คณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FTC) เปิดเผยสถิติช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 มิ.ย.) ว่า ประชาชนจำนวนกว่า 46,000 คน ยอมรับว่าพวกเขาสูญเงินมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 34,300 ล้านบาทใน การฉ้อโกงด้านคริปโตเคอร์เรนซี นับตั้งแต่ต้นปี 2564
ทั้งนี้ การขาดทุนจากการโดนฉ้อโกงในปีที่แล้ว (2564) คิดเป็นมูลค่าเกือบ 60 เท่าของการขาดทุนในปี 2561 ซึ่งแต่ละรายขาดทุนเฉลี่ย 2,600 ดอลลาร์สหรัฐ
ประชาชนที่สูญเงินเปิดเผยกับ FTC ว่า พวกเขาได้เคยจ่ายเงินคริปโตให้ผู้ฉ้อโกง ส่วนใหญ่เป็นบิตคอยน์ (70%) เทเธอร์ (10%) และอีเธอร์ (9%)
เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่รายงานต่อ FTC ว่าสูญเงินคริปโตจากการหลอกลวงนับตั้งแต่ปี 2564 นั้น ระบุว่า การฉ้อโกงเริ่มต้นด้วย “ข้อความหลอกลวง” บางประเภทบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยแพลตฟอร์มยอดนิยมที่ถูกพูดถึงในการร้องเรียนนี้ได้แก่ อินสตาแกรม (32%) เฟซบุ๊ก (26%) วอตส์แอป (9%) และเทเลแกรม (7%)
เว็บไซต์และแอปฯเกี่ยวกับการลงทุนปลอมทำให้ประชาชนสูญเงินคริปโตราว 575 ล้านดอลลาร์ในปี 2564 โดยประชาชนที่ถูกหลอกให้ลงทุนในเว็บหรือแอปฯปลอมดังกล่าวไม่สามารถถอนเงินลงทุนคืนได้
นอกจากนี้ การหลอกลวงแบบโรมานซ์ ยังเป็นอีกรูปแบบการหลอกลวง ที่มาของการสูญเงินจากการฉ้อโกงคริปโตที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง โดยเป็นการหลอกเหยื่อให้รัก เพื่อหวังแสวงหาผลประโยชน์จากความเชื่อใจของเหยื่อ
รองลงมาเป็น การหลอกลวงโดยการแอบอ้างเป็นองค์กรธุรกิจหรือรัฐบาล ซึ่ง FTC กล่าวว่ามักจะเริ่มต้นด้วย “ข้อความปลอม” ที่อ้างว่ามาจากบริษัทเทคโนโลยี เช่น แอมะซอน หรือไมโครซอฟท์
ทั้งนี้ คนที่มีอายุน้อย มีแนวโน้มที่จะถูกหลอกลวงในกลโกงคริปโต โดย FTC รายงานว่า ผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 49 ปีมีโอกาสมากกว่ากลุ่มคนอายุมากกว่าถึงสามเท่าที่จะสูญเงินให้กับกลุ่มนักต้มตุ๋น
สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวง FTC ได้ออกคำเตือนว่า