ร้องเรียน ทุจริตเลือกตั้ง เปิดขั้นตอน การดำเนินการ

07 พ.ค. 2566 | 06:58 น.
อัปเดตล่าสุด :07 พ.ค. 2566 | 07:10 น.

เปิดช่องทาง ร้องเรียน ทุจริตเลือกตั้ง ทั้งเลือกตั้งล่วงหน้า 7 พ.ค. 66 และ วันเลือกตั้งจริง 14 พ.ค. 66 เปิดขั้นตอน การดำเนินการ ช่องทางร้องเรียน ช่องทางดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นตาสับปะรด

การเลือกตั้งล่วงหน้า 7 พฤษภาคม 2566 และเลือกตั้งทั่วไปทั่วราชอาณาจักร ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ล้วนต้องปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พ.ศ.2561 และต้องไม่กระทำการทุจริต เลือกตั้ง

หากประชาชน พบเห็นการกระทำที่อาจเป็นการทุจริตเลือกตั้ง สามารถแจ้งเบาะแส ไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผ่านทาง 3 ช่องทาง ดังนี้

ช่องทางที่ 1 แอปพลิเคชัน “ตาสับปะรด”รายงานสถานการณ์ได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง หรือวีดีโอ

ดาวน์โหลด แอปพลิเคชั่น ตาสับปะรด

ช่องทางที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานครทุกแห่ง

ช่องทางที่ 3 สายด่วน กกต. 1444 หรือ ผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ 02-141-8579, 02-141-8858 และ 02-141-8860

โดย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงาน และเปิดช่องทางรับแจ้งเบาะแสการทุจริตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้ง 2566 ดังนี้

1. แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน ซึ่งมีอำนาจในการสืบสวนและไต่สวนการร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวม 128 คณะ

2. แต่งตั้งชุดปฏิบัติการข่าว เพื่อแสวงหาข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สำหรับการสืบสวน และไต่สวนชุดปฏิบัติการข่าว ส่วนกลางและจังหวัด รวม 88 ชุด

3. แต่งตั้งชุดเคลื่อนที่เร็ว เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต เผชิญเหตุ จับกุม คุมขัง ผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งและพรรคการเมือง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติแต่งตั้งชุดเคลื่อนที่เร็ว จำนวน 400 ชุดครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัด

4. จัดตั้งศูนย์ประสานงานการสืบสวนและไต่สวน เพื่อรับแจ้งเหตุหรือเบาะแสทุจริต และเป็นศูนย์ประสานงานระหว่างส่วนกลางและจังหวัด, ชุดปฏิบัติการข่าว และชุดเคลื่อนที่เร็ว ทั้งนี้ประชาชนสามารถแจ้งเหตุผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ 02-141-8579, 02-141-8858 และ 02-141-8860

5. รับแจ้งเหตุหรือเบาะแสทุจริตผ่านแอปพลิเคชันตาสับปะรด เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นช่องทางในการแจ้งเหตุการกระทำความผิดซื้อสิทธิขายเสียง โดยสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android

ทั้งนี้การกระทำที่อาจถือว่าเป็นการทุจริตเลือกตั้ง เช่น การซื้อเสียง ,ขายเสียงเลือกตั้ง ,การจัดเลี้ยงเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ,การทำลายป้ายหาเสียง ,การบังคับ ขู่เข็ญผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ,การขนคนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือรับกลับจากหน่วยเลือกตั้ง เป็นต้น

 

ที่มา กกต.