ไม่นานมานี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอ หนึ่งในนั้นคือเรื่องการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยเฉพาะการลดการปล่อยคาร์บอน
ความคืบหน้าของการขับเคลื่อน
สำหรับความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ ในด้านการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการถูกกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น จากการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ส่งผลให้ราคาสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศต้องสะท้อนถึงปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่แท้จริงที่เกิดจากการผลิตสินค้า อีกทั้งในหลายประเทศ เช่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น ได้เริ่มดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น
ดันมาตรการลดปล่อยคาร์บอน
ด้วยความเสี่ยงข้างต้น ภาครัฐและเอกชนจึงได้เร่งผลักดันมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในภาคการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น การสร้างมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ การใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ และการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว ส่งผลให้ปริมาณการปล่อย CO2 ต่อการใช้พลังงานในช่วงครึ่งปีแรกของไทยในปี 2565 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก
ประกอบกับการดำเนินการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นการต่างประเทศ โดยประเทศไทยมีการพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในทุกมิติและสามารถมีบทบาทเชิงรุกในการร่วมกำหนดมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับประเด็นการเติบโตอย่างยั่งยืน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยลดลง
หน่วยงานรัฐต้องเตรียมพร้อม
อย่างไรก็ตาม สศช. มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานของรัฐต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดระเบียบต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจนกระทบกับเศรษฐกิจ ประกอบด้วย