จากกรณีที่วันนี้ 18 กุมภาพันธ์ 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภค หรือ สอบ. จัดเสวนาภายใต้หัวข้อเรื่อง EP.1“ดีล True-Dtac ต้องโปร่งใส กสทช. ต้องรับฟังผู้บริโภค”
ไม่เห็นด้วยประชาชนแบกต้นทุนเพิ่ม 40%
นางสาวสารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเผยว่า สภาฯ ให้ความสำคัญประเด็นเรื่องผูกขาด และได้ลุกขึ้นมาคุ้มครองผู้บริโภคมีคดีได้ฟ้องเรื่องควบรวมกิจการค้าส่งและค้าปลีก เป็นประเด็นในอดีตรูปธรรมการแข่งขันครั้งนั้นจะสดวกและทางโล่งในกิจการสื่อสารหรือไม่
อย่างไรก็ตามการควบรวมธุรกิจระหว่าง ทรู กับ ดีแทค ได้ประกาศเมื่อปลายปีที่แล้วเรามีท่าทีชัดเจนไม่เห็นด้วยควบรวมครั้งนี้ เหตุผลทางเลือกผู้บริโภคลดลง ราคาย่อมส่งผลต่อผู้บริโภค งานวิจัยอังกฤษ จากผู้ประกอบการที่มีอยู่ 4 ราย ควบรวมแล้วเหลือ 3 รายงานวิจัยระบุชัดเจนผู้บริโภคจะได้รับต้นทุนเพิ่มขึ้น 40%
“ขอให้หน่วยงานดำเนินการอย่างรอบคอบ ซึ่งดำเนินการโดย กสทช.ชุดใหม่รอการแต่งตั้งอยู่นั้น ทางสภาฯได้ทำข้อเสนอไปยังหน่วยงานใหญ่ๆ ให้ดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด”
กสทช.ควรสั่งระงับควบรวม “ทรู-ดีแทค
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ได้แสดงความคิดเห็นว่า กสทช. หรือ (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม) ควรสั่งระงับควบรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมินิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เนื่องจากว่า ผู้ประกอบการอีกราย คือ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ทำเรื่องคัดค้านการควบรวมในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นการผูกขาดธุรกิจ ตำราเศรษฐศาสตร์เขียนไว้ชัดเจนว่า หากผู้ประกอบการอีกรายที่ไม่ได้ควบรวมคัดค้านการควบรวมหน่วยงานกำกับดูแลอนุญาติให้ควบรวมระหว่างกันได้ แต่อีกรายกลับไม่คัดค้านควบรวมก็สมควรสั่งระงับ
“หลักฐานที่ชัดเจนนั้นก็คือ ราคาหุ้นทั้งสามบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้น เอไอเอส แปลกตรงที่ว่า ไม่ได้ควบรวมราคาหุ้นกลับขึ้น ดีแทค กำลังต่อสู้ในตลาด เมื่อควบรวมราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ทรู ผลประกอบการไม่ดี ทำให้สองเมื่อมารวมธุรกิจระหว่างกันผลประกอบการดีขึ้น สองรายรวมกันเข้มแข้ง ขณะที่ เอไอเอส ก็ต้องสู้ด้านราคา แต่ปรากฏว่าราคาหุ้นเอไอเอส เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ผลควบรวมอำนาจเหนือตลาด ทำให้ตลาดกระจุกตัว”
อัพเดท : จี้ กสทช. Take action ดีล TRUE - DTAC ปิดช่องผูกขาด-แข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
ปิดซุปเปอร์ดีล “ทรู-ดีแทค” กระทบค่าครองชีพประชาชน
ขณะที่ นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ร่วมอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 ได้อภิปรายตอนหนึ่งว่า การปิดซุปเปอร์ดีลโทรคมนาคม การควบรวม ทรู-ดีแทค หากสำเร็จกระทบกับค่าครองชีพประชาชนโดยตรง ซึ่งบอร์ด กสทช. ชุดปัจจุบันที่อยู่มา 8 ปีแล้ว ได้แก้ประกาศเพื่อริบอำนาจตัวเองในการให้อนุญาตการควบรวม ว่า ต่อไปนี้ไม่ต้องมาขออนุญาต ให้ควบรวมแล้วมารายงานให้ กสทช. ทราบ แล้วถ้าเกิดผลกระทบกับสภาวะการแข่งขัน กสทช. ค่อยออกมาตรการหลังการควบรวม
ศิริกัญญา กล่าวว่า ที่ตนไม่เข้าใจก็คือ ตอนนี้กระบวนการสรรหา กสทช. ชุดใหม่ โดย ส.ว. เสร็จตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม ปีที่ผ่านมาแล้ว ชื่อไปค้างอยู่ที่นายกรัฐมนตรียังไม่ยอมทูลเกล้าฯ ให้ลงพระปรมาภิไธยจริงหรือไม่ ตนตั้งคำถามว่านายกรัฐมนตรีรออะไร รอให้บอร์ด กสทช. ชุดนี้ดูแลการควบรวมซูเปอร์ดีล ทรู-ดีแทค ให้จบก่อนใช่หรือไม่ ให้บอร์ดชุดที่แก้ประกาศลดอำนาจตัวเองดูแลดีลนี้ให้จบใช่หรือไม่ และจะไม่ยอมแก้ประกาศให้เป็นระบบขออนุญาตใช่หรือไม่
"ขอฝากคำถามทั้งหมดนี้ และข้อเสนอแนะปัญหาเหล่านี้ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้ตอบ เพราะเป็นความคับข้องใจอย่างยิ่ง แต่ไม่มีอะไรที่จะคับข้องใจไปกว่า การที่ประชาชนจะต้องทนกับสภาพนี้ไปอีกนานแค่ไหน เมื่อไหร่ท่านจะยอมรับว่า ท่านไม่เหลือความนิยม ไม่เหลือความชอบธรรมใดๆ ที่จะปกครองประเทศนี้ได้แล้ว เมื่อไหร่ท่านจะยอมลงจากอำนาจเพื่อเปิดทางให้ประชาชนได้เลือกผู้นำที่พวกเขาต้องการ และมีความชอบธรรมเต็มมาบริหารแผ่นดินนี้ ซึ่งนี่น่าจะเป็นคำถามที่ถามแทนใจประชาชนทั้งประเทศ” ศิริกัญญากล่าวทิ้งท้าย.