"ธีระชัย"วิเคราะห์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง

28 ก.พ. 2565 | 05:30 น.
อัปเดตล่าสุด :04 มี.ค. 2565 | 17:07 น.

อดีตขุนคลัง "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" ประเมิน วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน หลังประเทศตะวันตกแซงชั่น"ธนาคารชาติ"ของรัสเซีย ชี้หากถึงขั้นแช่แข็งไม่ให้ธนาคารชาติรัสเซียใช้ทุนสำรอง จะกระทบรุนแรง สงครามยืดเยื้อ ดันราคาสินค้าพุ่ง - ขาดแคลนอาหาร

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งได้เกาะติดสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน มาอย่างต่อเนื่อง  ได้ถ่ายทอดมุมมองผ่านบทความ "เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ" ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thirachai Phuvanatnaranubala  โดยในบทความตอนที่ 20 ได้อัพเดทสถานการณ์ หากสงครามยืดเยื้อจะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร ระบุว่า

 

\"ธีระชัย\"วิเคราะห์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง

(รูปที่ 1) มาตรการแซงชั่นธนาคารพาณิชย์บางราย ได้ปิดช่องที่ชาวรัสเซียจะแลกธนบัตรเป็นดอลลาร์โดยสิ้นเชิง มีคิวยาวหน้าธนาคาร แต่สุดท้ายธนาคารก็หมดธนบัตร 

 

การแซงชั่นธนาคารพาณิชย์ ถึงแม้กระทบการนำเข้าส่งออก แต่ก็ยังมีวิธีอ้อมหลังได้ระดับหนึ่ง

 

แต่มาถึงวันนี้ การแซงชั่นได้ก้าวล่วงไปถึงธนาคารชาติ นับว่าจะมีผลรุนแรง เพราะประเทศตะวันตกสามารถแช่แข็งทุนสำรองของรัสเซียได้เลย

 

ในอดีต สหรัฐเคยแซงชั่นธนาคารชาติเฉพาะเศรษฐกิจขนาดเล็ก เช่น อิหร่าน เวเนซูเอลา แต่รัสเซียเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่กว่ามาก

 

\"ธีระชัย\"วิเคราะห์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง

 

(รูปที่ 2 )  แสดงทุนสำรองของรัสเซีย บรรทัดบนสุด ทุนสำรองส่วนใหญ่ 23.3% เป็นทองคำแท่ง เก็บอยู่ในธนาคารชาติรัสเซีย นับว่าได้วางแผนปลอดภัยระดับหนึ่ง

 

อันดับสอง 14.2% เก็บอยู่ที่ธนาคารชาติของจีน อันดับเจ็ด เก็บอยู่ที่องค์กรระหว่างประเทศ 5.0% ซึ่งทั้งสามกรณีสามารถนำเอามาใช้ได้

 

แต่ที่เหลือ เก็บอยู่ในรูปการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลชาติต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น 12.7% เยอรมันนี 10.8% ฝรั่งเศส 10.2% สหรัฐ 6.8% และอังกฤษ 4.4%

 

ถ้าหากยุโรปแซงชั่นไม่ให้ธนาคารชาติรัสเซียใช้ทุนสำรอง ทั้งที่เป็นเงินของรัสเซียเอง ไม่ใช่เงินที่กู้ยืมจากประเทศเหล่านี้  มาตรการนี้ก็จะกระทบการชำระเงินระหว่างประเทศอย่างแน่นอน
 

สงครามยืดเยื้อกระทบต่อศก.โลก

 

รัสเซียอาจจะส่งออกสินค้าลดลง และถ้าสงครามยืดเยื้อ อาจจะเริ่มมีผลกระทบต่อ supply chain ทั่วโลก ในอีก 2 เดือนข้างหน้า

 

 

\"ธีระชัย\"วิเคราะห์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง

 

(ภาพแสดงราคาก๊าซธรรมชาติได้ขยับสูงขึ้นไปแล้วอย่างมาก)

 

\"ธีระชัย\"วิเคราะห์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง


(รูป 4)  ราคาข้าวสาลีเริ่มพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน เพราะทั้งรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ รวมกัน 23% ของตลาดโลก

 

ราคาอาหารจะสูงขึ้นจากอีกปัจจัยหนึ่ง คือราคาปุ๋ย ซึ่งรัสเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกอีกด้วย 

 

และครั้งสุดท้ายที่โลกเกิดปัญหาเรื่องอาหารขาดแคลน ก็นำไปสู่ความวุ่นวาย Arab Spring

 

\"ธีระชัย\"วิเคราะห์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง

 

แต่มีหลายรายการ ที่จะกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมตะวันตก เช่น รูป 5 การผลิตแร่ Palladium ซึ่งใช้ในระบบท่อไอเสียรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ 
ล่าสุดราคาได้สูงขึ้น 80% จากเดือน ธ.ค. 2021

 

\"ธีระชัย\"วิเคราะห์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง

 

ในรูป 6 รัสเซียเป็นผู้ผลิตส่งออกรายใหญ่ ในแร่ธาตุที่ใช้ทำชิพคอมพิวเตอร์ เช่น Neon และ Platinum

 

ผู้ผลิตชิพมีวัสดุเหล่านี้เก็บสต๊อคในมือ เฉลี่ยเพียง 2-4 สัปดาห์เท่านั้น 
และจะมีผลกระทบไม่เฉพาะโทรศัพท์มือถือ แต่จะไปถึงอุตสาหกรรมรถยนต์อีกด้วย เพราะรถยนต์คันหนึ่งๆ ใช้ชิพหลายร้อยตัว
 

 

\"ธีระชัย\"วิเคราะห์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง (รูป 7)  ฝ่ายกลาโหมสหรัฐประเมินว่า กองทัพรัสเซียคืบหน้าช้ากว่าที่คาดไว้ ส่วนหนึ่งเกิดจากทหารยูเครนต่อสู้แบบเข้มข้น 

 

แต่รัสเซียยังใช้กองกำลังไปแค่กึ่งหนึ่ง จึงยังมีเหลืออยู่อีกมาก

 

\"ธีระชัย\"วิเคราะห์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อกระทบเศรษฐกิจโลกรุนแรง

(รูป 8)  แหล่งข่าวรัสเซียอ้างว่า แผนเดิมกำหนดเวลา 1-2 สัปดาห์อยู่แล้ว มิใช่ 2-3 วันตามที่ฝ่ายสหรัฐคาด และสาเหตุที่ต้องใช้เวลานาน 1-2 สัปดาห์ ก็อ้างว่า เพราะรัสเซียไม่ประสงค์จะยึดครองเมืองใหญ่ที่จะทำให้ชาวยูเครนล้มตายจำนวนมาก

 

ข้อมูลที่โต้กันสองฝ่าย จึงยังไม่มีข้อยุติที่ชัดเจน

 

ล่าสุด ประธานาธิบดียูเครน ประกาศใหม่ พร้อมจะเข้าขบวนการเจรจา เพียงแต่ไม่เอาสถานที่เบลารุส

 

ความหวังที่สงครามอาจจะยุติได้โดยเร็ว จึงฉายแววขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

 

นอกจากนี้ คนยูเครนที่ไม่สามารถเบิกเงินออกจากระบบธนาคารได้ บัดนี้ก็ได้ตระหนักถึงคุณค่าของเงินคริปโทแล้ว

 

รวมทั้งเรื่องการเอาทุนสำรองทางการไปลงทุน 

 

สำหรับบางประเทศ ในอนาคตอาจจะต้องเลี่ยงการซื้อพันธบัตรรัฐบาลตะวันตก และอาจจะต้องเริ่มศึกษา ทางเลือกการลงทุนในเงินคริปโทด้วยเช่นกัน
 

หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

อ่านบทความ : เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ ตอนอื่นๆ ได้ที่เฟซบุ๊ก :  Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล