ทำไมต้อง อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ผู้นำเบลารุส ปิดดีลลับจบศึก ปูติน-แวกเนอร์

26 มิ.ย. 2566 | 07:04 น.
อัปเดตล่าสุด :26 มิ.ย. 2566 | 07:19 น.

กลุ่มกบฏแวกเนอร์ ยุติบุกกรุงมอสโก เพราะมีตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เเล้วทำไมต้อง อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ผู้นำเบลารุส ปิดดีลลับจบศึก ปูติน-แวกเนอร์

วิกฤตการณ์ครั้งใหญ่เขย่ารากฐานของรัสเซียเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ลูกน้องผู้ซื่อสัตย์ “เยฟเกนี พริโกชิน” ผู้นำกองกำลังนักรบ แวกเนอร์ กรุ๊ป (Wagner Group) ท้าทายอำนาจเครมลิน เคลื่อนกำลังจากยูเครนมุ่งสู่รัสเซียท่ามกลางข้อครหาว่าเป็นการก่อกบฏ มีการวิเคราะห์ว่า ถือเป็นเวลา 36 ชั่วโมงวุ่นวายในรัสเซียที่แสดงให้เห็นว่าปูตินอ่อนแอที่สุดในรอบ 23 ปี

และคำถามที่ตามมาก็คือ ทำไมเรื่องการกบฏในรัสเซียของกลุ่มทหารรับจ้างเอกชนจึงจบลงอย่างรวดเร็ว ? จะเกิดอะไรขึ้นกับ แวกเนอร์ กรุ๊ป  กองกำลัง พริโกชิน จะปฏิบัติตามกองทัพรัสเซียหรือไม่? พวกเขาจะยังจงรักภักดีต่อหัวหน้ากลุ่ม ? แล้วกองกำลังแวกเนอร์จะปฏิบัติการอย่างไรต่อไป  

สภาล่างของรัสเซียกำลังดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายเพื่อควบคุม กลุ่มแวกเนอร์ ท่ามกลางการคาดเดาเกี่ยวกับอนาคตของกลุ่มทหารรับจ้างเหล่านี้ นับตั้งแต่ พริโกชิน หัวหน้ากลุ่ม ก่อการจลาจลเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

มีผู้พบเห็นเขาครั้งสุดท้ายออกจากรอสตอฟ-ออน-ดอน (Rostov-on-Don)  เมืองท่าและศูนย์กลางการปกครองของแคว้นรอสตอฟและเขตสหพันธ์ใต้ของรัสเซีย เมื่อช่วงดึกของวันเสาร์ ด้วยรถ SUV สีดำ หลังจากที่เครมลินกล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวยุติลงจาก โดย อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ประธานาธิบดีเบลารุส เป็นผู้ไกล่เกลี่ย 

หากย้อนกลับไปในวันเกิดเหตุ การเดินทัพไปยังกรุงมอสโกที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยไมล์ของ กลุ่มแวกเนอร์ แต่จู่ๆ สถานการณ์ก็พลิกกลับอย่างงุนงง กองทัพหันหลังกลับเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด ขณะที่เครมลินอ้างว่าประธานาธิบดีแห่งเบลารุส เป็นตัวกลางเจรจาไกลเลี่ย ซึ่งมีการเปิดเผยถึงการเจรจาระหว่างผู้นำเบลารุส และพริโกซิน โดยมีปูตินรวมพูดคุย

ตามข่าวของประธานาธิบดีเบลารุส ข้อตกลงที่ทำกับพริโกชิน คือ คดีความทางอาญาเกี่ยวกับการกบฏของเขาและกองกำลังแวกเนอร์จะถูกยกเลิกทั้งหมด และเครื่องบินรบของแวกเนอร์จะถูกรวมเข้ากับโครงสร้างทางทหารอย่างเป็นทางการ โดยการลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมรัสเซีย แต่พริโกชินที่ยังไม่ทราบที่อยู่ในขณะนี้ ยังไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว 

 

สำนักข่าวของทางการเบลารุสรายงานเมื่อวันอาทิตย์ (25 มิ.ย.) ว่าผู้นำเบลารุส พูดทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีปูติน ในเช้าวันอาทิตย์อีกครั้ง เจ้าหน้าที่เบลารุสบอก สำนักข่าว CNN ว่า พวกเขาไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานะของพริโกชินในเบลารุสจะเป็นอย่างไร และไม่สามารถยืนยันได้ว่าเขามาถึงประเทศแล้วหรือไม่

ทำไมต้องเป็น อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ประธานาธิบดีเบลารุส ? 

เรื่องนี้ ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า ความจริงก็คือ ประธานาธิบดีเบลารุส รู้จัก พริโกชิน เป็นการส่วนตัวมาเป็นเวลานานประมาณ 20 ปี 

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีเบลารุส ยังเป็นหุ้นส่วนในความสัมพันธ์กับปูติน เเละเหตุการณ์สำคัญคือ ในช่วงที่ ลูกาเชนโก เผชิญหน้ากับผู้ประท้วงอย่างรุนแรง ปูตินอนุมัติเงินกู้ 1,500 ล้านดอลลาร์ (ราว 46,800 ล้านบาท) แก่รัฐบาลเบลารุส ครั้งนั้นถือเป็นการส่งสัญญาณหนุนหลังประธานาธิบดีเบลารุส ซึ่งลงทุนบินไปขอความช่วยเหลือ และเบลารุสเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครน ซึ่งเป็นสิ่งที่แยก ลูกาเชนโก ออกจากตะวันตกมากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ข้อมูล CNN