ยุค “โลกเดือด” หรือ Global Boiling กำลังเข้ามาแทนที่ ยุค “โลกร้อน” เพิ่มระดับความรุนแรงกว่าเดิมเรียกว่า “หายนะของโลก” ได้เลย นี่คือตามคำกล่าวของ “อันโตนิโอ กูเตียเรส” เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่เพิ่งประกาศไม่นาน เห็นได้จากอุณภูมิโลกสูงขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม จนถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เชื่อได้ว่า ผลกระทบจะแพร่กระจายไปทุกพื้นที่ของโลกใบนี้
ขณะเดียวกัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปได้เผชิญกับคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุม ทำให้สภาพอากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จนเกิดไฟป่าในหลายประเทศ โดยเฉพาะที่กรีซ เกิดไฟป่ารุนแรง เเละล่าสุด ไฟป่าฮาวาย เเม้ยังไม่มีการระบุถึงสาเหตุเเต่ก็มีการตั้งคำถามว่า “โลกร้อน” เป็นต้นเหตุหรือไม่
"ไฟป่าฮาวาย" ร้ายแรงถึงชีวิตและ “หายนะโลกร้อน” อาจเป็นต้นเหตุ
ขณะที่โลกเผชิญปรากฎการณ์เอลนีโญมาแล้ว 5 ครั้ง ไล่มาตั้งแต่ ปี 2515-2516 ปี 2525-2526 ปี 2534-2535 ปี 2540-2541 ปี 2558-2559 ปี 2566-2567 (เริ่ม ต.ค.นี้) และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น คาดสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรไทยรวมราว 48,000 ล้านบาท จากข้อมูล ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
"เอลนีโญ" รุนแรงรอบใหม่ ช็อคภาคเกษตรไทยเสียหาย 48,000 ล้านบาท
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทย ล่าสุด 16 ส.ค.66 คณะกรรมการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประชุมเตรียมความพร้อม รับมืออิทธิพลจาก ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" จากปริมาณฝนที่ตกน้อยในหลายพื้นที่ และแหล่งน้ำมีปริมาณน้ำจำกัดโดยเฉพาะ น้ำอุปโภคบริโภค แม้ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตาม "12 มาตรการรับมือฤดูฝน" อย่างต่อเนื่องและเต็มที่ จึงยังคงต้องเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้ง อย่างรุนแรงได้ และขณะเดียวกันปรากฏการณ์เอ็นโซ่ (ENSO) อยู่ในสภาวะเอลนีโญ และจะมีแนวโน้มที่มีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.66 ทำให้ประเทศไทยช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.66 จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ
โดยพิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 เพิ่มเติมเพื่อรองรับสถานการณ์ "เอลนีโญ" 3 มาตรการที่สำคัญ
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. กำชับ สทนช.และหน่วยงานต่างๆ เร่งประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้ประชาชน รับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วถึง ทันเวลา เพื่อเตรียมความพร้อมและจัดลำดับความสำคัญในการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค อย่างเพียงพอของประชาชนเป็นอันดับเเรก รวมถึงพื้นที่ EEC ที่มีความสำคัญ รณรงค์ขอให้ประชาชน เกษตรกรและทุกภาคส่วนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด คุ้มค่า