นางสาวนภารัฒน์ ศรีวรรณวิทย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารความเสี่ยง บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า เซ็นทรัลพัฒนา มุ่งเน้น“The Ecosystem for All” หรือระบบที่แข็งแกร่งและยั่งยืนที่สร้างความเติบโตให้กับทุกฝ่าย โดยเป้าหมายสำคัญคือการสร้าง Better Futures ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
โดยแผนธุรกิจ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ที่มุ่งเน้นการต่อยอดการลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และชุมชน โดยวางแผนออก Sustainability linked loan / bond (SLB) หรือ หุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนใหม่กว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินมาใช้ในด้านความยั่งยืน
ในช่วงแรกจะออกเป็น Loan ก่อน และ และจะออกเป็น linked loan อีก 5,000-6,000 ล้านบาท ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 โดยแผนคร่าวๆ ในเบื้องต้น คือ เงินประมาณ 70-80% จะไปทำเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม ที่เห็นผลระยะยาว รวมทั้งนำไป
สร้างกรีนบิวดิ้ง การทำพื้นที่สีเขียว การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมาช่วยประหยัดพลังงาน หรือเรื่องรีไซเคิลเทคโนโลยีสำหรับบริหารจัดการนํ้า และดูแลเรื่องขยะต่างๆ
ส่วนอีก 20% จะเกี่ยวข้องกับชุมชน สังคม ซึ่งที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนามีการจัดหาพื้นที่เพื่อให้ชุมชนสามารถนำสินค้ามาขาย สร้างรายได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน เพิ่มช่องทางรายได้ให้กับคนในสังคม และยังสร้างพื้นที่สีเขียวในศูนย์เพิ่มเติม ซึ่งเป้าหมายของเซ็นทรัลพัฒนาคือ โครงการใหม่ๆ ของบริษัทที่จะเกิดขึ้น จะให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้มาก ทั้งการสร้างพื้นที่สีเขียว การทำเซมิ เอาท์ดอร์ หรือพื้นที่เปิด เช่น เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ ที่มีพื้นที่เปิดถึง 30% และ ศูนย์การค้าต้นแบบรักษ์โลกแห่งแรกที่ Central Westville ก็มีพื้นที่เปิดถึง 50-60%
ส่วนการออกหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) เมื่อปี 2565 จำนวน 1,000 ล้านบาท ได้นำมาทะยอยใช้กับเรื่องของการติดตั้งโซล่าเซล์ การทำระบบรีไซเคิล การสร้างพื้นที่สีเขียว รวมทั้งการลงทุนในชุมชน เพื่อช่วยยกระดับความเป้นอยู่และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ผ่านโครงการของเซ็นทรัล ทำ ที่ดำเนินการต่อเนื่อง
เซ็นทรัลพัฒนาประเมินว่าในช่วง 5 ปี ของแผนการลงทุน จะสามารถสร้างอิมแพ็คเชิงบวกให้กับกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาในโครงการได้มากถึง 1.8 ล้านคนต่อวัน ในส่วนของผู้เช่า ทำงานร่วมกับการไฟฟ้า และ SCG ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน ร่วมกับร้านค้าและพันธมิตร ที่ตั้งเป้าไว้กว่า 100 ราย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมเรื่องการบริหารจัดการขยะ (Waste Management) กับร้านค้า โดยเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท Food Passion ได้มีการเปิดร้านอาหาร Low Carbon แห่งแรกในไทยที่เซ็นทรัล วิลเลจ ส่วนของการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทุกสาขารวมมากกว่า 400 ช่องจอด ถือว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 5 เท่า
ด้านของสังคมและชุมชน (Community) เซ็นทรัลพัฒนา ดำเนินการใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้าน Local Wealth ส่งเสริมการจ้างงานท้องถิ่นจากการขยายโครงการครอบคลุมกว่า 30 จังหวัดในอีก 5 ปี มอบพื้นที่ตลาดจริงใจ ฟาร์เมอร์มาร์เก็ตในศูนย์การค้า 18 สาขา สร้างโอกาสให้กับเกษตรกรกว่า 38,000 ราย พร้อมสามารถสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน 139 ล้านบาท (ตัวเลขโดยประมาณปี 65) เปิดพื้นที่ค้าขายให้ SMEs ปีละกว่า 100,000 ตร.ม. เป็นต้น
ด้าน Well-Being โครงการใหม่ๆ เน้นเพิ่มพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่สีเขียวในปี 65 เพิ่มขึ้น 11% และยังคงเป็นศูนย์กลางอำนวยความสะดวกสถานที่ เช่น การฉีดวัคซีนโควิด และการบริจาคโลหิต และ ด้าน Inclusivity ขับเคลื่อน Human Right ในองค์กร สนับสนุนความเท่าเทียบ และโครงการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา เป็นต้น
สำหรับ Journey to NET Zero 2050 ของเซ็นทรัลพัฒนามีความก้าวหน้าต่อเนื่องตามแผนในด้านต่างๆ อาทิ Energy การใช้พลังงานสะอาด ติดตั้ง Solar Rooftop สำเร็จแล้ว 50% ของจำนวนศูนย์การค้าทั้งหมด โดยในปี พ.ศ.2567 จะติดตั้งให้ครบทุกสาขา 100%, ส่วนนํ้า สามารถลดการใช้นํ้า ใช้นํ้าซํ้า และนำนํ้ากลับมาใช้ใหม่ พร้อมติดตั้งระบบผลิตนํ้ารีไซเคิล จำนวน 19 โครงการ สามารถแปลงขยะเพื่อลดปริมาณขยะฝังกลบได้ปริมาณกว่า 18,000 ตัน ประสบความสำเร็จแล้ว 127% เทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยังสามารถดูแลคุณภาพอากาศให้ได้มาตรฐาน และยกระดับมาตรการ PM2.5 เป็นต้น
ภายในปี ค.ศ.2050 (พ.ศ.2593) เซ็นทรัลพัฒนามีแผนลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ มลพิษจากธุรกิจสุทธิเป็นศูนย์ ผ่านการลดการใช้พลังงานให้ได้ 50% ลดการใช้ CFC และสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดให้ได้อีก 50% นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งภายในและภายนอกโครงการให้ได้ถึง 1 ล้านต้นโดยเร็ว