รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Piti Srisangnam ร่วมไว้อาลัยการจากไปของ นายชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ผู้ถึงแก่อสัญกรรมจากเหตุการณ์ถูกลอบสังหารเช้าวันนี้ (8 ก.ค.) ด้วยการรำลึกถึงอีกผลงานของนายอาเบะ นั่นคือ “นโยบายสังคม 5.0” ซึ่งเป็นการคิดนอกกรอบแต่รอบด้านครอบคลุมทุกมิติเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน เนื้อหาบทความมีดังนี้
รำลึก #ShinzoAbe
หลายๆ คนจดจำอดีตนายกฯ ท่านนี้เพราะแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบผ่อนคลาย เปิดกว้าง สนับสนุนให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานในญี่ปุ่น สนับสนุนให้คุณผู้หญิงเข้ามาทำงานแล้วมีสิทธิในทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ซบเซามานานทำท่าว่าอาจจะขยับขึ้นได้เล็กน้อยภายใต้แนวคิดที่เรียกกันว่า #Abenomic
บางคนจดจำบทบาทที่เขาใกล้ชิดสหรัฐอเมริกา และดูเหมือนจะทำการยั่วยุจีนในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะการเข้าเคารพศาลเจ้ายาสุคุนิ ที่เป็นที่ประดิษฐานป้ายวิญญาณของอาชญากรรมสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทำให้ฝ่ายจีนไม่พอใจในหลายๆรอบ แต่ในที่สุดชินโซอาเบะ คือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกในรอบหลายปี ที่เดินทางไปกรุงปักกิ่ง และคุยกับสีจิ้นผิง ว่าจีนกับญี่ปุ่นน่าจะจับมือกันไปลงทุนในประเทศที่ 3
คนจำนวนมากจดจำเขาได้จากการแต่งชุดเป็นซุปเปอร์มาริโอ้ในพิธีส่งมอบการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศบราซิล
แต่สำหรับผม ผมต้องการจดจำชินโซอาเบะ ในฐานะผู้ที่สนับสนุน จนญี่ปุ่นสร้างแนวคิด #สังคม5.0
การคิดนอกกรอบแต่รอบด้านครอบคลุมทุกมิติเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนในวันที่ทั่วโลกพูดถึงแต่อุตสาหกรรม 4.0 แต่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้าปัญหาสังคม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผ่านญี่ปุ่นผลักดันนโยบายสังคม 5.0 อย่างต่อเนื่องต่อไป เหตุสลดที่เกิดขึ้นในวันนี้ ก็คงจะไม่เกิดขึ้นอีก
สังคม 5.0 คืออะไร เชิญชวนอ่านครับ
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีในยุคของการเปลี่ยนผ่าน โดยมีอุตสาหกรรมเป็นจุดศูนย์กลาง ที่เรียกว่า อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ซึ่งมีประเทศเยอรมันเป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงหากแต่ประเทศญี่ปุ่นกลับพิจารณาการปฏิรูปให้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน โดยมีสังคมเป็นจุดศูนย์กลางภายใต้ นโยบายสังคม 5.0 (Society 5.0) ซึ่งญี่ปุ่นตั้งวิสัยทัศน์ของการปฏิรูปครั้งนี้ว่า “A People-Centric Society Founded on the Merging of Cyberspace and Physical Space” สังคมที่มีมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางบนพื้นฐานของการประสานกันระหว่างโลกไซเบอร์และโลกกายภาพ โดยอุตสาหกรรม 4.0 และ สังคม 5.0 มีข้อเหมือนและข้อแตกต่างที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ดังตารางต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบอุตสาหกรรม 4.0 และ สังคม 5.0
ญี่ปุ่นจำแนกพัฒนาการทางสังคมที่ผ่านมาออกเป็น 4 ยุค ได้แก่
โดย สังคม 5.0 ของญี่ปุ่นจะต้องเป็นสังคมแห่งอนาคตที่พัฒนาต่อยอดจากสังคม 4.0 ในมิติสำคัญๆ ดังนี้ (Keidanren, 2018)
ในการนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้นำในการปฏิรูป โดยเริ่มต้นในปี 2016-2017 ผ่านยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ The 5th Science and Technology Basic Plan ในปี 2016 และ Comprehensive Strategy on Science, Technology and Innovation for 2017
โดยแผนดังกล่าวเน้นการสร้างสังคมและเศรษฐกิจใหม่ด้วยการปฏิรูปปัจเจกบุคคลให้มีพลังสามารถกำหนดวิถีชีวิตที่เปี่ยมสุขภาวะ ปฏิรูปองค์กรธุรกิจให้สร้างคุณค่าใหม่ เพิ่มผลิตภาพและนวัตกรรมจากกระบวนการดิจิทัล และแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาจำนวนประชากรที่คนเกิดน้อยลงและอายุยืนมากขึ้น ปัญหาภัยพิบัติและการก่อการร้าย และปัญหาสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนทรัพยากร
นอกจากนี้ แผนดังกล่าวยังเสนอให้ญี่ปุ่นต้อง “ทำลายกำแพงทั้ง 5 ” อันประกอบด้วย
ซึ่งจะทำลายกำแพงนี้ได้ ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูงให้เข้ามาตอบโจทย์สังคม ตัวอย่างโครงการ เช่น ที่ผ่านมาการแข่งขันที่รุนแรงในทางธุรกิจทำให้เกิดทรัพยากรบุคคลเกิดความเครียดและขาดความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงการประกาศพื้นที่ “ไม่แข่งขัน” ที่เป็นการพัฒนา เติบโต และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างบริษัทญี่ปุ่นกับบริษัทต่างชาติ การสร้างงานศึกษาโครงการต่างๆ ที่เป็นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ กิจกรรมขยายตลาดสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม 5.0 กิจกรรมปฏิรูปโครงสร้างองค์กรให้เป็นมิตรต่อพนักงานมากขึ้น เป็นต้น
จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมญี่ปุ่น ในนาม สังคม 5.0 จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในอนาคตที่ทำให้การขยายอิทธิพลโดยใช้พลังอำนาจอ่อน (Soft Power) มีพลานุภาพสูงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่เคยได้รับอิทธิพลทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมาแล้วอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศไทย และเพื่อนบ้านประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยที่ได้เข้าสู่ภาวะโครงสร้างประชากรสูงวัยเต็มขั้น (Aged Society) ในปี 2020/2021 ซึ่งก็ต้องเผชิญปัญหาทางสังคมในรูปแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นเคยเผชิญมาแล้วในอดีต
โดยแนวโน้มการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ควบคู่ไปกับพัฒนาสังคม (เน้นความสะดวกสบาย ความมีชีวิตชีวา และคุณภาพชีวิตที่ดี) ที่จะได้เห็นในอนาคตโดยประเทศญี่ปุ่น จะมีลักษณะตัวอย่างดังต่อไปนี้