นาย "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี กำลังเผชิญกับปัญหาใหญ่อีก 1 เรื่องเกี่ยวกับ บัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินที่เคยยื่นเอาไว้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เมื่อเป็น ส.ส.สมัยแรก กับพรรคอนาคตใหม่ และย้ายมาพรรคก้าวไกล ในปี 2562 โดยมีข้อกล่าวหาว่า "นายพิธา" ไปค้ำประกันหนี้จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้แจ้งในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
"ฐานเศรษฐกิจ" ตรวจสอบพบว่า ภาระการค้ำประกันหนี้ที่กำลังกลายเป็นปัญหาให้กับ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เกิดจากการเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อกับสถาบันการเงินให้กับบริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด ธุรกิจผลิตน้ำมันรำข้าว ของครอบครัว “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ในช่วงที่ "นายพิธา" เป็นกรรมการและดำรงตำแหน่ง Co-Founder & Managing Director ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2549 ถึง 6 มีนาคม 2560
จากเอกสารผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้จัดทำหมายประกอบงบการเงินบริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ไว้ในข้อ 11 ระบุข้อความดังนี้
"ภาระสินเชื่อ กิจการมีสินเชื่อกับสถาบันการเงิน โดยได้นำที่ดิน อาคาร เครื่องจักร และเงินฝากธนาคารไปเป็นหลักประกันทั้งมีกรรมการ และบริษัท พรพนา พาณิช จำกัด เป็นผู้ค้ำประกัน"
ในเอกสารฉบับดังกล่าวมีการลงนามรับรองโดย นายแสง ลิ้มเจริญรัตน์ และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะกรรมการ (ดูเอกสารประกอบ)
ขณะที่ปี 2559 ในหมายเหตุงบการเงินก็เขียนแบบเดียวกันแต่ไม่มีกรรมการลงนามรับรองเอกสาร เนื่องจากผู้ตรวจสอบบัญชีให้ความเห็นว่าเป็นงบการเงินที่ไม่ถูกต้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้เมื่อปี 2562 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อป.ป.ช. ว่ามีรายได้รวม 2,617,937.18 บาท มีรายจ่ายรวม 1.28 ล้านบาท มีทรัพย์สินรวม 137,785,190.85 บาท และมีหนี้สินรวม 22,954,064 บาท โดยมีหนี้สินได้แก่ เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 259,575 บาท ประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ 3 สัญญา ธนาคารธนชาต 1 สัญญา หนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ 22,694,489 บาท ประกอบด้วย ธนาคารยูโอบี ยอดหนี้คงเหลือ 21,811,981 บาท ลิสซิ่งกสิกรไทย ยอดหนี้คงเหลือ 882,508 บาท
อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวต้องดูว่านายพิธิได้มีการยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินต่อป.ป.ช.เพิ่มเติมหรือไม่ อีกทั้งต้องดูว่าในการทำสัญญาค้ำประกันหนี้เป็นการทำสัญญาค้ำประกันส่วนตัวหรือในฐานะกรรมการบริษัท สัญญาดังกล่าวมีผลผูกพันนายพิธาตามาหลังจากลาออกจากกรรมการและผู้บริหารบริษัทหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ป.ป.ช.จะต้องตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป
ตามกฎหมายป.ป.ช.บัญญัติว่า ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดว่าผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สิน หรือหนี้สินต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
เมื่อตรวจสอบหนี้สินที่บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด มีภาระกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ในช่วงที่นายพิธาเป็นกรรมการบริษัทในปีสุดท้าย พบว่า
บริษัท ออยล์ฟอร์ไลฟ์ จำกัด มีหนี้สินกับสถาบันการเงินรวม 460.3 ล้านบาท ประกอบด้วย
ส่วนเงินฝาก ณ สิ้นปี 2559 มีจำนวนรวม 20.6 ล้านบาท ประกอบด้วย
ขณะที่ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ณ สิ้นปี 2559 มีมูลค่าสุทธิ 244,381,438 บาท โดยที่ดิน อาคารและเครื่องจักร ได้จดจำนองเป็นหลักประกันหนี้ทุกชนิดไว้กับสถาบันการเงิน หลังหักค่าเสื่อมราคาแล้วมีมูลค่า 235.16 ล้านบาท ดังนี้
7 มิถุนายน 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้สัมภาษณ์ประเด็นดังกล่าวว่า เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา เพราะได้ประสานงานกับป.ป.ช.มาโดยตลอด ยังไม่เห็นข้อมูลทั้งหมด หากมีคนร้อง ยินดีชี้แจง ไม่ได้มีอะไรน่ากังวล และเป็นเรื่องปกติที่มีการนำเรื่องต่างๆมาสกัดกั้น แต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด
ขณะที่นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ชี้แจงกับเนชั่นทีวี ว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด เพราะเพิ่งได้รับเรื่องมา (แปลว่ามีข้อมูลหรือคำร้องมาจริง) พร้อมได้ทำหนังสือสอบถาม ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องตรวจสอบต่อแล้ว ซึ่งน่าจะใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งในการตอบกลับข้อมูล
สำหรับข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้ ป.ป.ช.ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่า มีมูลจริงหรือไม่ เพราะต้องตรวจสอบย้อนหลังไป 4 - 5 ปี หากมีมูลความผิด จะต้องตั้งคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง แต่จะดูเจตนาเป็นหลักว่า จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตั้งแต่แรกหรือไม่
สำหรับสถานะบริษัท ออยฟอร์ไลฟ์ จำกัด ในปี 2562 บริษัทได้ผิดนัดชำระหนี้ทั้งในส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้น และเงินกู้ยืมระยาวกับทางธนาคารแหลายแห่ง ทางธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ได้ดำเนินการฟ้องร้องแก่ศาล เพื่อให้ทางบริษัทชำระหนี้ ต่อมาบริษัทได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอฟื้นฟูกิจการ และศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2565 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ศาลล้มละลายกลางได้นัดฟังคำสั่งจำหน่ายคดี