จากการสำรวจไซเบอร์เซเคียวริตี เวนเจอร์ส บริษัทวิจัยและจัดทำรายงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่าผลกระทบจากการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ หรือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก อาจสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า 620,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 ตัวเลขดังกล่าวคิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 57 เท่า ของมูลค่าความเสียหายทั่วโลก
นายโทชิโร มิอุระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การเปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย – Security Operation Center As a Service หรือ SOCaaS เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริการด้านเทคโนโลยีในปี 2563 ในกลุ่มบริการด้านดิจิทัล DX- Modernize เพื่อให้บริการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนและให้คำแนะนำ ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับองค์กรของลูกค้าของทางบริษัทฯ โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจัดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในมูลค่าที่สูง สามารถเช่าใช้บริการได้
“Fujitsu เล็งเห็นถึงความต้องการของลูกค้าที่ต้องการปกป้องความปลอดภัยด้านไซเบอร์ขององค์กรแต่อาจยังไม่มีความพร้อมที่จะดำเนินการด้วยตนเอง Fujitsu SOCaaS สามารถให้ความมั่นใจได้ด้วยองค์ประกอบสำคัญที่สามารถตอบโจทก์ด้านระบบความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับลูกค้าองค์กร ด้วยความพร้อมของ 3 องค์ประกอบหลัก คือ ทีมงานที่เชี่ยวชาญ (People) มีระบบการจัดการที่ทันสมัยและให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง(Process) และได้ร่วมมือกับเทคโนโลยีพาร์ทเนอร์ LogRhythm (Technology) ที่แข็งแกร่ง
ด้านนายสุปรีดี วัฒนการุณ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจบริการ Managed Infrastructure Service, System Integration บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าศูนย์ Fujitsu’s Security Operation Center As A Service (SOCaaS) เป็นการให้บริการ Security Intelligence Platform ที่ทำให้การวิเคราะห์ถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่างๆ นั้นชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยการรวบรวมความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ และการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ทั้งในรูปแบบอัตโนมัติที่ทันสมัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ซึ่งทำให้สามารถค้นหาและตรวจจับถึงภัยคุกคามและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ข้อมูลและพฤติกรรมต่างๆที่ถูกรวบรวมมายัง SOCaaS ยังได้ถูกนำมาประเมินถึงความเสี่ยงและแจ้งเตือนถึงความเสี่ยงที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบต่อระบบของลูกค้า รวมถึงคำแนะนำ และแนวทางป้องกัน เพื่อช่วยลดการละเมิดการเข้าถึงข้อมูลหรือทรัพยากรต่างๆขององค์กรโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือก่อนที่เหตุการณ์ที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์จะเกิดขึ้น ซึ่งจะสามารถถูกตรวจพบได้ก่อนด้วย The Indicator Of Compromise และ Threat Intelligence Services (TIS) Feeds จึงทำให้สามารถตอบสนองและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์กรได้อย่างรวดเร็ว SOCaaS จะทำหน้าที่ประเมิน ตรวจสอบและแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรให้อยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง อีกทั้งยังเป็นการเตรียมการรับมือล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์บุกรุกขึ้น และเมื่อเกิดเหตุการณ์บุกรุกเกิดขึ้น ทีมงาน CSIRT จะเข้าดำเนินการตรวจสอบ ช่วยเหลือ และให้คำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะเดิมเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต
ขณะที่ นางสาวโจอานน์ หว่อง รองประธานฝ่ายขายตลาดต่างประเทศของ LogRhythm กล่าวว่า “จากผลการศึกษา CISO Benchmark พบว่า หลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ต่างเผชิญกับอุปสรรคสำคัญที่สุด 3 ข้อ ในการที่จะปรับใช้เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยที่ก้าวล้ำ ประกอบด้วย การขาดความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับเทคโนโลยีและกระบวนการ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และปัญหาเรื่องการใช้งานร่วมกับระบบรุ่นเก่า อย่างไรก็ดี องค์กรธุรกิจหลายแห่งพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคดังกล่าว ด้วยการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการที่เป็นผู้นำตลาด เพื่อรันและจัดการระบบรักษาความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มของ LogRhythm"