร์บอน กู้โลกร้อนได้จริง ?

12 มี.ค. 2566 | 08:30 น.

ทำความรู้จัก Carbon Capture เทคโนโลยีดักจับเเละกักเก็บคาร์บอน นวัตกรรมกู้โลกรวน โลกร้อน เเละทำงานอย่างไรอย่างไร

Theguardian รายงานข่าวคราวการวางแผนที่จะประกาศการลงทุนที่ไม่เคยมีมาก่อนมูลค่า 20 พันล้านปอนด์ในช่วงสองทศวรรษข้างหน้าในโครงการดักจับคาร์บอนและโครงการพลังงานคาร์บอนต่ำตั้งแต่ปีหน้าของสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุผลที่ว่าการดักจับและกักเก็บคาร์บอนเป็นกระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเหล็กและซีเมนต์ การขนส่ง แล้วกักเก็บไว้ในแหล่งกักเก็บใต้ดิน

ปี 2021 สหราชอาณาจักรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 425 ล้านตัน ลดลงเกือบ 50% ตั้งแต่ปี 1990  รัฐบาลหวังว่าจะกักเก็บ CO2 ได้ 20-30 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573 เท่ากับการปล่อยก๊าซจากรถยนต์ 10-15 ล้านคัน สหราชอาณาจักรได้กำหนดเป้าหมายทางกฎหมายเพื่อให้การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ความพยายามในการสร้างกำลังการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ในสหราชอาณาจักรถูกรุมเร้า ตั้งแต่การเริ่มต้นที่ผิดพลาดหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงความล่าช้า 

โดยถูกมองว่า เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน (Carbon Capture) เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลสำหรับการอนุญาตให้มีเหมืองถ่านหินแห่งใหม่ แม้จะมีการอ้างว่าจะทำให้เป็น Net Zero  แต่นักวิจารณ์คิดต่างออกไปว่า  เทคโนลยีที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์นั้นไม่ได้ใช้งานเชิงพาณิชย์ในสหราชอาณาจักร 
 

แล้ว เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS คืออะไร 

เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS)

เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่สามารถช่วยให้ประเทศออสเตรเลีย บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและมลพิษ เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ได้ ซึ่งเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) คือ การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่แหล่งกำเนิด และกักเก็บไว้ใต้ดิน

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนทำงานอย่างไร

การ "ดักจับ" มักติดตั้งบริเวณที่มีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก เช่น โรงงานผลิตไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล และโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตซีเมนต์หรือเหล็กกล้า โครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนในปัจจุบันมักจะใช้ของเหลวเพื่อทำปฏิกิริยาเคมีกับฝุ่นควันปากปล่องเพื่อดักจับคาร์บอนก่อนที่จะถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ

แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกกลั่นให้มีสภาพเป็นของเหลวเพื่อขนส่งไปยังพื้นที่ "กักเก็บ" ผ่านท่อ เมื่อถึงปลายทางคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของเหลวก็จะถูกฉีดกลับเข้าไปในช่องใต้ผิวโลก ระดับความลึกอย่างน้อย 750 เมตร มักเป็นบ่อน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติที่ถูกขุดเจาะขึ้นมาใช้จนหมดแล้ว

บริษัทบางแห่งยังหาทางนำคาร์บอนไปใช้งานโดยใช้เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน (Enhanced Oil Recovery หรือ EOR) โดยฉีดกลับเข้าไปในบ่อน้ำมันที่ยังดำเนินการอยู่เพื่อให้สามารถผลิตน้ำมันให้ได้มากยิ่งขึ้น

นอกจากการใช้งานข้างต้น ยังมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำคาร์บอนที่ดักจับได้ไปผสมกับวัสดุอื่นๆ เช่น ซีเมนต์และคอนกรีต เชื้อเพลิง พลาสติก คาร์บอนไฟเบอร์และกราฟีน เพื่อเสริมให้วัสดุมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น 

อีกแนวคิดหนึ่งคือการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศทางตรง (Direct Air Capture) ด้วยกระบวนการทางเคมี 

การดักจับคาร์บอนทั่วโลก 

Global CCS Institute รายงานว่า กันยายนปีที่เเล้ว มีโรงงานดักจับคาร์บอนเพียง 30 แห่งทั่วโลก และเกือบทั้งหมดติดกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การแปรรูปก๊าซธรรมชาติหรือการผลิตปุ๋ย 

การดักจับคาร์บอน กู้โลกรวน ร้อนได้จริงไหม

ในปัจจุบัน วิกฤติภูมิอากาศเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทั่วโลกต้องรีบหาทางรับมือ หากถามว่าการดักจับคาร์บอนต่อสู้กับโลกร้อนได้ไหม คำตอบคือได้ เพราะก็ถือว่ามีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องต่อสู้ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ มากมาย 

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวการหลักที่ก่อให้เกิดโลกร้อนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยิ่งคาร์บอนถูกกำจัดและป้องกันออกจากชั้นบรรยากาศมากเท่าไหร่ โลกก็จะยิ่งอบอุ่นน้อยลง เเต่ถึงอย่างนั้นกระบวนการนี้อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร เเละมีข้อโต้แย้งว่า พลังงานหมุนเวียนเป็นการลงทุนที่ดีกว่าการดักจับคาร์บอนเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ข้อมูล  : terrapass bbc , sciencedaily