ประกอบด้วย 1.การสร้างการเติบโตจากการ M&P และการขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และมองโอกาสขยายสู่ธุรกิจอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูง โดยมุ่งเน้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์
2.การพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มคุณค่าและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค
3.การยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของทั้งห่วงโซ่อุปทาน การดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ 4.การวางแผนบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน อีกทั้ง การกระจายฐานลูกค้าหลากหลายประเทศและกลุ่มอุตสาหกรรม การมองหาตลาดใหม่ในแถบตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกาใต้
และ 5.ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยแนวคิด ESG 4 Plus ที่มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์สามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ทั้งหมด 100 % จากปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตทั้งหมดในปี 2568 การเพิ่มสัดส่วยนการใช้พลังงานหมุนเวียบน เพื่อที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์( Net Zero)ในปี 2593
ในปี 2566 SCGP จะใช้เงินลงทุนราว 1.8 หมื่นล้านบาท สำหรับรองรับการควบรวมกิจการกับพันธมิตร (M&P) ประมาณ 9 พันล้านบาท การลงทุนขยายกำลังการผลิตประมาณ 3,300 ล้านบาท ลงทุนด้าน ESG ราว 5,000 ล้านบาท และเพื่อการวิจัยและพัฒนา 800 ล้านบาท
นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า SCGP ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนด้วยแนวคิดการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) ภายใต้กลยุทธ์ ESG Pathway โดยเฉพาะมิติสิ่งแวดล้อม ที่ดำเนินกลยุทธ์ให้สอดรับกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20 % ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563 มุ่งลดการใช้นํ้าจากภายนอ 35 % ภายในปี 2568 ส่งเสริมการลดการใช้พลังงานลง 13 % ภายในปี 2568 และไม่นำของเสียจากกระบวนการผลิตในประเทศไทยไปฝังกลบหรือฝังกลบเป็นศูนย์
ในปีที่ผ่านมา SCGP ประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 12.7 % ลดการใช้พลังงานได้ 6.8 % ลดการใช้นํ้าจากภายนอกได้ 28% และบรรลุเป้าหมายการฝังกลบของเสียจากกระบวนการผลิตในประเทศไทยเป็นศูนย์ ขณะที่ผ่านมา SCGP สามารถนำวัตถุดิบที่มาจากการรีไซเคิลใช้ซํ้าในกระบวนการผลิตได้ถึง 45 %
อีกทั้ง มีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทดแทนและเชื้อเพลิงหมุนเวียน จากปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 24.3 % โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์มาอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2561 ทั้งโซลาร์ฟาร์มบนบกและโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาโรงงาน ซึ่งปี 2565 ขยายเพิ่มขึ้นไปยังบริษัทในประเทศไทยอีก 7 แห่ง รวม 10.5 เมกะวัตต์ ทำให้ปัจจุบัน SCGP มีกำลัง การผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์รวมทั้งสิ้น 22.3 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10,238 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อปี
นอกจากนี้ ยังศึกษาเชื้อเพลิงชีวมวลประเภทต่าง ๆ เช่น ไม้สับ ใบอ้อย แกลบ ฯลฯ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติให้ใกล้เคียงใช้ทดทนถ่านหินและเพิ่มปริมาณการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล ส่งผลให้ภาพรวมของการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล ปี 2565 ที่ผ่านมาสามารถเพิ่มการใช้พลังงานชีวมวลแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลภายในหม้อไอนํ้าจาก 6.2 % หรือ 344,526 ตันต่อปี เป็น 8.4 % หรือ496,878 ตันต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 287,210 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 404,478 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
รวมทั้ง การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ปี 2565 SCGP จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ร่วมกับหน่วยงานและชุมชนรวม 999,263 ต้น ทำให้ปัจจุบันมียอดปลูกต้นไม้สะสมตั้งแต่ ปี 2563 รวมทั้งสิ้น 1,128,675 ต้น เทียบเท่าการกักเก็บก๊าซคาร์บอนฯได้ราว 10,722 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
อีกทั้ง ในปี 2566 บริษัทได้นำรถบรรทุกไฟฟ้า(อีวี) มาใช้ขนส่งสินค้า จำนวน 7 คัน และจะขยายผลไปยังรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งการรถบรรทุกสินค้าอีวี สามารถลดการปล่อยคาร์บอนฯได้ 475,087 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อคันต่อปี และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ประมาณ 50-60 % เมื่อเทียบกับการใช้รถบรรทุกที่ใช้นํ้ามันดีเซล
รวมทั้งมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งต่อถึงมือผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 SCGP มีฉลากที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ SCG Green Choice รวมจำนวน 61 ผลิตภัณฑ์ ฉลากเขียว ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 จำนวน 21 ผลิตภัณฑ์ ฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน 5 ผลิตภัณฑ์ และได้ขึ้้นทะเบียน Carbon Footprint Product สินค้ากล่องบรรจุภัณฑ์จำนวน 37 ผลิตภัณฑ์
ล่าสุดบริษัทได้ร่วมมือกับ บริษัท ออริจิ้น แมตทีเรียลส์ บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมกันพัฒนา “Bio-based Plastic จากชิ้นไม้ยูคาลิปตัสสับ” มาผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง จนได้ Bio-PTA เพื่อนำไปผลิตเป็น Bio-PET ในการผลิตบรรจุภัณฑ์และสินค้าต่าง ๆ อาทิ บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และรองรับการใช้ Bio-PET ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้วัตถุดิบยั่งยืน และสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3886 วันที่ 11 – 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566