การค้นหาเรือดำน้ำไททัน ของ OceanGate Expeditions ต้องแข่งขันกับเวลาอย่างบ้าคลั่ง เมื่อเจ้าหน้าที่กล่าวว่าคนที่อยู่บนเรือใช้ออกซิเจนมากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณออกซิเจน 96 ชั่วโมงแล้ว
ช้อมูลล่าสุดเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมาประมาณ 17.00 น. ตามเวลาไทย สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ US Coast Guard ซึ่งเป็นผู้นำในการค้นหาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 6 ชั่วโมงที่แล้ว โดยอัพเดตครั้งใหญ่ครั้งล่าสุดว่า เครื่องบิน P-3 ของแคนาดาตรวจพบเสียงใต้น้ำในพื้นที่ค้นหา
การดำเนินการ ROV (ยานพาหนะที่ควบคุมจากระยะไกล) ถูกย้ายเพื่อพยายามสำรวจที่มาของเสียง แม้การค้นหา ROV เหล่านั้นให้ผลลัพธ์เชิงลบ แต่ยังคงดำเนินต่อไป ส่วนข้อมูลจากเครื่องบิน P-3 ได้ถูกแบ่งปันกับกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อการวิเคราะห์เพิ่มเติม ซึ่งจะพิจารณาในแผนการค้นหาต่อไป
แฟรงก์ โอเว่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาและกู้ภัยเรือดำน้ำในออสเตรเลีย บอกกับ นักข่าวของบีบีซีว่า ความมั่นใจของเขาเพิ่มขึ้น เมื่อมีรายงานว่า เครื่องตรวจจับเสียงที่ลอยอยู่ตรวจจับการกระแทกได้ นั่นน่าจะมี 2-3 เหตุผล คือ บนเรือลำนี้มีนักประดาน้ำของกองทัพเรือฝรั่งเศสที่เกษียณแล้ว เขาจะรู้ระเบียบปฏิบัติในการพยายามแจ้งเตือนกองกำลังค้นหา
สัญญาณเสียงที่ทุ่นจับได้ใกล้กับผิวน้ำยังบ่งชี้ว่าตัวเรือดำน้ำอาจอยู่ใกล้หรืออยู่ที่ผิวน้ำก็ได้ แต่แม้ว่าเรือดำน้ำไททันจะอยู่บนผิวน้ำ แต่ก็ยากที่จะมองเห็นได้ และการใช้ทุ่นตรวจจับเสียงหลายชุดเพื่อระบุตำแหน่งสัญญาณอาจทำให้ตำแหน่งแคบลง
ขณะที่ ไซมอน โบซาลล์ อาจารย์อาวุโสด้านสมุทรศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย เซาแธมป์ตัน ก่อนหน้านี้บอกว่าเสียงใต้น้ำทำให้ความหวังว่าคนที่อยู่บนเรือยังมีชีวิตอยู่
ต่อไปนี้เป็นการจำลอง ความลึกของซากไททานิค ที่เรือดำน้ำลงไปสำรวจ
ซากเรือไททานิกลึคแค่ไหน?
ภาพจาก USA Today และข้อมูลชี้ให้เห็นว่า เรือไททานิคอยู่ห่างจากนิวฟันด์แลนด์ ประเทศแคนาดา ประมาณ 370 ไมล์ ที่ความลึกประมาณ 12,500 ฟุต การเดินทางไปยังไซต์มักใช้เวลาประมาณสองชั่วโมง มีเรือเพียงไม่กี่ลำที่สามารถทนแรงดันที่ระดับความลึกดังกล่าวได้
เรือดำน้ำ Titan ที่บรรทุกคนได้ 5 คน น้ำหนักประมาณ23,000 ปอนด์ (10,432 กก.) ความยาว6.7 ม. (22 ฟุต) สามารถเข้าถึงความลึกได้ถึง4,000m (13,123ft)ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เครื่องขับดันไฟฟ้าสี่ตัวช่วยให้ทำความเร็วได้ประมาณ3 นอตหรือประมาณ 3.5 ไมล์ต่อชั่วโมง (4 กม./ชม.) ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์และไทเทเนียม
นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลของประเศไทย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ติดตามการค้นหาเรือดำน้ำและหวังว่าปาฏิหาริย์จะมีจริงเช่นเดียวกันกับผู้คนทั่วโลกที่ติดตามข่าวนี้
เขาได้โพสต์เฟซบุ๊ค ระบุว่า การกู้ภัยเรือดำน้ำ Titan เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล จึงขอพาไปตามสถานการณ์แบบต่อเนื่อง
การค้นหา 3 บริเวณ มีความคืบหน้าอย่างไร
บนผิวน้ำ
ใช้เครื่องบินเป็นหลัก ตอนนี้บินหาในพื้นที่กว้างมากกว่า 2 หมื่น ตร.กม.
ปัญหาสำคัญคือ เเม้เรือดำน้ำ Titan ลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ แต่ประตูเปิดจากข้างในไม่ได้ ต้องให้คนข้างนอกมาเปิดให้ เพราะฉะนั้นคนข้างในยังคงต้องใช้ออกซิเจนที่มีจำกัดต่อไป จนกว่าจะมีทีมกู้ภัยมาเจอ
การทุบเรือลำนี้ให้เป็นรูหรือทุบกระจกเป็นไปไม่ได้ เพราะสร้างจากไททาเนี่ยม ป้องกันแรงกดดัน 370 เท่า (ลงไปใต้น้ำ แรงกดดันเพิ่ม 1 บรรยากาศต่อความลึก 10 เมตร)
กลางน้ำ
เครื่องบินทิ้ง Sonar probe ลงมาตามจุดต่างๆ นอกเหนือไปจากการใช้เรือ เพื่อครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
มีรายงานว่าได้ยินเสียงใต้น้ำ แต่ยังไม่ยืนยันว่าเป็นเสียงอะไรหรือที่ไหน
บนพื้น
มีการส่งอุปกรณ์สำรวจทะเลลึกมาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กองทัพเรือสหรัฐ (อุปกรณ์เป็นความลับทางทหาร) ยานสำรวจไร้คน (ROV) จากฝรั่งเศสและอังกฤษ (ส่วนใหญ่เป็นของบริษัทขุดเจาะน้ำมัน/วางท่อ โดยเฉพาะในยุโรปที่หลายแหล่งอยู่ลึก)
เรือ Atalante สำรวจทะเลลึกของฝรั่งเศสพร้อมยานสำรวจที่ลงได้ถึง 4,000 เมตร กำลังเดินทางมาที่จุดหมาย น่าจะเป็นความหวังมากที่สุดในขณะนี้
เมื่อเจอ Titan แผนช่วยเหลือจะปรับตามสภาพว่าควรทำอย่างไร
อากาศเหลือพอใช้ถึงวันพฤหัสบดีตอนค่ำ นี่คือการกู้ภัยใต้ทะเลลึกครั้งสำคัญสุด และเป็นการระดมพลังในทุกด้าน ทุกเทคโนโลยีที่โลกคิดค้นมาในการสำรวจทะเลลึก
ข้อมูล : USA Today , Thon Thamrongnawasawat , bbc.com , independent.co.uk , nytimes.com