ฝุ่นพิษ PM2.5 กทม.บ่ายนี้ เกินมาตรฐานกระทบสุขภาพ 33 จุด

14 ก.พ. 2567 | 08:53 น.
อัพเดตล่าสุด :14 ก.พ. 2567 | 09:58 น.

คนกรุงจมฝุ่นพิษ ค่าPM 2.5 วันวาเลนไทน์เกินมาตรฐาน ระดับสีแดงกระทบสุขภาพ 33 จุด ส่วนระดับสีเหลือง 35 จุด เช็คพื้นที่เสี่ยงพร้อมคาดการณ์คุณภาพอากาศกทม.7วันล่วงหน้าที่นี่

14 กุมภาพันธ์ วาเลนไทน์นี้ คนกรุงอ่วม จมฝุ่นพิษ ล่าสุด ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ได้สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 ประจำวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.00-14.00 น.โดยตรวจวัดได้ 58.7-90.6 มคก./ลบ.ม. ,ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 74.7 มคก./ลบ.ม. โดยค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานจำนวน 68 พื้นที่ แบ่งออกเป็นระดับสีแดง ผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 33 พื้นที่ และ ระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 35 พื้นที่ 

 

ส่วน 5 อันดับแรกที่คุณภาพอากาศเกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีแดง 

  • เขตหนองแขม
  • เขตคลองสามวา
  • เขตยานนาวา
  • เขตบึงกุ่ม
  • เขตธนบุรี 
     

คนกรุงจมฝุ่นพิษ ค่าPM 2.5 วันวาเลนไทน์เกินมาตรฐาน ระดับสีแดงกระทบสุขภาพ 33 จุด

ค่า PM2.5 เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 33 พื้นที่ 


1.เขตสัมพันธวงศ์ 2.เขตวังทองหลาง 3.เขตปทุมวัน 4.เขตยานนาวา 5.เขตจตุจักร 6.เขตลาดกระบัง 7.เขตธนบุรี 8.เขตคลองสาน 9.เขตบางกอกน้อย 10.เขตบางเขน 11.เขตบางพลัด 12.เขตคลองเตย 13.เขตหลักสี่ 14.เขตบึงกุ่ม 15.เขตลาดพร้าว 16.เขตคลองสามวา 17.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 18.เขตพระโขนง 19.เขตตลิ่งชัน 20.เขตทวีวัฒนา 21.เขตหนองแขม 22.เขตบางบอน 23.เขตบางนา 24.เขตคันนายาว 25.เขตมีนบุรี 26.เขตหนองจอก 27.เขตประเวศ 28.เขตบางซื่อ 29.เขตดินแดง 30.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง 31.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ 32.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม 33.สวนหนองจอก เขตหนองจอก

 

ค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 35 พื้นที่ 


34.เขตราชเทวี 35.เขตพญาไท 36.เขตบางรัก 37.เขตบางคอแหลม 38.เขตบางกะปิ 39.เขตภาษีเจริญ 40.เขตบางขุนเทียน 41.เขตพระนคร 42.เขตสาทร 43.เขตสายไหม 44.เขตห้วยขวาง 45.เขตสะพานสูง 46.เขตบางแค 47.เขตจอมทอง 48.เขตดอนเมือง 49.เขตราษฎร์บูรณะ 50.เขตบางกอกใหญ่ 51.เขตดุสิต 52.เขตทุ่งครุ 53.เขตวัฒนา 54.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน 55.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร 56.สวนจตุจักร เขตจตุจักร 57.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ 58.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง 59.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย 60.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย 61.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร 62.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย 63.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค 64.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา 65.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน 66.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม 67.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี 68.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด
 

ทั้งนี้กรุงเทพมหานคร ได้คาดการณ์ฝุ่น PM2.5 ล่วงหน้า 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 -21 ก.พ. 67 พบว่า คุณภาพอากาศ "เริ่มกระทบสุขภาพ" โดยพื้นที่เฝ้าระวัง วันที่ 15 ก.พ. 67 ค่า PM 2.5 เกินมาตรฐานในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 17 พื้นที่

  1. หลักสี่
  2. จตุจักร
  3. คลองเตย
  4. พระโขนง
  5. บางนา 
  6. พญาไท
  7. ดินแดง
  8. ห้วยขวาง
  9. คลองสามวา
  10. มีนบุรี
  11. สะพานสูง
  12. ตลิ่งชัน
  13. บางกอกน้อย
  14. ทวีวัฒนา 
  15. บางแค
  16. หนองแขม 
  17. บางบอน

 

กทม.คาดการณ์ฝุ่น PM2.5 ล่วงหน้า 7 วัน

 

อนึ่งจากสถานการณ์ค่าฝุ่นพิษ PM2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ล่าสุดกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศยกระดับป้องกันสุขภาพเข้มข้นจากฝุ่น PM2.5 โดยขอความร่วมมือหน่วยงาน กทม. และขอความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน จำนวน 151 แห่ง (60,279 คน) ในวันพฤหัสบดีที่ 15 และศุกร์ที่ 16 ก.พ.นี้ให้ Work From Home นอกจากนั้นแล้วยังประกาศมาตรการลดฝุ่น ดังนี้ 

1. เข้มงวดตรวจวัดตรวจจับรถยนต์ควันดำทุกประเภทร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนที่กำหนด
2. ประสานสถานีตำรวจท้องที่อำนวยการจราจรและกวดขันห้ามจอดรถในถนนสายหลักสายรองตลอดเวลา
3. ขอความร่วมมือทำงานหรือปฏิบัติงานในที่พัก (Work From Home) โดยถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.ก. ด่วนที่สุด ที่ กท ๐๓๐๕/๓๗๗ ลงวันที่ 18 มกราคม 2567 และใช้รถเท่าที่จำเป็น ไม่ขับ...ช่วยดับเครื่อง
4. ประชาสัมพันธ์ประชาชนให้บำรุงรักษาเครื่องยนต์และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว
5. ควบคุมสถานประกอบกิจการในพื้นที่ไม่ให้ปล่อยมลพิษอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
6. ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ทำ Big Cleaning บริเวณสถานที่ก่อสร้างและแพลนท์ปูน รวมถึงงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองจากการก่อสร้างทุกประเภท
7. เข้มงวดตรวจตราควบคุมไม่ให้มีการเผาขยะหรือการเผาในที่โล่งทุกประเภท
8. เพิ่มความถี่ในการล้างและดูดฝุ่นถนน ฉีดล้างต้นไม้ ใบไม้ และทำความสะอาดป้ายรถเมล์อย่างต่อเนื่อง
9. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้พร้อมแนะนำวิธีป้องกันสุขภาพอนามัยจากฝุ่นละออง PM2.5 ให้กับประชาชน และแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ AIRBKK หากประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแสผ่านทางแอปพลิเคชัน Traffy Fondue
10. ออกหน่วยบริการสาธารณสุขและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ คลินิกมลพิษทางอากาศดูแลสุขภาพประชาชน
11. ดำเนินการตามมาตรการลดฝุ่นละออง PM2.5 ในโรงเรียนอย่างเคร่งครัด และลดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน

มาตรการลดฝุ่น PM2.5