โครงการท่อร้อยสายสื่อสารลงใต้ดินที่ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร มูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท คัดเลือกให้บริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถูกตั้งคำถาม? โครงการซํ้าซ้อน ราคากลางประมูลไม่มี และเร่งรีบจนเกินเหตุ
นั่นจึงเป็นที่มาที่หนังสือ พิมพ์ฐานเศรษฐกิจร่วมกับราย การชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ ได้จัดเสวนา “เรื่อง... ชำแหละท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน กทม...ใครได้ใครเสีย?” โดยมีวิทยากรประกอบด้วย ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการ สำนักงานการแข่งขันทางการค้า(สขค.), นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. (ด้านคุ้มครองผู้บริโภค) และนายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) โดยมี นายบากบั่น บุญเลิศ ประธานกรรมการ บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จำกัด และในฐานะผู้ดำเนินรายการชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ ร่วมด้วย นางสาวกรรณิการ์ รุ่งกิจเจริญกุล ในฐานะผู้ดำเนินรายการ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ทั้งนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้สรุปสาระสำคัญนำเสนอลงบรรทัดถัดจากนี้
หลักการดี
ดร.สกนธ์กล่าวว่า โครงการนี้หลักการดีทำให้กรุงเทพมหานคร เป็นมหานครแห่งอาเซียน นำท่อร้อยสายสื่อสารลงใต้ดิน ไม่รกรุงรัง และอัพเกรดเทคโนโลยี
นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ท่อร้อยสายมีผู้ประกอบการหลายรายให้บริการในท้องตลาดมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด การแข่งขันเสรีจริงหรือไม่ ถ้ากรุงเทพมหานครบอกว่าท่อร้อยสายไม่ผูกขาดและเป็นทางเลือกของประชาชนก็ต้องดูรายละเอียด
นายพงศ์ฐิติ ในหลักการไม่ปฏิเสธและไม่คัดค้านลงทุนท่อร้อยสายสิ่งที่คัดค้านคือปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจดำเนินโครงการทางด้านกิจการโทรคมนาคมอยู่แล้วที่ผ่านมารัฐบาลไม่มีความชัดเจนในการกำหนดนโยบายให้ทีโอที บริหารจัดการ
ผูกขาดโดยธรรมชาติ
ดร.สกนธ์ ตั้งข้อสังเกต 3 ข้อ คือ 1. โครงการลงทุนซํ้าซ้อน 2. เกิดการแข่งขันจริงหรือไม่เอาอำนาจผูกขาดรัฐไป เปิดประมูลแล้วอ้างการแข่งขันแต่เอกชนลงทุนถึง 30 ปี และ 3. เอกชนเป็นผู้ลงทุนและทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการนี้ด้วย
นพ.ประวิทย์ พูดชัดเจนว่า กรุงเทพธนาคมยังไม่เคยส่งแผนมาให้ กสทช.เพราะตามประกาศของ กสทช.จะต้องมี การส่งแผน และเอกชนจะต้องคำนวณอัตราอ้างอิงมาด้วยและ กสทช.จะเปิดเผยผ่านทางเว็บไซต์ภายใน 15 วัน
“ตามหลักการแล้ว อายุของสัญญาต้องไม่เกินใบอนุญาต 15 ปี แต่โครงการนี้คิดมูลค่าโครงการล่วงหน้าปล่อยให้เช่า 30 ปี หลักการนี้ถือว่าไม่ปกติต้องไปถาม กรุงเทพธนาคมเจรจากับทรูเป็นสัญญาแบบไหน”
นายพงศ์ฐิติ : ปัญหาคือให้สิทธิ์ดำเนินการเป็นระยะเวลา 30 ปี คำถาม? คือแข่งขันเสรี จริงหรือไม่แค่นี้ก็ไม่ตอบโจทย์ เพราะเป็นทั้งผู้ให้บริการ และ เป็นผู้ขายบริการให้กับเอกชน รายอื่นดังนั้นปัญหาแบบนี้รัฐบาลควรเข้ามาแก้ไข
ไม่เชื่อกำกับดูแลได้
“ถ้าให้เอกชนดำเนินการเรื่องนี้จริง คำถาม คือ ศักยภาพข้อมูล การใช้ประโยชน์จากการคิดราคา หน่วยงานกำกับดูแลเข้าถึงรวดเร็วได้จริงหรือเพราะผู้ให้บริการเป็นผู้เล่นและเป็นผู้มีอำนาจกำกับดูแลถ้าเอกชนขอเช่าใช้ท่อเพิ่มทั้งที่ความจุยังไม่เต็มประสิทธิภาพการใช้งานเรื่องนี้สำคัญ ถ้ายืนยันเดินหน้าต่อการกำกับดูแลแข่งขันเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการเอกชนทุกราย เพราะการลงทุนลักษณะนี้ลงทุนครั้งเดียวเมื่อมีผู้ใช้จำนวนมากราคาต้องปรับตลอดเวลา ดังนั้นกฎกติกาต้องแผ่ให้เห็นไม่ใช่ให้แล้วเหมือนเขียนเช็คให้ว่างเปิดไว้” ดร.สกนธ์ กล่าว
นพ.ประวิทย์ กล่าวทิ้งทายว่า ทำไมกรุงเทพฯ ต้องแย่งทำกับ ทีโอที ถ้ากรุงเทพฯมองว่าเป็นธุรกิจเพื่อหารายได้เข้ากรุงเทพฯอันนี้เป็นวิธีคิดแบบหนึ่งของเจ้าของทรัพย์สินแต่ไปทำลายระบบการแข่งขันอื่นในอุตสาหกรรมอื่นนั้นคือ โครงข่าย ถ้าเป็นการจัดสรรความจุโครงข่ายโดยมีความต้องการไม่ใช้งานจริงนั้น คือ การกีดกัน แต่ถ้าทรู ใช้ความจุ 80% จริง แปลว่าท่อเดียวยังไม่พอยังมีผู้ประกอบการรายอื่น คือ 3บีบี และ เอไอเอส อีก แต่ถ้าทรูใช้ไม่ถึง 80% อันนี้คือการกีดกันการแข่งขัน
รายงาน โดย ทีมข่าวไอที
หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3491 วันที่ 28-31 กรกฎาคม 2562
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
● คุ้ยหลักฐาน กทม.ส่อพิรุธท่อร้อยสาย
● “สมเกียรติ”อัด กทม.ให้เอกชนผูกขาดท่อร้อยสาย
● แจงสัมปทานท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน30ปีโปร่งใส
● จี้รื้อสัมปทาน‘ทรู’ บิ๊กสื่อสารรุมต้านผูกขาด30ปีท่อร้อยสาย
● เปิดปูมท่อร้อยสาย 2หมื่นล้าน
● ทรูร่อนหนังสือแจงยังไม่ลงนามสัญญาท่อร้อยสายกทม.
● เบื้องหลังกทม.หักดิบ ยึดโครงการท่อร้อยสาย2หมื่นล.
● 6ยักษ์สื่อสารจี้นายกฯ เบรกท่อร้อยสายกทม.2หมื่นล.
● ท่อร้อยสายวุ่น จ่อรื้อสัญญาทรู
● ไขปม ท่อร้อยสาย ให้สิทธิ์เอกชน80%ไม่ผูกขาด
● ใคร...ลุยไฟ ใช้เงิน2.5หมื่นล้าน เพื่อสัมปทานท่อร้อยสาย 30ปี
● บิ๊กกรุงเทพธนาคม โต้ทุกข้อกล่าวหา ท่อร้อยสายสื่อสาร 2 หมื่นล้าน
● กทม.ลักไก่ ท่อร้อยสาย ไร้ราคากลาง
● ท่อร้อยสายใต้ดิน โอนผูกขาด อำนาจรัฐสู่เอกชน
● ‘รสนา’ชี้ทิ้งทวนท่อร้อยสาย ก่อนหมดวาระผู้ว่าฯกทม.
● สหภาพแคทฯ ร้องนายก ค้านท่อร้อยสาย
● ‘ทีโอที’ฮึดสู้! ปรับราคาท่อร้อยสาย
● 'กทม.' หน้ามืดตามัว มีใบอนุญาต 15 ปี ให้สัมปทาน 30 ปี
● ธนาคมฯฝืนกระแสจ่อเซ็นสัญญากับทรูฯ มูลค่า 2.5 หมื่นล้าน
● กสทช.สั่งรื้อโครงการท่อร้อยสายกทม.