วันนี้ เรามาทำความรู้จัก “งานสายดำ” หรือ งานทุจริตผิดกฎหมาย ที่ แก๊งมิจฉาชีพ ล่อลวงคนไทยไปทำใน เมียนมา รวมทั้ง "ข้อควรระวัง" เพื่อการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็น “เหยื่อ” แนะนำโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง
ทั้งนี้ เพจเฟซบุ๊กของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง Royal Thai Embassy, Yangon ได้ประกาศไว้ว่า “งานสายดำ” ที่กลุ่มมิจฉาชีพนิยมหลอกลวงคนไทยให้มาตกอยู่ในวังวนนั้น เป็นงานผิดกฎหมายที่เมื่อถูกหลอกและบังคับให้ทำแล้ว ยากจะดิ้นหลุดออกมาได้ หรือลำบากต่อการเข้าถึงความช่วยเหลือ เนื่องจากสถานที่ปฏิบัติการของกลุ่มมิจฉาชีพนี้ มักจะตั้งอยู่ในเขตปกครองพิเศษที่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจ หลายคนเมื่อไปถึงแล้ว ก็หาทางกลับไทยไม่ได้ อีกทั้งยังอาจเป็นหนี้สินหลักแสน และอาจติดคุก
“งานสายดำ” ที่ว่านี้ ครอบคลุมตั้งแต่งานคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) ไปจนถึงงานสแกมเมอร์ (Scammer หรือการต้มตุ๋นบนช่องทางออนไลน์) และงานบริการทางเพศ
ความยากลำบากที่ผู้ประสบปัญหาตกเป็น “เหยื่อ” ของมิจฉาชีพ โดยถูกหลอกให้เดินทางไปยังเมียนมาและถูกบังคับทำงานผิดกฎหมายนั้น มีตั้งแต่
เพื่อไม่ให้คนไทยต้องถูกกลุ่มมิจฉาชีพหลอกและบังคับทำงานผิดกฎหมายในเมียนมา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง จึงได้ประกาศเตือน และให้ข้อแนะนำเอาไว้ ดังนี้
ผู้ใดถูกชักชวนให้มาทำงานด้านบริการ หรือให้มาเป็นแอดมินเพจในเมียนมา โปรดตรวจสอบ ดังนี้
โดยหากขั้นตอนการเตรียมการและการเดินทางมาทำงานง่ายราบรื่นผิดปกติ อาจจะต้องระวังว่าถูกหลอกมาทำงานสายดำ งาน call center และงาน scammer
ทั้งนี้ หากไม่มั่นใจในบริษัทที่เป็นนายจ้าง หรือต้องการขอคำปรึกษาในการเดินทางมาทำงานในเมียนมา สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ที่ [email protected] หรือติดต่อกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
“ขอให้ทุกท่านใช้วิจารณญาณ ไตร่ตรอง และระมัดระวังในการเดินทางมาทำงานในเมียนมา เพราะบางเขต บางเมืองที่ห้ามคนต่างชาติเข้า ท่านอาจถูกดำเนินคดี” คำเตือนของสถานเอกอัครราชทูตระบุ
เกี่ยวกับกรณีคนไทยตกเป็นเหยื่อขบวนการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตกว่าร้อยคนในเมียนมา รอรับความช่วยเหลือในการเดินทางกลับประเทศไทยนั้น นางกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า ได้รับรายงานจากนายมงคล วิศิษฎ์สตัมภ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ว่า ได้ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำเมืองเล้าก์ก่าย รัฐฉาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเมียนมาอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด เพื่อให้ความช่วยเหลือคนไทย ทั้งในส่วนที่หนีออกมาได้และพักในที่ปลอดภัยแล้ว ตลอดจนคนที่อยู่ระหว่างการหลบหนี
นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบจำนวนและรายชื่อของคนไทยที่อาจตกเป็นเหยื่อเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าว เป็นขั้นตอนที่กำลังทำอยู่ เพื่อแจ้งทางการเมียนมาให้เข้าไปช่วยเหลืออย่างรีบด่วนต่อไป โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำเมืองเล้าก์ก่ายของเมียนมา พร้อมให้การช่วยเหลือและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สถานทูตย้ำว่า สวัสดิภาพของคนไทยเป็นความสำคัญอันดับต้น แต่กระบวนการต่าง ๆ ต้องใช้เวลาก่อนที่จะได้รับอนุมัติจากทางการเมียนมาให้ส่งตัวคนไทยที่ตกเป็นเหยื่อกลับประเทศไทยได้ ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมดำเนินการโดยเร็วที่สุด และมีการประสานงานกับกรมการกงสุลในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดด้วย
ขอบคุณภาพจาก กระทรวงการต่างประเทศ /เพจสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง / Radio Free Asia (RFA)