โหวตเลือกนายกฯ 2566 วันไหน คนที่เท่าไหร่

24 ก.ค. 2566 | 03:00 น.

โหวตนายกฯ วันไหน คนที่เท่าไหร่ ท่ามกลางการเฝ้าจับตาของสังคมกับการจัดตั้งรัฐบาลเเละการโหวตนายกรัฐมนตรีของไทยหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง ตรวจสอบรายละเอียด

การเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. 2566 ผ่านพ้นไปแล้ว คนทั้งประเทศต่างเฝ้าการจัดตั้งรัฐบาล และ โหวตนายกฯ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยในวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเลือก นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภา แบบไร้คู่เเข่ง ส่วนการเลือก นายปดิพัทธ์ สันติภาดา จากก้าวไกลเป็นรองประธานสภา คนที่ 1 นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เป็นรองประธานสภา คนที่ 2

โดยหลังจากนี้จะมีการเสนอรายชื่อ ประธานสภาฯ และ รองประธานสภาฯ ทั้ง 2 คน ทูลเกล้าฯ เพื่อทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป คาดว่าจะโปรดเกล้าฯ ภายในวันที่ 10 ก.ค. 2566

      

 

 

 

ขั้นตอนหลังจากนั้น ประธานสภาฯ ในฐานะประธานรัฐสภา จะนัดประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ได้มีการวางกรอบนัดประชุมรัฐสภาเพื่อลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 ก.ค.2566 นี้ 

รัฐบาลใหม่ 8 พรรคการเมือง 312 เสียง

  • ก้าวไกล มี ส.ส.151 เสียง
  • พรรคเพื่อไทย 141 เสียง
  • พรรคประชาชาติ 9 เสียง
  •  พรรคไทยสร้างไทย 6 เสียง
  •  พรรคเพื่อไทรวมพลัง 2 เสียง
  •  พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม และ พรรคพลังสังคมใหม่ พรรคละ 1 เสียง 

 

รัฐธรรมนูญให้อำนาจ ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ต้องใช้เสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร หรือ 251 เสียง แต่ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ กำหนดว่า ใน 5 ปีแรกของรัฐสภาใหม่ให้ ส.ว. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีกับ ส.ส. โดยรัฐสภาประกอบด้วย ส.ส. 500 คน และ ส.ว. 250 คน รวมเป็น 750 คน ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องได้รับเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของรัฐสภาหรือ 376 เสียง

ส.ส. ทั้งหมดมีจำนวน 500 คน

  • แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน
  • แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน

การโหวตนายกฯ หลังจากมติรัฐสภาทำให้ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดียวในบัญชีของพรรค ไม่ได้กลับมาอีกด้วยมติ 395 ต่อ 312 เสียง ว่า การเสนอชื่อพิธาเป็นนายกฯ เป็นญัตติต้องห้าม ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 ชื่อของเขาจึงถูกตีตก เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 66 หลังจากการโหวตรอบแรกเมื่อ 13 ก.ค. 66 มติที่ประชุมรัฐสภาไม่เห็นชอบ 

ขณะที่สังคมยังคงจับตาการโหวตนายกฯ อีกครั้ง หลังสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ออกหนังสือแจงเรื่อง การประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยเรียนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ด้วยประธานรัฐสภา ได้มีคำสั่งให้นัดประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 ในเวลา 09.30น.