ศึกเลือกตั้ง 2566 ใกล้เข้ามา ล่าสุด ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า หรือ เลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ในเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักร ถูกกำหนดระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 9 เมษายน 2566 นี้
ที่ผ่านมาเราได้เห็นนโยบายพรรคการเมืองที่ออกมาเรียกคะแนนเสียงในกลิ่นอายของ “นโยบายประชานิยม” โดยเฉพาะนโยบายที่มุ่งแก้ปัญหาปากท้อง หรือ นโยบายสวัสดิการสังคม เเต่มีอีกหนึ่งนโยบายที่สำคัญ ซึ่งก็คือ "นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม" มีคำถามตามมาว่า พรรคการเมืองสนใจปัญหานี้มากน้อยเเค่ไหน เพราะอาจจะไม่ได้ถูกนำเสนอมากเท่านโยบายทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างนโยบายที่หลายพรรคการเมืองนำเสนอได้แก่ การใช้พลังงานหมุนเวียน การขายคาร์บอนเครดิต การแก้ไขระเบียบการซื้อขายไฟฟ้า และการแก้ไขปัญหา PM2.5 เป็นต้น
"ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง มาไว้เพื่อให้ได้เห็นว่า เเต่ละพรรคมุ่งแก้ปัญหานี้ด้านไหนบ้าง
พรรคก้าวไกล
นโยบาย “สิ่งแวดล้อมไทยก้าวหน้า” โดยประกาศศึกกับภาวะโลกร้อน มีนโยบายที่ชัดเจน ทั้งรุกและรับเพื่อรับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และมุ่งไปที่ต้นตอของปัญหา เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้จริง ควบคู่กับสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
นโยบาย แก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5
นโยบายด้านการขนส่ง
พรรคภูมิใจไทย
นโยบาย “ภูมิใจกรุงเทพฯ 24/7” เพื่อแก้ปัญหาให้คนกรุงเทพฯ
นโยบาย แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 อยู่ในหมวด “ให้คุณภาพชีวิตที่ดี”
พรรคเพื่อไทย
ผลักดันเป็นนโยบายพรรคเพื่อไทยแก้วิกฤต PM 2.5 ใน 6 ด้าน
นอกจากนี้เพื่อไทยพร้อมผลักดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาด เป็นนโยบายหลักหากได้เป็นรัฐบาล
พรรคประชาธิปัตย์
นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ใน กทม. คือ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของคนกรุงเทพฯ ทั้งเรื่องน้ำและเรื่องอากาศ โดยจะผลักดันการออกกฎหมายอากาศสะอาด เป็นกฎหมายที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของคน กทม.
พรรคชาติไทยพัฒนา
ประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและพลังงานของพรรคชาติไทยพัฒนามีทั้งหมดด้วยกัน 6 ข้อ ดังนี้
พรรคชาติพัฒนากล้า
นโยบาย “พันธบัตรป่าไม้” 1 ในยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเฉดสี เพื่อเป็นเครื่องมือใช้ในการส่งเสริมการปลูกป่า แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
อ้างอิงจาก รายงาน ข้อเสนอสำหรับพรรคการเมืองต่อ 4 นโยบายด้านสังคมในการเลือกตั้งทั่วไป 2566 ของ TDRI ระบุว่า นโยบายที่สำคัญแต่ยังไม่มีพรรคการเมืองไหนเสนอ คือ นโยบายที่เกี่ยวกับการปรับตัวและการลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่มากต่อประเทศไทยที่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันดับที่ 9 ของโลกตามการประเมินของ Global Climate Risk Index
นอกจากนี้พรรคการเมืองยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปีค.ศ. 2065 หรือพ.ศ. 2608 แม้จะมีบางพรรคการเมืองเสนอให้เลิกการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินภายในปีพ.ศ. 2580 หรือส่งเสริมการใช้มอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มากขึ้น แต่นโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ถูกบางพรรคการเมืองลดทอนลงจนเหลือเพียงการสร้างรายได้จาก “คาร์บอนเครดิต” ของเกษตรกร
หากสังเกตให้ดีจะพบว่า หลายพรรคการเมืองเสนอ การเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน (Energy Transition) ไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ขณะเดียวกันเสนอนโยบายลดค่าไฟฟ้าหรืออุดหนุนค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟบางกลุ่มเช่น เกษตรกร หรือแก่ประชาชนทั่วไปทั้งหมด ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกหากไม่สามารถเปลี่ยนผ่านทางพลังงานได้อย่างรวดเร็วเพียงพอ
ในรายงานยังระบุอีกว่า ปัญหา PM2.5 ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของประชาชนปีละกว่า 3 หมื่นคนและยังมีผลกระทบด้านสุขภาพต่อประชาชนจำนวนมาก เป็นเรื่องดีที่หลายพรรคการเมืองเสนอนโยบาย เเต่การแก้ไขปัญหานี้ให้เกิดผลสำเร็จจะต้องอาศัยความร่วมมือของหลายกระทรวง ซึ่งจะเป็นเรื่องท้าทายมาก