นายเลอทัด ศุภดิลก หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “สถานการณ์ COVID-19 ที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปี 2563 จนถึงในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของคนไทยแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะตอนนี้ที่หลายธุรกิจกำลังได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์และมองหาโอกาสเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ โดย LINE SHOPPING ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่ต้องการทำให้การซื้อขายบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะ Social Sellers บน LINE SHOPPING ส่วนใหญ่ล้วนเป็นธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Business) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวด้วยเป็นธุรกิจที่สร้างขึ้นจาก Passion มีความคิดสร้างสรรค์ คล่องตัวสูง และมีเงินทุนที่จำกัด
LINE SHOPPING เล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของธุรกิจรายย่อย ซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐกิจ และมีส่วนสร้าง GDP ให้กับประเทศถึง 34.7% จึงวางกลยุทธ์ในการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ประกอบการขนาดย่อย หรือ Micro Business โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยกลยุทธ์ 3 แกนหลัก ได้แก่
1. Freedom of Entrepreneurship ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และแข่งขันกับ e-marketplace ได้
2. Lower Cost of Doing Business ให้บริการช่องทางการขายฟรี ง่ายและสะดวก บนแพลตฟอร์ม LINE ที่มีผู้ใช้กว่า49 ล้านคน ลงทุนน้อย ขายได้รวดเร็ว พร้อมเสาะหาพันธมิตรที่มีวิสัยทัศน์สอดคล้องกัน อาทิ การร่วมมือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด คิดค่าส่งสินค้าเริ่มต้นที่ 19 บาท
3. Increase Connection Between Business and People สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนักช้อปกับผู้ขาย ซึ่งการสร้าง Engagement ถือเป็นเสน่ห์ของ Social Commerce ที่ทำให้นักช้อปและผู้ขายบนแพลตฟอร์มมีพื้นที่ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจในระยะยาว”
ในปีที่ผ่านมา LINE SHOPPING ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนร้านค้าหลั่งไหลเข้าสู่แพลตฟอร์มเติบโตถึง 7 เท่า หรือ 64% ปัจจุบันมีจำนวนร้านค้าถึง 200,000 ร้านค้า มีจำนวนลูกค้า (Buyer) สูงถึง 7 ล้านราย โดย 5 กลุ่มสินค้าที่ขายดีที่สุด ได้แก่ แฟชั่น สุขภาพและความงาม อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ภายในบ้าน และไอทีแกดเจ็ต ด้วยรูปแบบ Social Commerce ที่คนไทยคุ้นชิน สามารถให้ผู้ขายและผู้ซื้อพูดคุย (Chat) สอบถามรายละเอียดแบบเรียลไทม์ จึงเป็นเสมือนกุญแจสำคัญที่เป็นโอกาสทางธุรกิจในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุด และอีกความพิเศษคือ การนำเอา LINE POINTS มาจัดแคมเปญกระตุ้นการซื้อ ซึ่งนอกจากเป็นการช่วยให้ร้านค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว ยังสามารถเพิ่ม Basket Size ได้ถึง 50% และ เพิ่มอัตราการกลับมา ซื้อซ้ำถึง 12% นอกจากนี้ LINE SHOPPING ยังเผยข้อมูลที่ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมที่น่าสนใจของผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่คนนิยมซื้อของมากที่สุด อยู่ในช่วงเวลา 12:00 น. และ 20:00 น. นักช้อป 80% ชำระเงินโดยการโอนเงินผ่านธนาคาร และ 20% ชำระผ่านเครดิตการ์ดและ Rabbit LINE Pay
นายเลอทัด กล่าวเสริมว่า “LINE SHOPPING ยังได้พัฒนาประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ให้กับผู้ซื้อและผู้ขายใหม่ๆ อาทิ Curated Browsing Experience สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบ Seamless ผ่านการจัดหมวดหมู่สินค้าอย่างเป็นระบบระเบียบและสบายตา Easier Discovery เพิ่มช่องทางเข้าถึงร้านค้าด้วยฟีเจอร์ Search นอกเหนือจากการแอด LINE OA ของร้าน Campaign Support กับการสร้างช้อปปิ้งธีมในแต่ละเดือนเพื่อกระตุ้นการซื้อขาย พร้อมสมนาคุณผู้ซื้อด้วย LINE POINTS เพื่อสร้าง Traffic และการซื้อซ้ำ รวมทั้งกระตุ้นยอดขายผ่านคอนเทนท์สุดบันเทิง LIVE Commerce โดยนำดาราและเซเลบริตี้ที่มีชื่อเสียงมาดำเนินรายการ อาทิ รายการ @TuesLive โดยป้าตือ-สมบัษร รายการแซะแซ่บ โดย อั๋น-ภูวนาท และ บุ๋ม-ปนัดดา นอกจากนี้ยังเตรียมจัดกิจกรรมและสื่อการสอนผ่านออนไลน์ที่ดีไซน์มาเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (Micro Business) โดยเฉพาะ เพื่อให้เข้าใจเทรนด์และสามารถสร้างกลยุทธ์การขายของตัวเองผ่านทาง MyShop ได้ง่ายขึ้น”
ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงศักยภาพของ LINE SHOPPING ที่เป็นทั้งทางรอดในสถานการณ์ล็อกดาวน์สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยที่เป็นภาคธุรกิจที่มีความพิเศษเฉพาะตัว และเป็นทั้งแหล่งรวมร้านค้าโซเชียล ที่ให้นักช้อปได้สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยของไทย แนวทางการพัฒนาของ LINE SHOPPING ที่ยึดมั่นพันธกิจในการผลักดันผู้ประกอบรายย่อยให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปและสามารถแข่งขันได้ จึงเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำแพลตฟอร์ม Social Commerce ตัวจริงที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้ก้าวต่อไปได้อย่างไม่มีสะดุดอีกด้วย