“ไทยคม” ไม่ถึงทางตัน เปิดโต๊ะเจรจรา "NT" ทวงคืนสมบัติชาติ

22 ส.ค. 2564 | 23:06 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ส.ค. 2564 | 23:40 น.

ไทยคม” ไม่ถึงทางตัน หมดสัมปทานยังมีดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 บริหารอีกสองดวง เริ่มเจรจา “เอ็นที” แล้ว คาดรู้ผลไตรมาส 3 ทวงคืนสมบัติชาติ

พลันที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ หรือ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ออกมาประกาศคำสั่งมติบอร์ด กสทช.เลื่อนประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ในวันที่ 28 ส.ค. นี้ ตามที่สำนักงาน กสทช. เป็นผู้เสนอมา

 

ด้วยเหตุผลที่ว่ามีผู้ยื่นขอรับใบอนุญาติฯ เพียงรายเดียว คือ บริษัท ทีซี สเปซ คอนเน็ค จำกัด บริษัทฯดังกล่าวมีบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM ถือหุ้น 100% ก่อนหน้านี้  บริษัท มิวสเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (เอ็นที) ยื่นข้อเสนอแต่สุดท้ายก็ถอย

สปอร์ตไลท์มาส่องที่ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ด้วยเหตุผลที่ว่า ไทยคม กำลังสิ้นสุดสัมปทานดาวเทียมไทยคม 4 และ ไทยคม 6 ในวันที่ 10 กันยายน 2564

 

คำถาม?ที่ตามมา “ไทยคม” จะหาทางออกอย่างไร

 

เรื่องนี้ถือว่าเป็นความท้าทายของผู้ถือหุ้นรายใหม่ คือ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ของ เสี่ยกลาง (สารัชถ์ รัตนาวะดี) เจ้าของหุ้นโรงไฟฟ้าGULF ที่ประสบความสำเร็จทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์สมัครใจแบบมีเงื่อนไขก่อนทำคำเสนอซื้อ (Conditional Voluntary Tender Offer ) เข้ามาซื้อกิจการในบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ  INTUCH สำเร็จในราคาหุ้น 65 บาท  คิดเป็นหุ้นทั้งสิ้น 1,354,752,952 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนหุ้นที่ถือทั้งหมด 42.25% ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของTHCOM

แม้วันที่ 10 กันยายนนี้ ไทยคม จะสิ้นสุดสัมปทานดาวเทียมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส แต่อย่าลืมว่า ไทยคม ยังมีดาวเทียมบริหารต่ออีกสองดวง คือ ดาวเทียมไทยคม 7 และ ดาวเทียมไทยคม 8 ยังมีข้อพิพาทกับ กสทช.ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมจำนวน 10 ข่ายงานดาวเทียม หากแต่ ไทยคม ออกมายืนยันว่าดาวเทียมทั้งสองดวงไม่ใช่ดาวเทียมภายใต้สัญญาดำเนิน กิจการดาวเทียมสื่อสารฯ ("สัญญาสัมปทาน" เพราะ เป็นการดำเนินการภายใต้ระบบใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติสิทธิการใช้วงโคจรดังกล่าวจึงมิได้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาสัมปทาน บริษัทฯ จึงได้มีหนังสือขอให้ กสทช พิจารณาทบทวนมติดังกล่าวเพื่อให้สิทธิในการใช้

วงโคจรเป็นไปตามอายุใบอนุญาตการให้บริการโทรคมนาคมที่อนุญาตโดย กสทช หรือตามอายุของดาวเทียม แต่ กสทช ก็มี

หนังสือฉบับลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ถึงบริษัทฯ แจ้งว่า กสทช พิจารณาแล้วยืนยันตามมติเดิม หากบริษัทฯ ไม่เห็นด้วย

สามารถใช้สิทธิโต้แย้งโดยฟ้องที่ศาลปกครองได้ ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการยื่นคำฟ้องขอเพิกถอนมติดังกล่าวต่อศาล

ปกครองกลาง และยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของ กสทชและกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว

 

“ไทยคม” ไม่ถึงทางตัน เปิดโต๊ะเจรจรา \"NT\" ทวงคืนสมบัติชาติ

 

 

ศาลปกครองกลางสั่งทุเลา

 

และเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ศาลปกครองกลางไต่สวนคำร้องแล้ว โดยเรียก บริษัทฯ และ กสทช เข้ามาไต่สวน

และ ได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับของมติของ กสทช ดังกล่าว โดยให้ บริษัทฯ มีสิทธิในการใช้วงโคจรและข่ายงานดาวเทียมที่

เกี่ยวข้องต่อไป จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

 

ดังนั้น บริษัทฯ จึงยังคงมีสิทธิใช้วงโคจรดาวเทียมและให้บริการดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 และข่ายงาน

ดาวเทียมที่เกี่ยวข้อง ได้ตามปกติต่อไป จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น หาก มีความคืบหน้าเป็นประการใดบริษัทฯจะดำเนินการขี้แจงให้ทราบต่อไป

 

เจรจา “เอ็นที” เป็นพันธมิตรชัดเจนไตรมาส3

 

ก่อนหน้านี้ นายปฐมภพ สุวรรณศิริ รักษาการรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการค้า ของ ไทยคม เปิดเผยว่า บริษัทฯอยู่ระหว่างการเจรจากับ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินดาวเทียมไทยคม 4 และดาวเทียมไทยคม 6 ที่ NT ได้รับสิทธิบริหารดาวเทียมหลังจาก THCOM สิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 10 ก.ย.64 โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนในไตรมาส 3/64

 

“เราได้คุยกับทาง NT เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินเหล่านี้ เราอาจจะไปซื้อ Brandwidth ต่อจาก NT เพื่อให้บริการลูกค้าเราต่อ ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนพูดคุยกับ NT อยู่ เราคาดการณ์จะมีความชัดเจนในไตรมาสที่ 3 "นายปฐมภพ กล่าว

 

ดีอีเอส มอบให้ NT บริหารจัดการ

เมื่อเร็วๆ นี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ กรรมการ และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมลงนามในสัญญามอบสิทธิบริหารจัดการทรัพย์สินของโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศภายหลังสิ้นสุดสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ

 

การลงนามในสัญญาดังกล่าวเป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ และคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นชอบให้ NT เป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์สินของโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ จนสิ้นสุดอายุทางวิศวกรรมของดาวเทียม หลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 10 ก.ย. นี้

 

 

สุดท้ายแล้วเชื่อว่าข้อพิพาทของ “ไทยคม” น่าจะจบแบบ WIN WIN ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ถือหุ้นใหญ่จากเทมาเสกโฮลดิ้งส์ จากสิงคโปร์ ถูกเปลี่ยนมือมาเป็น “GULF” ของเสี่ยกลาง (สารัชถ์ รัตนาวะดี)  และ อย่าลืมว่า นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เคยร่วมงานกับบริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร่จี ดีเวลลอปเม้ท์ อีกด้วย

 

ที่สำคัญไปกว่านั้น รัฐบาลภายใต้การนำของกองทัพทั้งในอดีตและปัจจุบันพยายามทวงคืน  "ไทยคม"  กลับมาเป็นสมบัติของชาติเหมือนเดิม หลังจากตกไปอยู่ในมือกองทุนเทกมาเสกโฮลดิ้งส์ จากประเทศสิงคโปร์ 

 

ขณะที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ อดีตผู้ก่อตั้ง บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น INTUCH เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ออกมาไลฟ์สดในเพจ”CARE คิดเพื่อ คนไทย” ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ทางออกประเทศ และ ทางรอดประชาชน” ตอนหนึ่งว่า “สัมปทานดาวเทียมหมดอายุ หรือ ไม่หมดอายุไม่เกี่ยวกับผมแล้วผมขายหุ้นไปหมดแล้วไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วไปถามกับคนใหม่ เสี่ยกลาง”.